Sunday, September 23, 2007

VT64SE final version

VT64SE drive by 6FD7

6FD7 drive VT-64 SE

ที่มา
หลังจากผมไม่ประสบความสำเร็จในการทำแอมป์ VT64 หรือ เบอร์ 800 ไม่ว่าจะเอา 2C22 หรือ 8233 drive ( รายละเอียดตามโครงการเดิมอยู่แล้ว ) ตอนนี้ผมได้รับคำปรึกษาจากคุณฆฤณ ( Lnaudio ) ผมก็ได้ใช้วงจรภาค drive ใหม่ โดยใช้ 6FD7 มาใช้และได้ผลดีมากๆ จนผมคิดว่าคงจะเป็น final version ของผมแล้วคราวนี้

หลอด 6FD7 เป็นหลอด triode คู่ มี 2 sections ในหลอดเดียว ซีกหนึ่งเป็น high mu เกนขยาย 64 ส่วนอีกซีกเป็น low mu เกนขยาย 6 มีลักษณะคล้ายหลอด 6SL7 และ 2A3 ในหลอดเดียว นำมาทำแอมป์โดยใช้หลอดเดียวก็ได้ เอามาทำหลอด drive ก็ได้ผลดีมาก โดยเฉพาะเอามา drive พวกหลอด transmitting tube ที่ drive ยากๆทั้งหลาย เช่น 800 , 808 , 811A , 812A เป็นต้น ( เอามา drive 2A3 , 845 ก็น่าจะได้ผลดีนะครับ )

วงจร

800SE drive by 6FD7

ในครั้งนี้วงจรในส่วนหลอด output VT64 นั้นผมใช้ zero bias ให้หลอดทำงานทั้ง class A1 และ A2 กระแสประมาณ 37mA และ Vp ที่ 500V ใช้หม้อแปลง output ที่ 7K

ส่วนหลอด drive นั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าใช้หลอด 6FD7 แบบ R load สำหรับภาค high mu แล้วต่อแบบ direct coupling ไปที่ภาค low mu แล้วจึงต่อแบบ cathode follower เพื่อให้ได้ impedance ต่ำๆเพื่อที่จะ drive VT64 ได้ ( configuration แบบนี้จะเหมาะกับการใช้ drive หลอด output class A2 อย่างมาก )

สำหรับภาคจ่ายไฟผมได้เปลี่ยนหม้อแปลงให้มีแรงดันสูงขึ้นเป็น 420-0-420V ผ่านหลอด rectify 866A ผ่านวงจร filter แบบ CLC ธรรมดา ได้แรงดันขาออกประมาณ 500V ( สำหรับรูปในวงจรยังเป็น 420V ตามหม้อแปลงลูกเก่าซึ่งถูกนำไปใช้ในโครงการ 4683 อยู่ครับ )

Inside my new VT-64 SE

สำหรับชุดจุดใส้หลอดของ VT64 ผมต้องใช้แบบ DC filter หลายตลบครับ ด้วยความที่เป็นหลอด DHT transmitting tube หากใครบอกว่าใช้ AC จุดใส้หลอดแล้วไม่ฮัมนี่ขอคารวะ 10 จอกเลยครับ ขนาด filter ซะขนาดนี้พอไม่ใส่ hum pot ยังฮัมกระจายเลย ทั้งที่ใช้ DC แล้วมันไม่น่าจะเป็นจะต้องใช้ hum pot เลย ส่วนหลอด 6FD7 ใช้ AC ธรรมดาก็ได้เพียงแต่ยกใส้หลอดขึ้นมาเพื่อไม่ให้ cathode to heater เกินค่าที่กำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

driver and output tube
*** หลอด 2C22 ด้านหน้าเสียบไว้ให้ดูสวยงามเฉยๆ ไม่ได้ใช้งานครับ ***

แนวเสียง
คราวนี้เสียงมาครบแล้วครับ ทั้งปลายแหลมที่ไปได้ไกลมากทุ้มหนักแน่น แถมรายละเอียดเสียงก็มีเยอะมาก แถมยังนุ่มนวลสมกับเป็นหลอด DHT ฟังเพลงได้เพราะมากกับทุกแนว อีกทั้งเพลงร้องก็ดีมากๆเช่นกัน ค่อนข้างครบเครื่องเลยครับ ผมว่าเป็นหลอดที่ดีมากหลอดหนึ่งเลยครับ เสียตรงหายากและราคาสูงไปหน่อยสำหรับเจ้า VT64 หรือ 800 นี่ สรุปสั้นๆว่าสุดยอดครับ

Phillips 4683 SE

Phillips 4683 SE and 2 version of driver

4683 drive by 8233

ที่มา
ผมสนใจศึกษาและสะสมหลอดทางยุโรปมาระยะหนึ่งด้วยแนวคิดที่ว่ามันเป็นหลอดเบอร์แปลกๆที่คนไม่ค่อยรู้จัก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่เอามาใช้งานเล่น แถมจริงๆแล้วหลอดทางยุโรป ยังเป็นหลอดที่มีเสียงดีมากๆอีกด้วย รวมไปถึงมาตราฐานการผลิตที่ดีทำให้มีคุณภาพสูงใช้งานได้ไม่ค่อยมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนัก diy ชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมเล่นเป็นอย่างมาก แต่หลอดยุโรปเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าราคาจะถูกนัก อาจเป็นเพราะหายากแถมผมยังได้อ่านบทความพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลอดทางยุโรปเป็นจำนวนมากของเยอรมันถูกทำลายทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะมันเป็นอุปกรณ์ทางทหาร บางหลอดก็มีตราสวัสดิกะพิมพ์อยู่จึงถูกทำลายทิ้ง ราคาบางหลอดจึงแพงมหาโหดเช่นกัน
สำหรับหลอด Phillips 4683 นี้ จริงๆมันคือหลอด AD1/350 ซึ่งเป็น version high V ของหลอด AD1 ที่โด่งดังนั่นเอง ผมเห็น spec มันน่าสนใจ และราคายังถูกกว่า AD1 อยู่เล็กน้อย ว่ากันว่าทางอเมริกันมี 2A3 ทางยุโรปก็มี AD1 มาเชือด เช่นเดียวกับ 300B ก็มี PX-25 มาเบียด แถมราคา AD1 บางหลอดเช่น Ed ของ Siemens , Eb III , AD1 ของ Telefunken ราคายังสูงอย่างน่าพิศวง ผมจึงซื้อ 4683 มาทดลองใช้งานดู
ด้าน spec ของหลอด 4683 นี้ มันมี plate dissipation 15W จุดทำงานที่เหมาะสมคือ Vp 350V กระแส 35mA bias -65V ซึ่งจะได้กลังขับประมาณ 5-6W

4683 และ 8025 ที่ตั้งใจว่าจะใช้เป็นหลอด drive ตั้งแต่แรก

สำหรับหลอด drive ในครั้งแรกผมต้องการใช้หลอด transmitting tube DHT มาใช้ตาม concept ของ Mr.Josh Stippich แห่ง Electro-Luv ที่นิยมเอาหลอดประเภทนี้มา drive หลอด DHT output พวก 2A3 อะไรทำนองนี้ ซึ่งในตอนแรกผมไปเจอหลอด 8025 ซึ่งมีหน้าตาน่ารักดีมี spec ตามที่ต้องการ ทำงานในช่วงแรงดันไฟ 300-400V มีเกนขยาย 30 เท่า กำลังดี แต่หลอดที่ผมซื้อมาดันเสีย ผมหาใหม่ก็ไม่ได้จึงเอาหลอด Western Electric VT-25 มา drive แทนเป็น version แรก และต่อมาจึงใช้ Amperex 8233 /E55L มา drive ใน version 2.

Version 1. 4683 drive by 10Y

วงจร 4683 drive by 10Y ( click เพื่อขยายภาพ )

4683 drive by WE VT-25

อย่างที่บอกผมตั้งใจออกแบบตามแนวทางของ Josh Stippich ซึ่งใช้ 801A และ 826 drive 2A3 แล้วบอกว่าได้ผลดี ผมจึงลองทำดูบ้าง ตอนแรกพยายามใช้ 8025 แต่หลอดเสียไป 1 ข้างผมจึงใช้ VT-25 หรือ 10Y มาลองใช้แทนดู โดยทดลอง set 10Y ทั้งแบบ R load , choke load และ CCS load ทั้ง 3 แบบ เพื่อดูว่าแบบไหนจะเหมาะสม

อุปกรณ์ใต้แท่น

ผมพบว่า choke load ผมติดปัญหา plate choke มีค่า inductance สูงไป และรับกระแสได้ต่ำไป คือได้แค่ 20mA ดังนั้นต้อง bias 10Y แค่ 18mA จึงพบว่าเสียงในแบบนี้มันจะมีแหลมที่ไปได้ไม่ไกลนัก มันไม่เป็นประกาย กรุ๊งกริ๊ง แต่เสียงกลางดีมาก เสียงทุ้มก็ใช้ได้ ส่วน R load ผมพบว่ามันจำเป็นต้องใช้ B+ สูงมากประมาณ 500-600V ถึงจะเหมาะในขณะที่หม้อแปลงผมทำได้เต็มที่แค่ 420V ทำให้หลอด 10Y ไม่อยู่ในจุดทำงานที่เหมาะสมเช่นกัน แนวเสียงจึงพอๆกับ choke load ประกอบกับเกนที่ต่ำมากทำให้เปิดได้เสียงเบามาก ต้องใช้ร่วมกับปรีที่มีเกนมากๆ ซึ่งผมก็ไม่มี ส่วน CCS load นั้นได้เสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้มากขึ้น เสียงแหลมดีขึ้น แต่เนื่องจาก chip CCS 10M45S ที่ผมใช้ดันมีปัญหากับแอมป์ตัวนี้ทั้งที่ผมใช้กับปรี Ce ก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่เครื่องนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งมันก็จะเกิดเสียงตุ๊บตั๊บออกมาซีกหนึ่งแก้เท่าไรก็ไม่หายผมจึงเลิกใช้

Sylvania 210

ต่อมาผมได้เอา Sylvania 210 ซึ่งเป็นเบอร์ 10 ซึ่งมีใส้หลอดเป็น tungsten และ plate เป็น graphite มาทดลองใช้ปรากฏว่าเสียงดีขึ้นมากทั้งแหลมและทุ้ม โดยที่เสียงกลางก็ยังดีเหมือนเดิม ผมแปลกใจมาก แต่ในที่สุดก็พบว่าด้วยเกนที่น้อยมากของมันทำให้ผมรำคาญที่จะต้องบิด volume ไปเยอะมาก จนผมต้องหาหลอดเบอร์อื่นมา drive แทนดู

Version 2. 4683 drive by 8233

วงจร 4683 drive by 8233 triode mode ( click เพื่อขยายภาพ )

หลังจากที่ผมเคยใช้ 8233 หรือ E55L ไป drive เบอร์ 800 แล้วไม่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึง 10Y มา drive 4683 ก็ยังได้ผลไม่ดีนัก ผมพบว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่จุดทำงานที่เหมาะสม เป็นหลักสำคัญ ดังนั้นตอนนี้ผมจึงออกแบบให้ 8233 ทำงานที่ 40-45mA และ Vp ประมาณ 180V นั่นหมายถึงประมาณ 3 เท่าของจุด bias ของ 4683 ( -65V ) ซึ่งจะทำให้ V swing ได้มากพอ ซึ่งเดิมผมไม่เคยคำนึงถึงมันเลย set bias ไปเรื่อย

Amperex 8233 หรือ E55L

หลอด 8233 นี้เป็นหลอด pentode ที่นิยมนำมาใช้เป็นหลอด drive หรือ ทำ spud amp กันมาก เป็นหลอด high gm ทำงานได้ดีในกระแสสูงๆ หาก set เป็น triode ว่ากันว่าเสียงจะคล้ายๆกับ WE 437A สุดยอดหลอดราคาแพงอีกเบอร์หนึ่ง โดยจะได้เกนประมาณ 30 เท่า กำลังดีสำหรับโปรเจคนี้ ต่อแบบ R load ธรรมดา ด้วย R plate 4.7K แต่เนื่องจากกระแสสูงมากทำให้ต้องใช้ R watt สูงๆซึ่งในกรณีนี้ผมจึงต้องใช้ R sink มาใช้งาน และต่อแบบ RC coupling ไปที่หลอด output ธรรมดาเลย
ในส่วนหลอด 4683 ก็ set จุดทำงานที่ 320V กระแส 35mA bias -65V แต่พวก R ที่คำนวนมาได้คือ 1.85K ไม่มีผมจึงใช้ 1.8K ซึ่งก็ใกล้เคียงกันเล็กน้อย ส่วนหม้อแปลง output ใช้ 3.5K
สำหรับภาคจ่ายไฟ ผมใช้แนวคิด ของ Josh ที่ใช้แต่ mercury vapor อย่างเดียว ผมจึงใช้หลอด 866AX ที่ผมมีมาใช้เหมือนกัน แถมเป็นเพราะหม้อแปลงผมเอามาจากโครงการเบอร์ 800 ( ซึ่งมีขดจุดใส้หลอดสำหรับหลอด rectify 866A อยู่แล้ว ) ที่ผมเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ทำให้เหลือมาใช้โครงการนี้พอดี เหมาะเหม็ง แต่ก็จำกัดหลอด drive ที่จะใช้อย่างที่ได้ว่ามา ภาค filter ก็ CLC ธรรมดาเช่นกัน
ส่วนการจุดใส้หลอดเนื่องจากกิตติศัพท์ของ AD1 ที่มีหลายคนบอกว่าฮัมมาก ผมจึงทำเป็น DC ไปซะเลยตั้งแต่แรก และ 8233 ที่เป็น indirect heat ผมก็ใช้ AC ธรรมดา ไม่ฮัมเลยครับ

แนวเสียง
Version 1.
เสียงกลางเด่นมากๆ แต่ปลายแหลมไปได้ไม่ไกลมากนัก ทุ้มดีมากๆ ฟังเพลงร้องดีมากๆ ผมคิดว่าในแนวคิดเช่นนี้ หลอด drive ควรมีใส้หลอดเป็น tungsten น่าจะแมชกันกับ DHT นี้มากกว่า oxide coat แบบ WE VT-25 หากในอนาคตผมหา 8025 ได้ผมก็จะลองเอามาใช้อีกครั้งหนึ่ง จริงๆแล้ว 826 ก็น่าสนใจ แต่ไฟจุดใส้หลอดกระแสสูงมากแถมอาจต้องใช้ B+ ที่สูงมากขึ้นจากเดิม ทำให้ผมคงไม่สามารถนำมาใช้ได้ นอกจากต้องเปลี่ยนหม้อแปลงกันอีก
Version 2.
ได้แหลมที่กระจ่างสดใส กรุ๊งกริ๊ง เพิ่มเข้ามา เสียงกลางก็ยังดีมากเช่นเดิม ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนวมากยิ่งขึ้น แต่ความหวานก็ลดลงไปบ้าง นับว่า 8233 เป็นหลอดที่เสียงดีพอสมควร นำมา drive DHT ได้ผลดีมาก แต่ต้องให้มันทำงานที่กระแสสูงๆเท่านั้นจึงจะได้ผลดี

EL156SE ultra linear mode

My new EL156SE


ที่มา
เดิมผมได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด Telefunken EL156 ซึ่งเป็น beam pentode ที่ค่อนข้างโด่งดังของฝั่งยุโรป โดยเดิมผมทำแยกแท่นเป็นหม้อแปลง power และ แอมป์ ออกจากกัน ต่อมาผมแยกแท่นหม้อแปลง output ออกไปอีกทำให้แอมป์ตัวนี้เวลาใช้ต้องมีถึง 4 แท่นเวลายกไปไหนมาไหน ยุ่งยากลำบากพิลึก ผมจึงกะทำแท่นใหม่ให้มันซะ แต่กะว่ายังใช้วงจรและอุปกรณ์แบบเดิมๆอยู่

วงจร new EL156SE ( click เพื่อขยายภาพ )

วงจร
ในส่วนวงจรอย่างที่ว่าผมยังอยากให้เป็นเหมือนเดิม คือยังคงใช้หลอด C3m เป็นหลอด drive และยังคงใช้ triode mode ทั้ง C3m และ EL156 แต่ในส่วนของภาคจ่ายไฟมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เดิมใช้ choke input แล้วมีปัญหาโช๊คสั่น ผมจึงเปลี่ยนเป็น C input คราวนี้จึงลด choke ลงไปตัวหนึ่งเหลือ filter เป็น RCLCRC โดยต้องใช้ R drop มากหน่อยเพราะหม้อแปลงทำมาไฟสูงพอสมควร แต่หลอด rectify ยังคงเป็น EZ150 เหมือนเดิม แต่ที่สำคัญผมได้เพิ่ม fuse ขนาด .5A หลังหลอด rectify เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายของหลอด rectify ที่หายากและราคาสูงนี้ในกรณีที่ C รั่ว หรือสายไฟช๊อตลงกราวน์ fuse ตัวนี้ก็จะขาดก่อนนับว่าสำคัญมากในกรณีที่ใช้หลอดสำหรับ rectify

ในส่วนหลอด drive เดิมตอนผมเอาไปทดลองต่อกับ passive pre amp ของคนอื่นนั้น พบว่าเกนใน triode mode มันน้อยไปเสียงที่ได้ขาดพลังอย่างมาก ผมจึงได้ทดลองหลอด C3m แบบ pentode mode แต่พอทำเสร็จแล้วลองต่อผ่านปรี #26 ของผมเสียงฮัมของปรีแอมป์ก็ดังชัดเจนเพราะเกนหลอด drive มันมากเกินไป พอเปลี่ยนกลับมาเป็น triode เหมือนเดิม มันก็เงียบสนิท จึงอดใช้ pentode อีกตามเคย

ด้านหลอด output EL156 นั้น ผมได้ทำ switch เพื่อเลือก mode ของ EL156 เป็น triode หรือ ultra linear mode เพื่อลองฟังดูว่าแต่ละ mode เสียงเป็นอย่างไร

อุปกรณ์ต่างๆ ใต้แท่นเครื่อง

และเนื่องมาจากการ set mode เป็น ultra linear นี่เองทำให้ผมต้องใส่ r grid stopper เข้าไปที่หลอด EL156 เนื่องจากการทำงานใน ultra linear ของหลอดพวกนี้จะเกิด oscillate ได้ง่ายกว่า triode mode ธรรมดา

ในการทำแอมป์ตัวนี้เนื่องจากขนาดแท่นที่เล็กลงผมจึงตัดส่วนของหลอด EM11 ซึ่งใช้สำหรับ monitor สัญญานออกไป และเนื่องจาก R drop ในภาคจ่ายไฟที่ร้อนมากผมจึงต้องเจาะรูที่แท่นแอมป์ไว้เป็นจำนวนมาก และหลังจากทำเสร็จผมก็รู้สึกผิดหวังกับหน้าตาของมัน มันไม่ลงตัวยังไงไม่รู้ แท่นมันคงเล็กเกินไปในขณะที่หม้อแปลงมันใหญ่มาก ดูขาดๆเกินๆยังไงไม่รู้ เฮ้อ

หลอดต่างๆที่ใช้ใน project นี้
แนวเสียง
มันก็ยังคงเหมือนเดิม แนวเสียงยังคงเป็นแบบเน้นรายละเอียดเสียง ความกระฉับกระเฉงและพลังที่มากของหลอดในแนว beam pentode ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนว และเมื่อผมเปลี่ยนมาเป็น mode ultra linear ผมว่าเสียงน่าฟังยิ่งขึ้น มีรายละเอียดและเสียงมันดู clear ขึ้นกว่าเดิม คิดว่ากำลังก็มากขึ้นกว่าเดิมแต่ผมฟังในห้องที่มีพื้นที่จำกัด เปิดดังมากไม่ได้และไม่มีเครื่องมือวัดด้วยจึงไม่ทราบว่ามันได้กำลังเพิ่มขึ้นกี่ % ส่วนตัวผมคิดว่า mode นี้เหมาะกับหลอดตระกูลนี้มากครับ ผมชอบมากกว่า triode mode ธรรมดาครับ ลองไปทำกันดูคุณอาจชอบเหมือนผมก็ได้ครับ

Pentode mode
วงจร integrated amp EL156SE

ในที่สุดผมก็ทนความอยากรู้อยากเห็นเรื่องหลอด drive ใน pentode mode ไม่ได้ เนื่องจากเกนมันมากเกินไปที่จะใช้ร่วมกับปรีที่ผมมี ดังนั้นผมจึงใส่ volume 100K เข้าไปแทน R 47K ที่ grid ของหลอด C3m ตอนนี้แอมป์ตัวนี้ก็กลายเป็น Integrated amp ไปซะแล้ว ผมสามารถต่อกับ CD โดยตรงได้เลย
ผมได้ทดลองฟัง C3m pentode mode ได้ 1 วันเต็มๆ ผมก็รู้สึกว่าเสียงมันจะสดใสจัดจ้านมาก แม้ผมจะต่อผ่านปรี Ce ซึ่งคราวนี้สามารถต่อได้แล้วเพราะลด volume ที่แอมป์ลงมาเสียงฮัมก็จะน้อยจนไม่ได้ยิน แล้วใช้ปรับ volume ที่ปรีแทน คราวนี้ผมก็สามารถเปรียบเทียบกับ triode mode ได้ โดยความรู้สึกส่วนตัว ผมกลับชอบ C3m triode mode มากกว่า ผมว่ามันมีรายละเอียดดีและฟังผ่อนคลายกว่า pentode mode ซึ่งมันจะ aggressive กว่ามากจนรู้สึกว่าฟังแล้วมันจัดจ้านไปหน่อย ผมเดาเอาว่า C3m นี้ถ้าใช้ร่วมกับแอม์ประเภท DHT ที่เสียงจะนุ่มนวล speed ช้าๆนั้น pentode อาจจะเหมาะสมเพราะมันน่าจะเสริมกันได้ดี แต่พอมาใช้กับหลอดพวก beam pentode อย่างตระกูล ELxx อย่าง EL156 นี่อาจจะทำให้มันจัดจ้านไป ฟังแล้วไม่ค่อยจะผ่อนคลายเท่าไร ในกรณีนี้ triode mode จะเหมาะกว่า

EL156SE drive ด้วย EF12K

ด้วยข้อสันนิษฐาน แบบคาดเดาอย่างนี้ทำให้ผมอยากเอาหลอด pentode ที่มันโบราณกว่าพวก C3m มาทดลองกับ EL156 ดูว่ามันจะเข้ากันกว่าหรือไม่ เพราะผมเคยใช้หลอดตระกูล EF12 กับหลอด F2a ซึ่งเป็น beam tetrode แล้วได้ผลค่อนข้างดี แถม EL156 นั้นก็เป็นหลอดที่ขับง่าย ใช้หลอดพวก pentode ที่เก่าๆกระแสต่ำๆพวกนี้น่าจะพอไหว และผมก็เคยเห็นวงจรแอมป์สมัยโบราณของเยอรมัน ที่ใช้หลอด EL156 นั้นใช้หลอด EF40 ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ EF12 อยู่ด้วย ดังนั้นมือไวเท่าความคิด ผมก็ทำการทดลองเปลี่ยนหลอด drive ของแอมป์ตัวนี้ทันที ด้วยความที่ผมได้ทำขดจุดใส้หลอด 6.3V2A เผื่อไว้อยู่แล้ว และแท่นแอมป์ใหม่นี้ก็เจาะช่อง socket ไว้แบบ 2 ชั้นอยู่แล้ว ผมก็แค่ทำที่ยึด socket ใต้แท่นใหม่สำหรับ socket ของ EF12 ซึ่งเป็นแบบ 8P เข้าไป ผมก็สามารถทดลองหลอด EF12 มา drive ได้เลย

EL156SE drive ด้วย EF12K pentode mode ( click ที่รูปเพื่อขยาย )

ผลสรุปของการ drive ด้วย EF12K pentode mode ผมพบว่าได้ผลดีกว่า C3m pentode mode ครับ เสียงมีรายละเอียดดีเช่นกันแต่ไม่ aggressive ฟังสบายผ่อนคลายกว่ามาก แนวเสียงแม้จะสดใสกระฉับกระเฉง แต่ก็ยังนุ่มนวลน่าฟัง ไม่แข็งกระด้าง ได้เกนน้อยกว่าทำให้เสียงเบากว่าทั้งที่จากการคำนวน C3m ที่ผม set มันจะได้เกนที่ 70 แต่ EF12 นั้นจะอยู่ที่ 100 เท่า แต่ทำออกมาแล้วกลายเป็นว่า C3m เสียงดังกว่าเมื่อบิด volume เท่ากัน อย่างไรก้ดีผมยังไม่ได้ทดลอง EF12K ใน triode mode ซึ่งว่างๆจะลองดูอีกทีว่าแนวเสียงจะเป็นอย่างไร สู้ C3m ได้หรือไม่ แต่ถ้าสรุปเอาเฉพาะ pentode นั้นสำหรับส่วนตัวผมแล้วผมคิดว่า EF12 เข้ากันกับ EL156 มากกว่า C3m แต่หากเอาไป drive พวก DHT ตระกูล 2A3 , 300B อะไรพวกนี้ C3m น่าจะเข้ากันได้ดีกว่า EF12 ครับแต่ผมก็ยังไม่เคยลองเลย คงต้องหาโอกาสลองดูซักครั้งเร็วๆนี้

ปล. พอผม set หลอด drive เป็น pentode ก็ปรากฏว่าพอผมจะใช้ EL156 เป็น ultra linear mode มันก็ดัน oscillate ซะนี่ ผมได้ทดลองเพิ่ม r grid 2 ให้มากขึ้นเป็น 1.2K แล้วก็ยังไม่หาย สุดท้ายจึงได้พบว่าใน ultra linear mode นี้หากเกนขยายมากเกินไปอาจเกิดปัญหา oscillate หรือหลอดทำงานผิดปกติได้ ผมแก้ปัญหาโดยการถอด C cathode bypass ของ EL156 ออก มันก็สามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่ผมคิดว่าบุคคลิคของเสียงก็เปลี่ยนไปด้วย ผมชอบแบบมี C bypass นี้มากกว่าแต่ด้วยความอยากฟัง Ultra linear นี้ก็ต้องยอมล่ะครับ ซึ่งผมก็ยังงงอยู่ไม่หายเพราะเห็นใครๆเขาก็ใช้ C bypass นี้กันได้ไม่มีปัญหา ยังคิดวิเคราะห์อะไรไม่ออกครับว่าทำไมผมต้องเจอปัญหาอาการอะไรแปลกๆให้ปวดหัวเล่นอยู่เรื่อย สนุกไปอีกแบบล่ะครับ

All Telefunken tube EZ150 , EL156 and EF12K

PSU แบบ Semi choke input
ในตอนที่ผมเปิดใช้งานแอมป์ตัวนี้ไปซักระยะหนึ่ง ผมก็รู้สึกว่ามันร้อนมากๆอันเนื่องมาจาก R drop ของผมมันสร้าง heat รวมกันเป็น 10W จนชักวิตกกังวลว่ามันจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องมันเจ๊งเร็วกว่าปกติ ผมจึงแก้ไขภาคจ่ายไฟจากเดิม C input เป็น semi choke input ซึ่งก็เป็นแบบเดิมที่ผมใช้ในแอมป์ตัวนี้ตอนที่มันอยู่กับแท่นเดิมตั้งแต่เริ่มแรก ผมก็ถอด C 6uF ออกเปลี่ยนเป็น 1uF แล้วเปลี่ยน choke 10H 250mA เป็น 5H 300mA ตัวเดิมปรับเปลี่ยน RC filter อีกเล็กน้อย ตอนนี้ก็ได้ชุดจ่ายไฟใหม่แรงดันลดลงไปหน่อยแต่ไม่ร้อนอีกแล้ว คราวนี้นั่งฟังด้วยความสบายใจ แถมผมยังรู้สึกว่าเสียงมันกระชับและมี dynamic ดีกว่า C input ซะอีก ตอนนี้เสียงดีกว่าเดิมมากเลยครับ ไม่รู้ในอนาคตจะหาเรื่องเปลี่ยนอะไรตามประสาคนมือบอนอยู่ไม่สุขอีกหรือไม่

วงจร EF12K pentode drive EL156SE แบบ semi choke input

Saturday, September 22, 2007

My new R120 SE

R120SE drive by EF40 and ML-6


ที่มา
หลังจากได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด La Radiotechniques R120 มาได้ระยะหนึ่ง ผมก็ได้ทำแอมป์ตัวอื่นๆอีก 2-3 เครื่อง ได้สั่งสมประสบการณ์ในการออกแบบและทำแอมป์เพิ่มขึ้นพอสมควร จนกระทั่งวันหนึ่งผมจึงนำแอมป์ R120SE ตัวเดิมมาฟังและเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนแท่นมันใหม่ให้ดูดีขึ้นเพราะแท่นเดิมเริ่มดูโบ๋ๆหลังจากที่ถูกถอดเอาหม้อแปลง output ออกไป และไหนๆก็จะทำใหม่แล้วผมก็เลยออกแบบชุด drive มันใหม่ไปด้วยซะเลย
เดิม R120SE ของผมเริ่มจากใช้ CV-1988 หรือ 6SN7 drive ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น C3m , EL84 และ ML-6 drive ตามลำดับ นับเป็นแอมป์ตัวเดียวที่ผมชอบแก้ไขเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เรื่อย ดังนั้นในครั้งนี้ผมจึงทำแท่นให้สามารถเปลี่ยนหลอด drive ได้ง่ายๆ โดยทำช่องใส่ socket เป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนเจาะช่องกลมใหญ่ขนาด 45 mm และใต้มันก็จะเป็นแผ่นยึด socket ขยาด 8x8 cm ยึด socket แล้วค่อยยึดเข้าแท่นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนหลอดที่ใช้ socket ไม่เหมือนเดิมผมก็แค่เปลี่ยนแผ่นยึด socket นี้ทำให้ไม่ต้องเจาะช่องใหม่บนแท่นเดิม ซึ่งสะดวกดีและทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้นด้วย ลองดูที่รูปแล้วกันครับ สำหรับแท่นใหม่นี้ก็เป็นแท่นไม้ที่มีแผ่นด้านบนเป็นอลูมิเนียม ดูสวยงามดีไปอีกแบบหนึ่งครับ

วงจร

วงจร R120SE drive โดย EF40 direct coupling และ ML-6 cathode follower ( click เพื่อขยายภาพ )

ในส่วนวงจรคราวนี้ผมตั้งใจจะใช้หลอด pentode drive ดูอีกซักครั้ง เพราะคิดว่าหลอด pentode เมื่อนำมาใช้ drive พวกหลอด output ที่มีเสียงหวานๆช้าๆอย่าง R120 น่าจะไปด้วยกันได้ดี ผมจึง drive ด้วยหลอด Siemens EF40 ที่ผมมีเก็บไว้ หลอด EF40 นี้เป็นหลอดในยุคเก่าพัฒนามาจากหลอด EF12 ก่อนที่จะพัฒนาต่อไปเป็น EF86 ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีโครงสร้างและ specification เหมือนกับ EF86 เลยต่างกันเพียง socket ที่เป็นแบบ rimlock แทนที่จะเป็น 9 pin miniature ธรรมดา และเพื่อให้มันมี impedance ต่ำๆสำหรับ R120 ผมจึงใช้หลอด ML-6 มาต่อแบบ direct coupling ก่อนที่จะต่อแบบ cathode follower ไปที่หลอด R120 ซึ่งเป็นหลอด output อีกทีหนึ่ง
แต่เดิมผมต้องการ set EF40 ให้เป็น pentode แต่เมื่อใช้งานผมพบว่าเกนมันเยอะมากทำให้ได้ยินเสียงฮัมของปรีแอมป์อย่างชัดเจน ผมไม่ชอบใช้แบบ integrated amp โดยการใส่ volume เข้าไปแล้วต่อตรงจาก cd ผมจึงลดเกนของมันโดยเปลี่ยนหลอด EF40 ให้เป็น triode mode ซะ พอเสร็จใช้งานก็พบว่าไม่ฮัมไม่จี่ให้รำคาญใจ

หลอด drive Siemens EF40 , STC ML-6 และหลอด output LT R120

ในส่วนภาคจ่ายไฟผมก็ใช้วงจรแบบเดิมและอุปกรณ์ชุดเดิมซึ่งก็ยังใช้งานได้อย่างเหมาะสมอยู่ โดยใช้หลอด AZ12 เป็นหลอด rectify ส่วน filter ใช้ CLC ธรรมดา โดย C ตัวแรกเป็นแบบ oil เพื่อหวังว่าเสียงมันจะได้นุ่มนวล ได้ไฟ B+ ประมาณ 280V จ่ายไปยัง EF40 , ML-6 และ R120 ทุกหลอดโดยไม่ต้อง drop แรงดันลงเลย ในส่วนแรก EF40 ที่ run แบบ triode mode นั้น ใช้ วงจรแบบ R load ธรรมดา ที่กระแส 1.3mA Vp 136V ใน stage ที่ 2 เป็นหลอด ML-6 เมื่อต่อแบบ direct coupling มา แรงดันที่ cathode , plate จึงสูงมาก เมื่อผม bias 8V มันจึงทำให้ V ที่ cathode เทียบกราวน์เป็น 144V ทำให้ R cathode มีค่าเยอะตามไปด้วย ตามที่ออกแบบก็จะเป็น 9K10W จึงหา R cathode ยากหน่อยผมจึงใช้ R 18K5W 2 ตัวมาขนานกันเพื่อใช้งาน ในส่วนสุดท้ายผมต่อแบบ cathode follower เพราะไม่ต้องการกำลังขยายแล้วแต่ต้องการ impedance ภาต drive ที่ต่ำๆแทน เพราะหลอด EF40 เป็นหลอดยุดเก่าที่มี Rp ค่อนข้างสูง ในส่วนนี้ต่อผ่าน C coupling ธรรมดาไม่กล้าต่อแบบ direct coupling อีกเพราะนอกจากกลัวเกิดความผิดพลาดแล้วจะทำให้หลอด R120 ที่หายากเจ๊งแล้ว B+ ผมก็ไม่พอด้วยเพราะมันต้อง + เข้าไปอีก 140 กว่า V กลายเป็น 400 กว่าV โดย R120 ผม set ที่กระแสประมาณ 50mA bias 35V และ Vp 250V ใช้หม้อแปลง 2.5K ของ Hashimoto

อุปกรณ์ใต้แท่นเครื่อง
ขั้นตอนการทำก็ไม่มีอะไรมากมายเพราะเป็นการแงะเอาจากตัวเดิมมาทำ เปลี่ยนเพียงถาค drive เท่านั้น และเนื่องจากหลอดทั้งหมดเป็น indirect heat ภาคจุดใส้หลอดจึงเป็น ac ได้ ง่ายดี ไม่ฮัม

ด้านหลังมี RCA และขั้วต่อไปยังแท่นหม้อแปลง output
แนวเสียง
เรื่องเสียงผมว่ามันเปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร อันเนื่องมาจากผลของหลอด drive เสียงตอนนี้จะมีรายละเอียดสูง speed เสียงเร็วกว่าเดิม ความหวานลดลง ฟังเพลงได้หลายแนวขึ้นกว่าเดิม แต่ผมรู้สึกว่าเสียงทุ้มมันลดลงในขณะที่แลกมาด้วยเสียงแหลมที่กระจ่างเป็นประกายมากขึ้น ผมจึงพบว่ายากมากๆที่จะทำแอมป์ให้ได้ดีในทุกๆมุม พอเราได้ speed มันก็ลดความหวาน พอฟังเพลงแจซกับ classic ดีขึ้น เพลงร้องก็ด้อยลง เฮ้อ