Saturday, September 22, 2007

My new R120 SE

R120SE drive by EF40 and ML-6


ที่มา
หลังจากได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด La Radiotechniques R120 มาได้ระยะหนึ่ง ผมก็ได้ทำแอมป์ตัวอื่นๆอีก 2-3 เครื่อง ได้สั่งสมประสบการณ์ในการออกแบบและทำแอมป์เพิ่มขึ้นพอสมควร จนกระทั่งวันหนึ่งผมจึงนำแอมป์ R120SE ตัวเดิมมาฟังและเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนแท่นมันใหม่ให้ดูดีขึ้นเพราะแท่นเดิมเริ่มดูโบ๋ๆหลังจากที่ถูกถอดเอาหม้อแปลง output ออกไป และไหนๆก็จะทำใหม่แล้วผมก็เลยออกแบบชุด drive มันใหม่ไปด้วยซะเลย
เดิม R120SE ของผมเริ่มจากใช้ CV-1988 หรือ 6SN7 drive ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น C3m , EL84 และ ML-6 drive ตามลำดับ นับเป็นแอมป์ตัวเดียวที่ผมชอบแก้ไขเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เรื่อย ดังนั้นในครั้งนี้ผมจึงทำแท่นให้สามารถเปลี่ยนหลอด drive ได้ง่ายๆ โดยทำช่องใส่ socket เป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนเจาะช่องกลมใหญ่ขนาด 45 mm และใต้มันก็จะเป็นแผ่นยึด socket ขยาด 8x8 cm ยึด socket แล้วค่อยยึดเข้าแท่นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนหลอดที่ใช้ socket ไม่เหมือนเดิมผมก็แค่เปลี่ยนแผ่นยึด socket นี้ทำให้ไม่ต้องเจาะช่องใหม่บนแท่นเดิม ซึ่งสะดวกดีและทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้นด้วย ลองดูที่รูปแล้วกันครับ สำหรับแท่นใหม่นี้ก็เป็นแท่นไม้ที่มีแผ่นด้านบนเป็นอลูมิเนียม ดูสวยงามดีไปอีกแบบหนึ่งครับ

วงจร

วงจร R120SE drive โดย EF40 direct coupling และ ML-6 cathode follower ( click เพื่อขยายภาพ )

ในส่วนวงจรคราวนี้ผมตั้งใจจะใช้หลอด pentode drive ดูอีกซักครั้ง เพราะคิดว่าหลอด pentode เมื่อนำมาใช้ drive พวกหลอด output ที่มีเสียงหวานๆช้าๆอย่าง R120 น่าจะไปด้วยกันได้ดี ผมจึง drive ด้วยหลอด Siemens EF40 ที่ผมมีเก็บไว้ หลอด EF40 นี้เป็นหลอดในยุคเก่าพัฒนามาจากหลอด EF12 ก่อนที่จะพัฒนาต่อไปเป็น EF86 ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีโครงสร้างและ specification เหมือนกับ EF86 เลยต่างกันเพียง socket ที่เป็นแบบ rimlock แทนที่จะเป็น 9 pin miniature ธรรมดา และเพื่อให้มันมี impedance ต่ำๆสำหรับ R120 ผมจึงใช้หลอด ML-6 มาต่อแบบ direct coupling ก่อนที่จะต่อแบบ cathode follower ไปที่หลอด R120 ซึ่งเป็นหลอด output อีกทีหนึ่ง
แต่เดิมผมต้องการ set EF40 ให้เป็น pentode แต่เมื่อใช้งานผมพบว่าเกนมันเยอะมากทำให้ได้ยินเสียงฮัมของปรีแอมป์อย่างชัดเจน ผมไม่ชอบใช้แบบ integrated amp โดยการใส่ volume เข้าไปแล้วต่อตรงจาก cd ผมจึงลดเกนของมันโดยเปลี่ยนหลอด EF40 ให้เป็น triode mode ซะ พอเสร็จใช้งานก็พบว่าไม่ฮัมไม่จี่ให้รำคาญใจ

หลอด drive Siemens EF40 , STC ML-6 และหลอด output LT R120

ในส่วนภาคจ่ายไฟผมก็ใช้วงจรแบบเดิมและอุปกรณ์ชุดเดิมซึ่งก็ยังใช้งานได้อย่างเหมาะสมอยู่ โดยใช้หลอด AZ12 เป็นหลอด rectify ส่วน filter ใช้ CLC ธรรมดา โดย C ตัวแรกเป็นแบบ oil เพื่อหวังว่าเสียงมันจะได้นุ่มนวล ได้ไฟ B+ ประมาณ 280V จ่ายไปยัง EF40 , ML-6 และ R120 ทุกหลอดโดยไม่ต้อง drop แรงดันลงเลย ในส่วนแรก EF40 ที่ run แบบ triode mode นั้น ใช้ วงจรแบบ R load ธรรมดา ที่กระแส 1.3mA Vp 136V ใน stage ที่ 2 เป็นหลอด ML-6 เมื่อต่อแบบ direct coupling มา แรงดันที่ cathode , plate จึงสูงมาก เมื่อผม bias 8V มันจึงทำให้ V ที่ cathode เทียบกราวน์เป็น 144V ทำให้ R cathode มีค่าเยอะตามไปด้วย ตามที่ออกแบบก็จะเป็น 9K10W จึงหา R cathode ยากหน่อยผมจึงใช้ R 18K5W 2 ตัวมาขนานกันเพื่อใช้งาน ในส่วนสุดท้ายผมต่อแบบ cathode follower เพราะไม่ต้องการกำลังขยายแล้วแต่ต้องการ impedance ภาต drive ที่ต่ำๆแทน เพราะหลอด EF40 เป็นหลอดยุดเก่าที่มี Rp ค่อนข้างสูง ในส่วนนี้ต่อผ่าน C coupling ธรรมดาไม่กล้าต่อแบบ direct coupling อีกเพราะนอกจากกลัวเกิดความผิดพลาดแล้วจะทำให้หลอด R120 ที่หายากเจ๊งแล้ว B+ ผมก็ไม่พอด้วยเพราะมันต้อง + เข้าไปอีก 140 กว่า V กลายเป็น 400 กว่าV โดย R120 ผม set ที่กระแสประมาณ 50mA bias 35V และ Vp 250V ใช้หม้อแปลง 2.5K ของ Hashimoto

อุปกรณ์ใต้แท่นเครื่อง
ขั้นตอนการทำก็ไม่มีอะไรมากมายเพราะเป็นการแงะเอาจากตัวเดิมมาทำ เปลี่ยนเพียงถาค drive เท่านั้น และเนื่องจากหลอดทั้งหมดเป็น indirect heat ภาคจุดใส้หลอดจึงเป็น ac ได้ ง่ายดี ไม่ฮัม

ด้านหลังมี RCA และขั้วต่อไปยังแท่นหม้อแปลง output
แนวเสียง
เรื่องเสียงผมว่ามันเปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร อันเนื่องมาจากผลของหลอด drive เสียงตอนนี้จะมีรายละเอียดสูง speed เสียงเร็วกว่าเดิม ความหวานลดลง ฟังเพลงได้หลายแนวขึ้นกว่าเดิม แต่ผมรู้สึกว่าเสียงทุ้มมันลดลงในขณะที่แลกมาด้วยเสียงแหลมที่กระจ่างเป็นประกายมากขึ้น ผมจึงพบว่ายากมากๆที่จะทำแอมป์ให้ได้ดีในทุกๆมุม พอเราได้ speed มันก็ลดความหวาน พอฟังเพลงแจซกับ classic ดีขึ้น เพลงร้องก็ด้อยลง เฮ้อ


No comments: