Friday, March 9, 2007

Siemens F2A PP amplifier

Siemens F2A PP amplifier


Siemens F2A Push pull amplifier

ที่มา

เมื่อผมได้เข้ามาศึกษาเรื่องเครื่องเสียงโดยเฉพาะการ diy เครื่องเสียงหลอดไปได้ระยะหนึ่งแล้วนั้น ผมก็เริ่มมีความสนใจหลอดทางฝั่งยุโรปค่อนข้างมาก และนอกจากหลอดแล้ว อุปกรณ์ vintage อื่นๆทางฝั่งยุโรปโดยเฉพาะของเยอรมัน เช่น ลำโพง แอมป์ ปรีแอมป์ ผมก็มีความสนใจ จนทำให้ได้รู้จัก Klangfilm ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบเสียงในโรงภาพยนต์ของเยอรมันในอดีตคล้ายกับ Western electric ของฝั่งอเมริกา โดย Klangfilm นั้นจะผลิตอุปกรณ์ในระบบเสียงทุกประเภทและมีความโด่งดังจนเป็นตำนานของอุปกรณ์ vintage Audio ของเยอรมันไปแล้ว และหนึ่งในอุปกรณ์ Klangfilm ที่ผมให้ความสนใจมากคือแอมป์รุ่น KLV 402a ซึ่งเป็นแอมป์ประเภท push pull ที่ใช้หลอด F2A11 เนื่องจากผมมีหลอด F2A นี้อยู่แล้วนั่นเอง

Siemens F2A

หลอด F2A เป็นหลอด Tetrode ผลิตโดย Siemens ในช่วงปี 1950 - 1960 โดยในตระกูลเดียวกันจะมี F2A11 และ F2A34 อีกโดยต่างกันที่ socket โดย F2A ใช้ socket แบบ 9 pin ส่วน F2A11 ใช้ 10 pin ( แบบเดียวกับ EL156 ) และ F2A34 ใช้ 8 pin octal base แบบที่ใช้กันทั่วไป หลอดนี้มีคุณสมบัติทำแอมป์ SE ได้ output ประมาณ 7W และ PP 30W กำลังเหมาะครับ ผม bid มาจาก ebay ได้ในราคาไม่แพงนัก นับว่าโชคดีเพราะปกติหลอดนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร

Telefunken ในตระกูล EF12

สำหรับหลอด drive ผมใช้ Telefunken EF12K ซึ่งอยู่ในตระกูล EF12 โดย K หมายถึง " Klingarm " ซึ่งหมายถึง low microphonics โดย EF12 นี้เป็นหลอด pentode ประเภทหลอดเหล็ก ผลิตขึ้นมาใช้อยู่ในช่วงปี 1938 ถึงประมาณปี 1960 เป็นหลอดที่ Klangfilm ได้นำมาใช้เป็นหลอด driver ในแอมป์ที่ใช้ในโรงภาพยนต์ในรุ่นแรกๆ และในรุ่น KLV 402a นี้ก็ใช้หลอดเบอร์นี้เช่นกัน จนกระทั่งต่อมา Klangfilm จึงได้เปลี่ยนไปใช้หลอดเบอร์อื่นๆเช่น EF40 , ECC83 แทนในระยะต่อมา และจากตามประวัติ EF12 นี้จะเป็นหลอดต้นตระกูลของหลอด EF40 ซึ่งได้ผลิตขึ้นมาทดแทนในระยะต่อมา

F2A push pull ใช้ EF12K drive แบบ parallel ผ่าน Autoformer เป็น phase splitter

ผมออกแบบวงจรเป็นแบบ push pull ในลักษณะเดียวกับ Klangfilm KLV 402a เพียงแต่ผมใช้ drive stage เดียว แล้วใช้หม้อแปลง Electraprint autoformer เป็น phase splitter แทนหลอด โดยทั้ง EF12K และ F2A ผม run เป็น Triode mode ใช้หม้อแปลง output 5K ของ Partridge รุ่น TK 8102 ภาคจ่ายไฟผมก็ใช้หลอด Valvo AZ50 เป็น rectifier แล้วผ่านวงจร filter CLC ธรรมดาครับ

อุปกรณ์ภายใต้แท่นเครื่อง

ในการทำแอมป์ตัวนี้ผมทำเป็น mono block ครับ แยกแท่นหม้อแปลง output ตามเคยเพราะจะเอาใว้ทำ EL156 PP มาฟังเทียบกัน หม้อแปลง power กับ filter choke ใช้ของคุณสมชาย ส่วน C filter ซื้อเอาจากบ้านหม้อ และ R ใช้ Riken , Kiwame

เรื่องเสียงขอบอกว่าดีครับ จะไม่ดีได้อย่างไร ทำเองกับมือ ผมเพิ่งทำ pp เป็นตัวแรก ซึ่งจริงๆแล้วแอมป์หลอดเครื่องที่ทำให้ผมชอบเครื่องหลอดก็เป็น pp นั่นคือ Antiques sound lab AQ1003 ซึ่งใช้หลอด EL34 เป็นหลอด power นั่นเอง และเมื่อทำเองเสร็จแล้วจึงได้รู้ว่าทำไมหลายคนชอบ pp อาจเป็นเพราะมันมี dynamic ดีมากฟังเพลงได้หลายแนวกว่า SE แม้จะไม่หวานเท่าแต่มันมีพละกำลัง เสียงแหลมเสียงทุ้มมีเนื้อหนังกว่าอย่างเห็นได้ชัด ถ้าฟังเพลง pop เพลงร๊อค สมัยใหม่ผมว่า pp เหมาะเลยครับ
ส่วน F2A pp เครื่องนี้นอกจากพลังเสียงที่เป็นเครื่องหมายการค้าของ
แอมป์แบบ pp แล้วรายละเอียดก็มีเยอะมากไม่เลวเลยครับ ผมไม่สงสัยเลยว่าทำไม Klangfilm ถึงใช้หลอดเบอร์นี้ในแอมป์ของตัวเองเป็นหลักในอดีต

No comments: