RCA800 ( VT64 ) DHT class A2 SE amplifier
ที่มา
ผมเหมือนนัก diy ทั่วไปที่แรกๆเลยมาถึงก็อยากทำแอมป์ที่มี watt สูงๆ ต่อมาพอมีประสพการณ์มากขึ้น watt ที่ทำมันก็จะน้อยลง น้อยลง จนพอถึงจุดหนึ่งก็กลับมาอยากทำ watt เยอะๆแรงดันไฟสูงๆ วงจรยากๆหน่อยกันซะอีกแล้ว คงเป็นเพราะอยากลองฝีมือกันกระมังครับ สำหรับตัวผมเองก็เริ่มจากอยากทำหลอดเบอร์ 813 , 845 เลยครับ ประเภท 2-3 watt นี่มันจะทำไปทำไม แต่พอศึกษาไปศึกษามา ก็มาลงที่ 6C33C-B ที่มี watt สูงแต่ใช้แรงดันในการทำงานต่ำ มาคิดดูอีกทีถ้าตอนนั้นผมดันทุรังทำ 813 ป่านนี้อาจไม่ได้มาเขียนบทความนี้แล้ว จากนั้นผมก็หันเหออกไปทำ R120 SE กับ EL156 SE ที่ใช้แรงดันไฟไม่สูงมากนักซะ
แต่ในที่สุดผมเริ่มก็อยากทำพวกที่มันตื่นเต้นและทำยากขึ้นมาซักหน่อย แล้วผมก็ไปเจอหลอดที่ผมสนใจที่มีคุณลักษณะที่ผมอยากทำ 3 ประการ คือ หนึ่งเป็นหลอด DHT แบบ transmitting tube , สองเป็นหลอดที่สามารถทำงานใน class A2 ระดับ volt ต่ำๆได้ หรือจะทำเป็น class A1 volt สูงๆเป็น 1,000V ก็ยังไหว และประการสุดท้าย มีหน้าตาแปลกประหลาดสวยงามน่ารักครับ หลอดที่ว่าคือหลอด RCA800 หรือ VT-64 นั่นเองครับ
หลอด RCA 800 เป็นหลอดในตระกูล transmitting tube ในกลุ่มหลอดเบอร์ 800 เช่นเดียวกับ 801 ,803 , 805 , 838 หรือ 845 อันโด่งดัง โดยหลอดเบอร์นี้เป็นหลอดที่มี 2 เขา ที่ว่า 2 เขาคือ มี grid กับ anode อยู่บนขั้วต่อที่อยู่ส่วนบนของหลอด และมีขา filarment อยู่ที่ socket ดูรูปเอาเลยดีกว่าครับเข้าใจง่ายกว่า จริงๆแล้วในระหว่างที่สนใจหลอดนี้นั้นเองผมก้ได้เห็นแอมป์ที่ทำโดยนัก diy ชาวญี่ปุ่นจาก web ซึ่งแกใช้หลอดเบอร์นี้ทำ ที่น่าสนใจที่สุดคือแอมป์นี้ใช้หลอดที่มี 2 เขาทั้งหมดทั้งหลอด power หลอด drive รวมไปถึงหลอด rectifier ผมจึงดิ้นรนหามาทำบ้าง
วงจรนั้นผมใช้ตามแบบของนัก diy ญี่ปุ่นเลยโดยเป็นแบบ SE class A2 fixed bias โดยในส่วนภาค driver ใช้หลอด Kenrad 2C22 และ Hytron VT-232 drive 2 stages ผ่าน interstage 1:1 ซึ่งผมใช้ของ Lundahl LL1671 ขนาด 5K:5K แต่ในส่วนของภาคจ่ายไฟเนื่องจากในตอนแรกผมไม่สามารถหาหลอด 2 เขาได้ ผมจึงใช้ RCA 866A half wave mercury vapor ซึ่งมีเขาเดียวแทน แต่ก็ได้ความสวยงามของสีฟ้าของหลอดในขณะทำงานเข้ามาทดแทนเขาที่หายไปหนึ่งเขา ต่อมาภายหลังผมจึงประมูลได้หลอด Ratheon RK-61 ซึ่งมี 2 เขามาแต่ก็ยังไม่ได้เอามาใช้ซะที นอกจากนี้ผมเองก็ไม่ได้ใช้ NFB เหมือนตามวงจรต้นแบบครับ
ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็ซื้อหาเอาในเมืองไทยยกเว้นหลอดแทบทั้งหมดประมูลมาจาก ebay และในส่วนของหม้อแปลงก็ใช้ Hashimoto HSU 20-3.5U โดยใช้ที่ 3.5K นับเป็นหม้อแปลงครอบจักรวาลที่ผมใช้กับหลอดหลายๆเบอร์ที่ทำ ส่วนหม้อแปลง power และ filter choke ก็ทำแบบ open frame เพื่อความสวยงาม และแยกหม้อแปลงจุดใส้หลอดออกมาจากไฟสูงเพื่อความสะดวกในการปรับเปลี่ยนหลอด driver และช่วยลดเสียงรบกวนลงไปด้วยในตัว
หลังจากทำเสร็จ ผมก็พบว่าเสียงที่ได้ยังไม่ดีนักครับ มันยังไม่กระจ่างใสและมีรายละเอียดดีอย่างที่คาด จึงเอาไปให้คุณฆฤณ ( Lnaudio ) ช่วยดูปัญหา จึงพบว่าน่าจะมีปัญหาจาก noise ของตัว interstage และจากหลอด driver ที่ไม่เหมาะสม ที่จะนำมา drive หลอดเบอร์ 800 ได้ ( หลอดเบอร์ 800 อาจต้องใช้หลอด driver ที่มีกำลังขับถึง 3W ) การทำงานของแอมป์ตัวนี้จึงอาจยังทำงานไม่สมบูรณ์นัก เมื่อวัดการทำงานด้วยเครื่องมือก็พบว่ามันจะทำงานได้ดีเพียงในช่วง 1-2W พอเลยจากนั้นมันก็จะมีความเพี้ยนสูงมาก ผมจึงคงต้องแก้ไขโดยเฉพาะในส่วนของหลอด driver และจุดทำงานของ เบอร์ 800 เองอีกครั้งหนึ่ง แล้วจะมาเล่าให้ฟังใหม่อีกครั้งครับ
ในที่สุด ผมก็ได้ปรับปรุงวงจรภาค driver ของ 800 นี้ แล้ว โดยในครั้งนี้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ประการแรกคือ การปรับ bias ของ 800 ให้เป็น Zero bias ตั้งใจว่าจะ run ที่ 550V plate กระแสประมาณ 50 mA ส่วนภาค driver ใช้หลอด 6FD7 ซึ่งเป็นหลอดแบบ 2 section Triode แล้วต่อแบบ cathode follower ไปที่เบอร์ 800 ไม่ผ่าน interstage เหมือนเดิม แต่เนื่องจากผมต้องเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ในระหว่างรอหม้อแปลงผมจึงใช้หม้อแปลงเดิม แต่เอา diode มาต่อเพิ่มเข้าไปก่อนหลอดโดยอาศัย idea มาจากโครงงานของคุณ thanawat ใน yearbook 2005 มาใช้เพื่อเพิ่ม v เข้าไปอีกประมาณ 20% แล้วมันก็ได้ผลซะด้วยเดิมผมได้ B+ ที่ 380V ก็แบ่งขยายเป็น 420V ได้ทำให้ใกล้เคียงกับจุดที่ต้องการเข้าไปอีกหน่อย
ผลการปรับปรุง ตอนนี้เสียงฟังดีขึ้นเยอะเลย แหลมสดใส และเบสฟังดูเป็นตัวเป็นต้น แต่ก็ไม่ดังและลึกมาก แต่เป็นเบสแบบกระชับเป็นลูกๆคมๆ ครับ เมื่อฟังเพลงร้องเสียงดีเกินคาด แต่ฟังเพลงฮิปฮอปกลับไม่ค่อยดีนักมันฟังดูสับสนยังไงไม่รู้ แต่โดยรวมเสียงในย่านกลางสูง รายละเอียด และบรรยากาศ ดีมากๆ เลยครับ เดี๋ยวได้หม้อแปลง power ใหม่จะลองปรับแรงดันให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้น่าจะดีขึ้น อีกประการหนึ่งผมใช้หม้อแปลงที่ 10K ของ daburu อยู่ ซึ่งในการออกแบบนั้นกะว่าจใช้ 7K ซึ่งคงจะเอา Hashimoto มาแทปหลแกทดสอบดูไปก่อนครับน่าจะได้ผมที่ดีขึ้นไปอีก
ผมได้บทเรียนจากการทำแอมป์ตัวนี้ค่อนข้างมาก ประการแรก การ matching ภาค driver ค่อนข้างสำคัญ โดยเฉพาะวงจรแบบ class A2 ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การทำเพียงแค่ให้มีเสียงดังออกมาไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ แต่การทำให้ได้ประสิทธิภาพนั้นยากกว่าเยอะ และหากต้องได้ทั้งประสิทธิภาพเต็มที่พร้อมทั้งเสียงดีด้วยนี่ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แล้วหากจะเอาทั้งหมดบวกเข้ากับหลอดหน้าตาสวยงามอย่างที่ชอบที่อยากได้เข้าด้วย สุดยอดแห่งความยากครับ
ผมเหมือนนัก diy ทั่วไปที่แรกๆเลยมาถึงก็อยากทำแอมป์ที่มี watt สูงๆ ต่อมาพอมีประสพการณ์มากขึ้น watt ที่ทำมันก็จะน้อยลง น้อยลง จนพอถึงจุดหนึ่งก็กลับมาอยากทำ watt เยอะๆแรงดันไฟสูงๆ วงจรยากๆหน่อยกันซะอีกแล้ว คงเป็นเพราะอยากลองฝีมือกันกระมังครับ สำหรับตัวผมเองก็เริ่มจากอยากทำหลอดเบอร์ 813 , 845 เลยครับ ประเภท 2-3 watt นี่มันจะทำไปทำไม แต่พอศึกษาไปศึกษามา ก็มาลงที่ 6C33C-B ที่มี watt สูงแต่ใช้แรงดันในการทำงานต่ำ มาคิดดูอีกทีถ้าตอนนั้นผมดันทุรังทำ 813 ป่านนี้อาจไม่ได้มาเขียนบทความนี้แล้ว จากนั้นผมก็หันเหออกไปทำ R120 SE กับ EL156 SE ที่ใช้แรงดันไฟไม่สูงมากนักซะ
แต่ในที่สุดผมเริ่มก็อยากทำพวกที่มันตื่นเต้นและทำยากขึ้นมาซักหน่อย แล้วผมก็ไปเจอหลอดที่ผมสนใจที่มีคุณลักษณะที่ผมอยากทำ 3 ประการ คือ หนึ่งเป็นหลอด DHT แบบ transmitting tube , สองเป็นหลอดที่สามารถทำงานใน class A2 ระดับ volt ต่ำๆได้ หรือจะทำเป็น class A1 volt สูงๆเป็น 1,000V ก็ยังไหว และประการสุดท้าย มีหน้าตาแปลกประหลาดสวยงามน่ารักครับ หลอดที่ว่าคือหลอด RCA800 หรือ VT-64 นั่นเองครับ
Ratheon RK-61
หลอด RCA 800 เป็นหลอดในตระกูล transmitting tube ในกลุ่มหลอดเบอร์ 800 เช่นเดียวกับ 801 ,803 , 805 , 838 หรือ 845 อันโด่งดัง โดยหลอดเบอร์นี้เป็นหลอดที่มี 2 เขา ที่ว่า 2 เขาคือ มี grid กับ anode อยู่บนขั้วต่อที่อยู่ส่วนบนของหลอด และมีขา filarment อยู่ที่ socket ดูรูปเอาเลยดีกว่าครับเข้าใจง่ายกว่า จริงๆแล้วในระหว่างที่สนใจหลอดนี้นั้นเองผมก้ได้เห็นแอมป์ที่ทำโดยนัก diy ชาวญี่ปุ่นจาก web ซึ่งแกใช้หลอดเบอร์นี้ทำ ที่น่าสนใจที่สุดคือแอมป์นี้ใช้หลอดที่มี 2 เขาทั้งหมดทั้งหลอด power หลอด drive รวมไปถึงหลอด rectifier ผมจึงดิ้นรนหามาทำบ้าง
วงจรตามแบบนัก diy ชาวญี่ปุ่น
ที่มาของวงจร www.anc-tv.ne.jp/~suzuki3/amp_vt232_2c22_800/a_vt232_2c22_800_amp.htm
วงจรนั้นผมใช้ตามแบบของนัก diy ญี่ปุ่นเลยโดยเป็นแบบ SE class A2 fixed bias โดยในส่วนภาค driver ใช้หลอด Kenrad 2C22 และ Hytron VT-232 drive 2 stages ผ่าน interstage 1:1 ซึ่งผมใช้ของ Lundahl LL1671 ขนาด 5K:5K แต่ในส่วนของภาคจ่ายไฟเนื่องจากในตอนแรกผมไม่สามารถหาหลอด 2 เขาได้ ผมจึงใช้ RCA 866A half wave mercury vapor ซึ่งมีเขาเดียวแทน แต่ก็ได้ความสวยงามของสีฟ้าของหลอดในขณะทำงานเข้ามาทดแทนเขาที่หายไปหนึ่งเขา ต่อมาภายหลังผมจึงประมูลได้หลอด Ratheon RK-61 ซึ่งมี 2 เขามาแต่ก็ยังไม่ได้เอามาใช้ซะที นอกจากนี้ผมเองก็ไม่ได้ใช้ NFB เหมือนตามวงจรต้นแบบครับ
ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็ซื้อหาเอาในเมืองไทยยกเว้นหลอดแทบทั้งหมดประมูลมาจาก ebay และในส่วนของหม้อแปลงก็ใช้ Hashimoto HSU 20-3.5U โดยใช้ที่ 3.5K นับเป็นหม้อแปลงครอบจักรวาลที่ผมใช้กับหลอดหลายๆเบอร์ที่ทำ ส่วนหม้อแปลง power และ filter choke ก็ทำแบบ open frame เพื่อความสวยงาม และแยกหม้อแปลงจุดใส้หลอดออกมาจากไฟสูงเพื่อความสะดวกในการปรับเปลี่ยนหลอด driver และช่วยลดเสียงรบกวนลงไปด้วยในตัว
หลังจากทำเสร็จ ผมก็พบว่าเสียงที่ได้ยังไม่ดีนักครับ มันยังไม่กระจ่างใสและมีรายละเอียดดีอย่างที่คาด จึงเอาไปให้คุณฆฤณ ( Lnaudio ) ช่วยดูปัญหา จึงพบว่าน่าจะมีปัญหาจาก noise ของตัว interstage และจากหลอด driver ที่ไม่เหมาะสม ที่จะนำมา drive หลอดเบอร์ 800 ได้ ( หลอดเบอร์ 800 อาจต้องใช้หลอด driver ที่มีกำลังขับถึง 3W ) การทำงานของแอมป์ตัวนี้จึงอาจยังทำงานไม่สมบูรณ์นัก เมื่อวัดการทำงานด้วยเครื่องมือก็พบว่ามันจะทำงานได้ดีเพียงในช่วง 1-2W พอเลยจากนั้นมันก็จะมีความเพี้ยนสูงมาก ผมจึงคงต้องแก้ไขโดยเฉพาะในส่วนของหลอด driver และจุดทำงานของ เบอร์ 800 เองอีกครั้งหนึ่ง แล้วจะมาเล่าให้ฟังใหม่อีกครั้งครับ
ในที่สุด ผมก็ได้ปรับปรุงวงจรภาค driver ของ 800 นี้ แล้ว โดยในครั้งนี้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ประการแรกคือ การปรับ bias ของ 800 ให้เป็น Zero bias ตั้งใจว่าจะ run ที่ 550V plate กระแสประมาณ 50 mA ส่วนภาค driver ใช้หลอด 6FD7 ซึ่งเป็นหลอดแบบ 2 section Triode แล้วต่อแบบ cathode follower ไปที่เบอร์ 800 ไม่ผ่าน interstage เหมือนเดิม แต่เนื่องจากผมต้องเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ในระหว่างรอหม้อแปลงผมจึงใช้หม้อแปลงเดิม แต่เอา diode มาต่อเพิ่มเข้าไปก่อนหลอดโดยอาศัย idea มาจากโครงงานของคุณ thanawat ใน yearbook 2005 มาใช้เพื่อเพิ่ม v เข้าไปอีกประมาณ 20% แล้วมันก็ได้ผลซะด้วยเดิมผมได้ B+ ที่ 380V ก็แบ่งขยายเป็น 420V ได้ทำให้ใกล้เคียงกับจุดที่ต้องการเข้าไปอีกหน่อย
ผลการปรับปรุง ตอนนี้เสียงฟังดีขึ้นเยอะเลย แหลมสดใส และเบสฟังดูเป็นตัวเป็นต้น แต่ก็ไม่ดังและลึกมาก แต่เป็นเบสแบบกระชับเป็นลูกๆคมๆ ครับ เมื่อฟังเพลงร้องเสียงดีเกินคาด แต่ฟังเพลงฮิปฮอปกลับไม่ค่อยดีนักมันฟังดูสับสนยังไงไม่รู้ แต่โดยรวมเสียงในย่านกลางสูง รายละเอียด และบรรยากาศ ดีมากๆ เลยครับ เดี๋ยวได้หม้อแปลง power ใหม่จะลองปรับแรงดันให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้น่าจะดีขึ้น อีกประการหนึ่งผมใช้หม้อแปลงที่ 10K ของ daburu อยู่ ซึ่งในการออกแบบนั้นกะว่าจใช้ 7K ซึ่งคงจะเอา Hashimoto มาแทปหลแกทดสอบดูไปก่อนครับน่าจะได้ผมที่ดีขึ้นไปอีก
ผมได้บทเรียนจากการทำแอมป์ตัวนี้ค่อนข้างมาก ประการแรก การ matching ภาค driver ค่อนข้างสำคัญ โดยเฉพาะวงจรแบบ class A2 ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การทำเพียงแค่ให้มีเสียงดังออกมาไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ แต่การทำให้ได้ประสิทธิภาพนั้นยากกว่าเยอะ และหากต้องได้ทั้งประสิทธิภาพเต็มที่พร้อมทั้งเสียงดีด้วยนี่ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แล้วหากจะเอาทั้งหมดบวกเข้ากับหลอดหน้าตาสวยงามอย่างที่ชอบที่อยากได้เข้าด้วย สุดยอดแห่งความยากครับ
No comments:
Post a Comment