Sunday, March 25, 2007

6SN7 หลอดยอดนิยมตลอดกาลหลอดหนึ่ง

6SN7 มาแล้วครับ

คราวนี้มาแปลกครับ คือผมจะโชว์รูปหลอดที่ผมไม่มีให้ท่านดูครับ

ที่มาคือเดิมผม post blog โชว์รูปหลอดใน gallery โดยใช้รูปหลอดที่ผมมีเก็บสะสมไว้ มาครั้งนี้ผมจะลงรูปหลอดแปลกๆและหายากใน series ของ 6SN7 หลอดยอดนิยมตลอดกาลของนัก diy ครับ

6SN7 เป็นหลอดตระกูลหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่านัก DIY 99% ต้องเคยมีครอบครองอยู่ในมือ ผมเองก็เช่นกันครับ 6SN7 ก็เป็นหลอดแรกที่ผมซื้อเอามาใช้เป็นหลอด drive โดยใช้กับแอมป์ 6C33C-B SEของผม และเช่นกันตอนผมทำ R120 SE ใน version แรกๆ ผมก็ใช้ 6SN7 ซึ่งในตอนนั้นก็ไม่มีอะไรมากบอกตามตรงเลยว่าตอนนั้นผมไม่ชอบหลอดทรง 12AX7 ครับ ผอมๆหัวแหลมๆ ไม่สวยเลย แล้วตอนนั้นก็รู้จักอยู่แค่นั้นเองด้วยนี่ครับผมก็เลยมาจบที่ 6SN7 แรกๆผมก็ศึกษาและกะว่าจะเก็บสะสม แต่เป็นเพราะผมไปเจอ #26 และเริ่มสะสมหลอดยุโรปซะก่อน ผมก็เลยไม่ได้เก็บสะสมหลอด 6SN7 ตามที่ตั้งใจ ที่เคยมีอยู่ในมือก็แค่ 6SN7GTB GE , 6SN7GTB Sylvania ผมก็ขายเพื่อนไปแล้ว ปัจจุบันผมเหลืออยู่แค่ CV1988 หรือ 6SN7GT ใน version ทหารของยุโรปแค่ของ Mullard 4 หลอดเอาไว้เป็นหลอด drive ของ 6C33C-B และ ของ STC ( ไม่แน่ใจว่าจะเป็น Brimar หรือไม่ ) อีก แค่ 2 หลอด เอาไว้ฟังเล่นๆ เพราะคงไม่ได้มีโครงการอะไรจะเอามาใช้งานแล้ว

แม้ว่านัก diy ที่เล่นๆไปสักระยะหนึ่งมักจะเปลี่ยนไปเล่นหลอดเบอร์อื่น แต่ 6SN7 ก็ยังเป็นหลอดในระดับตำนานอยู่ดี ผมเคยได้ฟังเปรียบเทียบของเพื่อนๆ หลายรุ่นที่เขาว่าเป็นสุดยอดเหมือนกันครับทั้ง RCA red base , Tungsol round base , ECC32 , ECC33 ผมว่าแต่ละหลอดก็มี character ไม่เหมือนกัน ดีไปคนละแบบ เช่น ECC32 ก็ได้เสียงกลางที่นุ่มนวลเด่นชัด , ECC33 ได้ความกระจ่างของปลายแหลม , Tungsol round base ก็ได้ความนุ่มนวลสมดุลทั้งย่านเสียง แต่ในส่วนตัวผมเองกลับคิดว่าการเปลี่ยนยี่ห้อหลอดไปใช้ที่ดีขึ้นโดยใช้เบอร์เดิม จะสู้เปลี่ยนไปใช้หลอดเบอร์อื่นเลยจะเห็นผลและเสียเงินน้อยกว่าเยอะ ตอนนี้ 6SN7 ก็เลยเป็นหลอดในความทรงจำไป

สำหรับ 6SN7 นี้ยังมีหลอดในตระกูลของมันอีกมากเช่น CV1988 , VT-231 ซึ่งเป็นรหัสทหาร , 5692 industrial grade ส่วน ECC32 นั้นมี spec ที่ต่างออกไปเล็กน้อยแต่ก็ใช้แทนได้เลย แต่จะมีเกนมากขึ้นมาเล็กน้อย และในโครงสร้าง plate ที่เห็นแตกต่างกันจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ plate ธรรมดา ได้แก่ 6SN7 ทั่วไป กับ round plate พวก Mullard ECC32 และ CV1988 STC , Brimar รวมไปถึง Tungsol ซึ่งแนวเสียงของ plate ที่ต่างกันนี้จะฟังออกได้ชัดเจนว่าแตกต่างกันในเรื่องความนุ่มนวลของเสียง

สำหรับนัก DIY ทั่วไปมักเห็นว่าหลอด 6SN7 ที่หายากและแพงรวมถึงเสียงดีเป็นสุดยอดของ 6SN7 นั้นคือ Mullard ECC32 , RCA 5692 red base , Tungsol 6SN7GT round base , Sylvania 6SN7W metal base อะไรทำนองนี้ แต่ขอบอกว่าท่านคิดผิดครับ
สุดยอดของตระกูล 6SN7 ตามที่ได้ข้อมูลจาก net ในช่วงที่ศึกษาและอยากสะสมหลอด 6SN7 เรียงดังนี้ครับ
1.Swedish military 6SN7 รหัส 33S30 ครับ คู่หนึ่งที่เคยเห็นขายใน ebay บิดกันไปที่คู่ละ 800 US$
2.Osram B65 metal base คู่ละประมาณ 500 US$
3.Telefunken 6SN7GTA คู่ละประมาณ 500 US$
ผมเทียบราคาตอนที่ ECC32 คู่ละประมาณ 300 US$ ครับ เรื่องเสียงผมไม่รู้ว่ามันจะดีหรือไม่เพราะผมไม่เคยมีโอกาสได้ฟัง ได้แต่อ่านฝรั่งโม้กันเท่านั้น แต่เรื่องความแพงที่เคยเห็นซื้อขายกันใน ebay ขอบอกว่าสุดยอดแล้วครับ

มาดูรูปกัน ผม copy มานะครับ ของจริงผมไม่มีหรอกครับ แพงเกินเหตุไปหน่อย ผมเลยไม่มีความเห็นเรื่องเสียงครับ
โม้มาซะมาก เอารองอันดับสามไปก่อนครับ


Telefunken 6SN7GTA เป็นหลอดที่ผู้เชี่ยวชาญยังถกเถียงกันอยู่ว่าผลิตมาจากไหน เพราะไม่เชื่อกันว่า Telefunken จะผลิตเอง แต่ไม่ว่าใครจะผลิตให้หรือ TFK แกจะผลิตเองก็ตาม ราคาที่เห็นบิดกันก็ค่อนข้างสูงมากอยู่ดีโดยรวมๆที่เคยเห็นมักจะประมาณ หลอดละ 200 กว่าเหรียญ ถ้าเป็นคู่น่าจะประมาณ 500 กว่าเหรียญ ครับ เรื่องเสียงผู้เชี่ยวชาญท่านว่าไว้ว่าแนวเสียงเด่นเรื่องรายละเอียด และด้วยความเป็น TFK กับความหายากของมันทำให้ราคาแพงมาก


อันดับสองครับ Osram B65 metal base สุดยอด 6SN7 จากฝั่งอังกฤษ B65 ถูกจัดว่าเสียงกลางสุดยอดที่สุดดีกว่า ECC32 ด้วยซ้ำ ไม่น่าเชื่อครับ ไม่รู้จะพิสูจน์ยังไงเพราะไม่เคยได้เห็นและได้ฟัง และผมไม่เคยเจอ NOS NIB มาขายเลยแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนใหญ่สภาพเก่ามากๆ แต่ราคาก็จบไปในราคามหาโหดแทบทุกครั้ง B65 มี version base ธรรมดาสีดำด้วยครับแต่ราคาจะถูกกว่า metal base เยอะครับ


สุดยอดอันดับหนึ่ง มาแล้วครับ 33S30 6SN7 military version จาก Sweden ครับ ดูหน้าตารูปร่างมันแล้วใครจะเชื่อว่ามันเป็นสุดยอด 6SN7 ของนักสะสมครับ ถ้าเอามันมาวางขายข้างๆ ECC32 และ RCA red base ในราคาเท่าๆกันใครๆก็ต้องเลือก 2 ยี่ห้อแรก แต่ช้าก่อนผมขอบอกว่าราคาสุดโหดครับ ราคาที่เคยเห็นเพียงครั้งเดียวใน ebay คือราคา used คู่ละ 800 กว่าเหรียญครับ นั่นคือเมื่อนานมาแล้วด้วยนะครับ ดูโครงสร้างหน้าตามันไม่น่าจะต่างไปจาก RCA 5692 red base เลยครับ แต่เขาว่าของจริงมันแข็งแรกบึกบึนกว่า เสียงมันดีที่สุดของกลุ่มหลอดแพงๆเหล่านี้ในแง่รายละเอียดและปลายเสียงแหลม

ต้องขอย้ำอีกทีว่าเรื่องเสียงผมไม่เคยฟังทั้ง 3 หลอดนี้เลยนะครับ ที่ว่ากันว่าดีหนักหนาก็เชื่อไว้ซักครึ่งเดียวก็พอครับ เราต้องฟังเองจึงจะตัดสินได้ แต่ที่แน่ๆ 3 รายการนี้เป็นหลอดที่เป็นสุดยอดของนักสะสม และราคาสูงมากๆเลยครับ ผมลงรูปให้ดูเล่นๆเผื่อไปเจอกันในราคาถูกๆจะได้รีบสอยมา แล้วอย่างลืมเอามาแบ่งกันฟังบ้างนะครับ ส่วนรูปหลอดพวก ECC32 , RCA red base , Tungsol round base ผมเชื่อว่าคุณคงต้องเคยเห็นหรือเคยเป็นเจ้าของมันแล้ว แต่หากอยากเห็นอีกครั้งก็ลอง search ดูเอาใน web แล้วกันนะครับ

*** หมายเหตุ หลอดที่ผมมีไม่ให้ดูนะครับ ดูเอาจากแอมป์ R120 และ 6C33C-B เอาเองแล้วกัน ไม่อยากเทียบรุ่น 3 หลอดข้างบนนี่ครับ ***

Wednesday, March 21, 2007

แผ่นเสียง Audiophile

ในบรรดาแผ่นเสียงที่เราเล่นๆกันอยู่นั้น ถ้าแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆน่าจะเป็น 2 กลุ่ม คือ แผ่นธรรมดาทั่วไป กับแผ่นที่ถูกจัดให้เป็นแผ่น audiophile ซึ่งเป็นแผ่นที่มีคุณภาพเสียงที่ดีทั้งอาจจะเป็นการอัดเสียงดีหรือคุณค่าของเพลงดีก็ได้ มีนิตยสารเครื่องเสียงให้คะแนนกันยังกับเชลล์ชวนชิม เช่น The Absolute sound ทำให้เป็นแนวในการศึกษาและหามาฟัง

ลองดูแผ่น audiophile ของผมบ้างครับ มีหลากหลายแนวเพราะผมชอบเพลงหลายๆแนว เลยลองซื้อมาทดลองฟังดู ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง อันนี้เป็นรสนินมส่วนตัวนะครับ


Harry Belafonte ชุด At Carnegie Hall เป็นเพลงในแนวลาติน แสดงสดใน carnegie hall เป็นเพลงเก่าๆที่ไพเราะมาก เช่น cotton field , day o , danny boy การบันทึกดีและนักร้องก็ร้องได้ดีแถมร้องไปเล่นกับคนดูไปสนุกครับ แผ่นนี้ฟังได้ดีทุกเพลง ไม่สงสัยเลยว่าเป็นสุดยอดอัลบัม ที่ TAS ต้องแนะนำ แต่ถึงไม่แนะนำผมก็คงต้องดิ้นรนหามาฟังเพราะฟัง cd แล้วชอบมากๆ แผ่นที่มีขายมีหลาย version นะครับ ที่ผมมีเป็นอัลบัมเก่าแบบ mono ครับ ยังมีแบบ stereo และ re master อีก แล้วเทียบกับ cd ก็ดีว่าด้วยครับ คุณภาพเสียงฟังธรรมชาติกว่า ชัดเจนกว่า แถมยังมีเพลงมากกว่าใน cd ด้วย


Balalaika เป็นแผ่นแสดงสดอีกแล้ว เป็นเพลงพื้นบ้านของรัสเซีย เล่นโดยเครื่องดนตรีรัสเซีย นัยว่าเป็นอัลบัมแรกๆที่เข้าไปอัดกันในรัสเซียโดย mercury records มีทั้งแผ่นเก่าและแผ่น re issue ผมมีเป็นแผ่นเก่า bid มาจากใน ebay เดิมไม่สนใจหรอกครับแต่ไปเห็นราคาใน ebay ทำไมมันแพงนัก แถมเห็นร้านที่เยาฮันขายแพงมาก เลยต้องบิดมาลองฟังกับเขาซะหน่อยโชคดีได้มาในราคาไม่แพงมาก โดยรวมก็ไพเราะดีครับ


Tchaikovsky The Overture 1812 โดย Andre Previn และ London Symphony Orchestra แหมถ้าเป็นนักฟังเพลง classic แล้วไม่รู้จัก Overture 1812 นี่เชยแหลกครับ แผ่นนี้ผลิตโดย Mobile Fidelity ผมลองหามาฟังเพราะชอบดนตรีชิ้นนี้อยู่แล้ว แต่ฟังๆไปกลับเฉยๆครับ เสียงมันอัดมาเบาๆยังไงไม่รู้ เสียงปืนใหญ่นี่มันเบามากไม่สะใจเลยยังกับเสียงปืนแก๊ป ไม่รู้เป็นเพราะเครื่องเสียงผมไม่ได้เรื่องหรือแผ่นไม่ได้เรื่องครับ


Gershwin ชุด An American in Paris และ Rhapsody in Blue โดย Arthur Fiedler กำกับวง The Boston Pops ผลิตโดย Chesky records ผมลองแผ่นของ Chesky ดูบ้างเพื่อดูว่าคุณภาพจะเป็นอย่างไรหากดีจะได้หาแผ่นอื่นมาเพิ่ม แผ่น Chesky มักจะมีราคาสูงค่อนข้างมากเลยไม่กล้าบิดมาเยอะๆ ไม่ผิดหวังครับคุณภาพการอัดดีมาก รายละเอียดเสียงค่อนข้างดี เพียงแต่คุณจะชอบเพลงที่เขาเอามาทำหรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเท่าที่เห็นจะทำแต่เพลง jazz กับ classic เท่านั้นครับ


Dave Grusin ชุด Discovery Again ผลิตโดย Sheffield Labs บริษัทที่ผลิตเฉพาะแผ่น audiophile เท่านั้น ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าแผ่นของบริษัทนี้ถ้าผลิตออกมารับรองไม่มีไม่ได้เรื่อง ผมฟังแล้วก็ต้องยอมรับเลยครับว่าผลิตมาดีจริงๆเสียงทั้งชัดทั้งมีรายละเอียด เบสเป็นลูกๆ นี่ยังไม่นับพวกบรรยากาศนะ เพราะผมว่าห้องฟังและชุดเครื่องเสียงผมมันยังเป็น reference ไม่ได้ เดิมผมมีแผ่น cd ของค่ายนี้เยอะพอสมควร แต่บอกตามตรงแนวเพลงมันไม่ใช่แบบที่ผมชอบ ผมก็เลยไม่ดิ้นรนไปหาซื้อเพิ่ม นับว่าโชคดีไปเพราะแผ่นค่ายนี้มักมีราคาค่อนข้างแพงมาก


Billie Holiday ชุด Lady in Satin แผ่นนี้เป็นแผ่น Columbia 6 eyes ซะด้วย บิดมาเล่นๆกะมาลองฟังดูว่าเพลงเก่าๆสไตล์ jazz อย่างนี้จะชอบไหม ปรากฏว่าเรื่องคุณภาพไม่เป็นที่สงสัยดีมากๆครับ แต่ไม่เคยฟังจบแผ่นเลยครับ ไม่ไหวหูไม่ถึงฟังแล้วจะหลับให้ได้ เลยเลิกครับมีไว้โก้ๆแผ่นเดียวพอ รอไว้แก่กว่านี้อาจชอบก็ได้ ตอนนี้เลยเลิกความคิดที่จะหามาฟังทั้งก๊วนเลยครับ Ella Fitzgerald , Louise Armstrong โดนหางเลขไปหมดเลย


Norah Johns ชุด Come away with me ครับ เป็นแผ่นใหม่ audiophile series แบบ 200 grams ซะด้วย เอามาลองฟังดูหน่อยว่าแผ่นเสียงยุคใหม่ๆจะมีคุณภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับ cd ผลก็คือเสียงดีกว่า cd มากครับ อาจเป็นเพราะ cd ของ Norah Jones ที่ทำขายเป็น cd แบบ mass production ทำขายเอาเยอะเข้าว่าคุณภาพเลยไม่ได้เรื่องเอาซะมากๆ แผ่นเลยมีคุณภาพดีกว่าเยอะโดยเฉพาะแหลมไม่บาดหูเท่า cd เลย ถ้าชอบฟังเพลงของเธอก็นับว่าคุ้มครับ


Susan Wong ชุด Close to you เนื่องจากผมชอบฟังเพลงของ Susan Wong อยู่แล้วเลยเอามาลองซะหน่อย ผิดชอบยังไงก็ยังไม่เสียดายเพราะยังฟังได้แทบทุกเพลง เท่าที่ฟัง OK ครับ ดีกว่า cd ตรงความเข้มข้นของเสียง แต่ผมว่าดีกว่าไม่มากนัก อาจเป็นเพราะ cd ของเธอก็เป็น cd ในแนว audiophile ทำมาคุณภาพดีอยู่แล้ว แผ่นเลยดีกว่าไม่มาก

สุดท้ายผมว่าแผ่น audiophile นั้นคุณภาพเสียงเท่าที่ได้ลองก็มักจะดีสมราคา แต่เรื่องสไตล์เพลงเป็นเรื่องสำคัญเพราะส่วนใหญ่จะเป็นเพลง jazz และ classic ดังนั้นบางคนอาจไม่ชอบเลยก็ได้ ผมขอแนะนำว่าถ้าไม่ชอบอย่าฝืนซื้อมาตามกระแสหรือคำแนะนำของนักวิจารณ์ทั้งหลาย เสียดายตังค์น่ะครับเพราะซื้อมาแล้วก็จะไม่ได้ฟัง แผ่นพวกนี้มักจะมีราคาสูงซะด้วย บางคนอาจบอกว่าขอให้มันอัดดีไว้ก่อนฟังๆไปก็ชอบเอง สำหรับผมแล้วไม่ได้ผลเพราะผมลองเท่าไรก็ไม่ชอบครับ

Tuesday, March 20, 2007

The Alan Parsons Project

The Alan Parsons Project เป็นวงดนตรี progressive rock ในลักษณะ concept album คือในแต่ละอัลบัมของเขาจะเป็นชุดดนตรีที่เล่าเรื่องต่างๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชุดแรกเลยคือ Tales of Mystery and Imagination ก็เป็น concept อัลบัมที่อ้างอิงถึงบทประพันธ์ของ Edgar Allan Poe ชุด I Robot ก็เป็นการเล่าเรื่องจากนิยายของ Isaac Asimov เป็นต้น
วงดนตรีวงนี้ก่อตั้งโดย Alan parsons แถมยังเป็น producer , sound engineer และเล่น keyboard ด้วย โดย Alan Parsons นั้นโด่งดังมาจากการเป็น sound engineer ให้กับ Pink Floyd ในสุดยอดอัลบัม The Dark Side of The Moon ในปี 1973 โดย Alan Parsons เองก็เริ่มออกอัลบัมในปี 1976 จนถึงปลายยุค 1980 มีอัลบัมออกมา 10 อัลบัมพอดี ที่ดังๆมี 2-3 อัลบัมได้แก่ Eye in the Sky , I Robot และ The Turn of a Friendly Card ส่วนใหญ่แนวเพลงของวงนี้ที่โด่งดังจะเป็นแนว Instrument music แต่ก็จะมีเพลงที่มีการร้องอยู่ด้วยทุกอัลบัม
ผมเองชอบฟัง The Alan Parsons Project ครับ มันฟังสบายดีไม่หนักเกินไป และทุกชุดจะอัดเสียงมาค่อนข้างดีมากเพราะหัวหน้าวงเป็นสุดยอด sound engineer แต่บางชุดฟังไม่รู้เรื่องครับมันลึกซึ้งเกินไปสำหรับผม โดยเฉพาะชุดแรก Tales of Mystery and Imagination มันมีแต่ instrument ฟังยาก เลยไม่ค่อยโด่งดังนัก แต่แนวดนตรีและการอัดเสียงคงดีมาก Mobile fidelity จึงเอาไปทำแผ่นในแนว audiophile ด้วย ถ้าชอบจินตนาการลองหามาฟังดูนะครับ

มาดูแผ่นที่ผมมีครับ


I Robot ออกในปี 1977 เป็น concept อัลบัมที่ได้แนวความคิดมาจากผลงานวนิยายวิทยาศาสตร์ของ Isaac Asimov ชื่อของอัลบัมคือ first robot แต่ส่วนใหญ่จะคิดว่าชื่อ i robot


อัลบัมนี้มีคุณภาพของเสียงที่ดีมากจน Mobile fidelity นำออกไปทำแผ่นเสียง และผมเองเมื่อฟังเปรียบเทียบก็พบว่าเสียงของแผ่น mobile นี้ดีกว่าแผ่นญี่ปุ่น โดยเฉพาะรายละเอียดและความคมชัด และราคาก็ไม่แพงมากหากจะซื้อก็ซื้อแผ่น mobile ไปเลยครับ


Pyramid ออกในปี1978 ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นอัลบัมที่เกี่ยวข้องกับอะไร แต่ลึกๆแล้วนอกจากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังอำนาจของอียิปต์โบราณแล้วยังหมายถึง การมองอดีตด้วยสายตาของปัจจุบัน ( ส่วน I Robot เป็นการมองอนาคตด้วยสายตาปัจจุบัน ) Alan Parsons นี่แกช่างคิดอะไรได้ลึกซึ้งจริงๆครับ



The Turn of a Friendly Card ออกในปี 1980 เป็น concept อัลบัมที่เกี่ยวกับการเดิมพันของชายหนุ่มคนหนึ่งที่เข้าบ่อนและเดิมพันด้วยทุกสิ่งที่ตัวเองมี ส่วนตัวผม ผมชอบอัลบัมนี้ที่สุดครับ โดยเฉพาะเพลง Nothing Left to Lose สุดยอดจริงๆครับ


Eye in The Sky เป็นอัลบัมที่ออกในปี 1982 ได้ concept มาจากกล้องวงจรปิดใน casino ที่จ้องมองเราอยู่ ท่าทาง Alan Parsons แกจะชอบเล่นการพนันเป็นพิเศษ อัลบัมนี้เป็นอัลบัมที่ประสพความสำเร็จที่สุด คงเป็นช่วงสุดยอดของแกแล้ว เพลงที่ดังมากก็เพลงเดียวกับชื่ออัลบัมแหละครับ ผมว่าคุณต้องเคยได้ยินแน่นอน


Ammonia avenue ออกในปี 1984 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมุมมองของสังคมต่อการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี่ เป็นอัลบัมที่ขายดีมากเช่นกันแต่ผมเฉยๆครับไม่ได้ชอบมากเป็นพิเศษแต่ก็มีหลายเพลงที่ไพเราะมากครับ

Vulture Culture เป็นอัลบัมออกในปี 1985 เดิมจะรวมอยู่กับ Ammonia Avenue เป็นอัลบัมคู่ แต่ต่อมาก็ได้แยกออกมาเป็นอัลบัมเดี่ยว เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภคของชาวอเมริกัน ผมชอบอัลบัมนี้รองลงมาจาก Turn of a Friendly Card ฟังไพเราะแทบทุกเพลงเลยครับ

The Alan Parsons Project ยังมีอัลบัมที่น่าสนใจอีก 2-3 อัลบัม เช่น Eve , Stereotomy , Gaudi แต่ผมฟัง cd แล้วไม่ค่อยชอบเลยไม่ได้หาแผ่นมาฟัง กลัวว่าจะซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ฟังเสียดายตังค์เปล่าๆ



Tuesday, March 13, 2007

Europe power tube ( Pentode )

Power Pentode


โครงสร้าง Plate ที่สวยงามมากของ RS288II คิดว่าไม่มีหลอดใด plate สวยเท่านี้แล้ว ( ไม่เกี่ยวกับเสียงดีนะครับ )


หลอด power pentode ทางฝั่งยุโรปนั้นเป็นหลอดที่ผมเริ่มสะสม และนำมาทำแอมป์ในช่วงแรกๆที่สนใจการทำแอมป์เลยครับ แอมป์ pentode ตัวแรกของผมก็เป็น EL156 SE ต่อมาผมก็ได้ทำ F2A PP ในอนาคตก็ยังมีแผนที่จะทำต่อไปอีกบางเครื่อง แต่ตอนนี้มาดูหลอดที่ผมมีเก็บอยู่บ้างบางส่วนนะครับ


Telefunken EL156
เป็นหลอด power pentode ที่ในอดีตนิยมนำมาทำแอมป์ในโรงภาพยนต์ของเยอรมัน ซึ่งเสียงดีมากๆ พละกำลังก็อยู่ในระดับปานกลางทำ SE ได้ประมาณ 10W ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมมากครับ


Siemens F2A
ไม่ใช่ Pentode แต่เป็นหลอด Tetrode ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อในอดีต Klangfilm นำมาใช้เป็นหลอด power ในแอมป์ที่ใช้ในโรงภาพยนต์


STC PT15
หลอด Pentode ที่นัก diy เชื่อว่าเมื่อเอามา run ใน triode mode จะมีเสียงคล้าย PX-25


Siemens RS1003
power pentode ที่นัก diy ชาวยุโรปบอกว่าเสียงดีมาก แต่ผมดู datasheet แล้วท้อใจท่าทางจะทำยากแถม socket หายากอีกต่างหาก


Telefunken RS288II
หลอด pentode ในยุคปี 1930 มีโครงสร้าง plate ที่สวยงามมาก

Rectifier collection

Rectifier

โครงสร้าง plate ประเภท mesh plate ของ rectifier ยุคแรกๆ

หลอด Rectifier เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งซึ่งอยู่ในความสนใจอย่างยิ่งของนัก diy เครื่องเสียงหลอด ว่ากันว่าเสียงจากการ rectifier ด้วยหลอดนั้นดีกว่าการใช้ solid state มากนัก เพียงแม้กระทั่งเปลี่ยนเบอร์หรือเปลี่ยนยี่ห้อหลอดยังเห็นผล ดังนั้น diyer บางคนจึงซีเรียสกับ rectifier หลอดมาก

ส่วนผมมีหลอด rectifier อยู่บ้างครับ


มาดูหลอดแรกกันเลย Fivre 5Y3 ครับ
เป็น full wave rectifier ทรง ST ผมชอบตรงตราที่ติดอยู่ที่หลอด classic จริงๆ หลอดนี้จ่ายกระแสได้ 125mA เหมาะกับเอาไว้ใช้กับปรีแอมป์ครับ


Champion 82
rectifier แบบ full wave mercury vapor จ่ายกระแสได้ 125mA เช่นกัน


Arcturus 82
full wave rectifier mecury vapor ที่ค่อนข้างหายากครับ ผมใช้กับ ปรี #26 ที่ใช้หลอด Arcturus 126 เข้ากันดีครับ


Telefunken AZ1 Mesh plate
full wave rectifier ทรง globe Mesh plate จ่ายกระแสได้ 100mA ที่ 2x300V เหมาะสำหรับปรีแอมป์เช่นเดียวกัน spec จะคล้ายกับหลอดเบอร์ 80 ของฝั่งอเมริกัน


Loewe AZ1 Mesh plate


Hoges RGN 1064
full wave rectifier ที่มี spec เหมือนกับ Az1 แต่ใช้ socket แบบ europe 4 pin


Telefunken AZ2
full wave rectifier ทรง ST plate ธรรมดา จ่ายกระแสได้ 160mA ที่ 2x300V


Telefunken AZ12
full wave rectifier ทรง ST plate ธรรมดา จ่ายกระแสได้ 200mA ที่ 2x300V เหมาะสำหรับแอมป์ขนาดกลางๆครับ


Valvo AZ12 Mesh plate ST shape


Loewe AZ12 Mesh plate globe shape


Valvo AZ50
full wave rectifier ที่จ่ายกระแสได้ 300mA ที่ 2x300V เหมาะสำหรับแอมป์ขนาดกลางเช่นกัน


Telefunken EZ150
full wave rectifier ที่จ่ายกระแสได้ 600mA ที่ 2x400V เหมาะสำหรับแอมป์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ครับ โดยเฉพาะหลอด EL156 จะเหมาะมากเพราะรูปทรงเหมือนกัน


Telefunken RGN1404
half wave rectifier ที่จ่ายกระแสได้ 100mA ที่ 800V เหมาะสำหรับปรีแอมป์หรือแอมป์ขนาดเล็กครับ

Monday, March 12, 2007

Cca collection

Cca

Cca เป็นหลอดในตระกูล 6DJ8 หรือ 6922 ที่โด่งดัง โดยเป็นหลอด dual triode ขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในการนำมาทำ phono , pre amplifier หรือเป็นหลอด driver โดยมีเกนขยายประมาณ 33 เท่า ใช้ socket 9 pin ธรรมดา ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน มีผลิตทั่วไปทั้งในอดีต และปัจจุบันก็ยังมีผลิตอยู่ในหลายบริษัท หลอดในตระกูลนี้ที่โด่งดังคือ Mullard 6DJ8 และ Amperex 6922 ส่วนในเยอรมันก็มีผลิตโดยใช้รหัส E88CC , E188CC , E288CC และสุดท้ายหายากและค่อนข้างแพงที่สุดคือ Cca โดยหลอด Cca ที่ได้รับความนิยมก็ผลิตมาจากเจ้าเก่า 2 รายคือ Telefunken และ Siemens Halske

มาดูหลอดที่ผมมีเก็บไว้บ้างครับ

Siemens & Halske Cca
ว่ากันว่าเป็นหลอดตระกูล 6DJ8 ที่เสียงดีที่สุดครับ หลอด Cca ของ Siemens มีอยู่ 2 แบบโดยต่างกันที่ electrostatic shield คือ gray shield และ silver shield โดย gray shield ที่ผลิตในช่วงปี 1960 จะถือว่าเป็นสุดยอด Cca ของ Siemens โดยหลอดในปีนี้จะใช้กล่องแบบเก่าที่มีสีเหลืองและตัวหนังสือที่หลอดจะมีสัญลักษณ์ของ Siemens & Halske อยู่ด้วย ส่วนรุ่นที่ผลิตปลายปี 1960 และช่วงปี 1970 จะใช้กล่องสีส้มที่หลอดจะพิมพ์แต่ยี่ห้อ Siemens โดยไม่มีสัญลักษณ์อยู่ด้วย โชคดีที่ผมมีรุ่น gray shield ปี 1960 ที่เขาว่ากันว่าดีที่สุดของ Cca ครับ

Telefunken Cca
เมื่อมี Siemens แล้วก็ต้องมี Telefunken มาต่อกร โดย Telefunken Cca นั้น เซียนๆชาวต่างชาติ ว่าไว้ว่าเสียงยังเป็นรอง Siemens รุ่น gray shield แต่ช้าก่อน เรื่องราคาของ Cca นั้น แพงที่สุดต้องเป็น Telefunken ครับ อาจเป็นเพราะผลิตน้อยกว่า หายากมากกว่า หรืออาจเป็นเพราะชื่อ Telefunken นั้นทำให้มันแพงนั้นผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ

เรื่องเสียงครับ ขอตอบตามตรงว่าไม่รู้ครับว่าหลอดไหนดีกว่า เพราะผมยังไม่มีอุปกรณ์ตัวใดเลยที่ทำออกมาเพื่อใช้กับมันเลย เคยแค่ลองเสียบกับ phono Audio Research PH-3 เพื่อเทียบกับ Mullard 6DJ8 แต่ก็เสียบฟังแค่ 2-3 เพลง ตัดสินอะไรยังไม่ได้ครับ ผมคงเก็บสะสมไว้ก่อนหากมีโอกาสค่อยทำอุปกรณ์เพื่อมาใช้กับมัน แล้วจะมารายงานเรื่องเสียงอีกครั้งครับ

Europe power tube ( DHT )

Power Triode

ผมมีหลอด power ประเภท DHT ทางฝั่งยุโรปอยู่บ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่ผมชอบเล่นหลอดที่เป็นหลอดที่ดูเหมือนจะอยู่ในระดับสุดยอด แต่หลอดที่ผมมีนั้นมันปลอมตัวมา ยังไม่ใช่ตัวจริงที่นิยมกันครับ แต่ตัวปลอมนี่แหละครับตื่นเต้นดี คนไม่ค่อยรู้จักเวลาไปบิดมักไม่มีคู่แข่ง แต่เท่าที่มีนี่ขนาดคนไม่ค่อยรู้จักราคาก็ไม่ถูกเลยนะครับ เพราะผมว่าตอนนี้ทางญี่ปุ่น เกาหลี นี่ศึกษาและเก็บดะไปหมด
ในหลอดที่มีอยู่บ้างนี้ผมเริ่มทยอยทำไปบ้างแล้ว และกำลังอยู่ในแผนที่จะทำมาฟังให้หมดทุกตัว ลองมาดูกันครับ

คู่แรก La Radiotechniques R120 ครับ
R120 มันคือ 2A3 ในภาค IDHT ครับ แต่ขอบอกว่าเสียงมันไม่ได้แพ้ 2A3 ที่เป็น DHT เลยครับ ( ความจริงผมไม่รู้หรอกครับว่าดีกว่าหรือสู้ 2A3 ไม่ได้เพราะผมไม่มี 2A3 ครับ จำพวก diy ญี่ปุ่นมาโม้ครับ ) R120 ที่เคยเห็นจะมีอยู่ 2 ยี่ห้อ คือ La
Radiotechniques และ Dario นอกจากนี้ในโครงสร้าง plate ก็จะมี 2 รุ่นคือรุ่นธรรมดาที่ผมมี กับแบบ mesh plate ซึ่งค่อนข้างจะหายากกว่าครับ


คู่ที่ 2 La Radiotechniques E406N
RT อีกแล้วครับคู่นี้ ถูกโฉลกกับยี่ห้อนี้จัง ถ้าบอกว่า E406N คงไม่ค่อยคุ้น แต่ถ้าบอกว่า RE604 ล่ะ คุ้นหรือยังครับ ผมดู spec แล้ว Rp สูงกว่า RE604 แต่มีฝรั่งนัก diy ชาวเยอรมันนั้นยืนยันคอเป็นเอ็นว่าแกเล่นเสียบแทน RE604 ดื้อๆ ( E406N มี version ที่ขาเป็นแบบ europe 4 pin เหมือนกับ RE604 ด้วยครับ ) แล้วเสียงเหมือนกันเปี๊ยบ ผมเลยอยากลองซักหน่อย เอาไว้ทำเสร็จคงได้รู้กันว่าเสียงจะเป็นอย่างไร


คู่ที่ 3 Phillips 4683
Phillips 4683 เป็นหลอด DHT จากค่าย Phillips หากบอกแค่เบอร์ อาจไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่ามันคือ AD1/350 ล่ะครับ รู้จักไหมครับ หลอดนี้มี spec ตรงกับ Telefunken AD1/350 ทุกประการครับ ยกเว้น spec ด้านราคามีค่าต่ำกว่าเยอะครับ


คู่ที่ 4 Tesla RD27AS
RD27AS เป็นหลอด DHT ที่ผลิตจาก Tesla เก่า คนละบริษัทกับ Tesla ในปัจจุบัน


ลองเล็งๆดู plate , ใส้หลอด และ grid ดีๆซิครับ เคยเห็นที่ไหนมาก่อนไหมครับ แล้วถ้าบอก spec ว่า Ua 600V , Ia 45 mA , ug -65V , s 7.5 mA/V , u 9.5 และ Ri 1265 โอหม์ ล่ะครับ พอจะจำได้ไหมครับ โอโห ถ้าจำได้นี่เก่งมากเลยครับ ใช่แล้ว PX-25 ครับ
Tesla มี PX-25 อยู่ 2 version คือ RD25A เป็น ทรง globe ที่มีหน้าตาเหมือน OSRAM PX-25 เปี๊ยบ และ RD27AS เป็นทรง tubular โดย RD27AS จะมี plate ที่ทนแรงดันได้สูงกว่า RD25A ซึ่งเป็นปกติเพราะ OSRAM เองก็มี 2 version เช่นกันครับ แต่คิดว่าเสียงคงไม่สามารถทาบ PX-25 ของจริงได้ แค่ได้ซัก 80% ก็พอใจแล้วครับ เอาไว้ลองทำเสร็จก็คงได้ทราบแนวเสียงครับ

Pink Floyd

Pink Floyd

ผมเป็นคนที่ชอบฟังเพลง และฟังหลากหลายแนว แต่อันดับหนึ่งของผมต้องนี่เลยครับ Pink Floyd วง Psychedelic rock จากอังกฤษในยุค 1970 ประกอบไปด้วยนักดนตรีหลัก 4 คนได้แก่ Roger Water , David Gilmour , Nick Mason และ Richard Wright แต่ในยุคก่อตั้งวงนั้นผู้นำจริงๆจะเป็น Syd Barrett แต่หลังจากออกอัลบัมแรกในนาม Pink Floyd ในชื่อชุด The Piper at the Gates of Dawn แล้ว Barrett ก็ป่วยทางจิต จนต้องแแยกวงออกไป หลังจากนั้นก็เป็นยุคของ Roger Water และถือเป็นยุคทองของ Pink Floyd โดยแท้ โดยได้ออกอัลบัมมาอีกเป็นจำนวนหลายอัลบัมแต่ที่โด่งดังที่สุดมี 3 ชุด ได้แก่ The Dark Side of the Moon , The Wall และ Wish You Were Here จนกระทั่งในที่สุด Roger Water ก็แยกตัวไป David Gilmour ขึ้นมา เป็นผู้นำวงได้ซักระยะหนึ่งก็แตกวงกันออกไปทำดนตรีในแนวที่แต่ละคนชอบแต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จเหมือนยุคที่อยู่รวมกัน

ลองมาดูแผ่น Pink Floyd ของผมที่มีบ้างครับ ผมมีไม่ครบทุกแผ่นของวงโดยผมจะทยอยไล่เก็บแต่ที่อยากได้จริงๆแล้วค่อยๆเก็บเพิ่มไปเรื่อยๆ แต่บางแผ่นผมจะไม่เก็บเลยครับ เช่น soundtrack เรื่อง More , The Great Dance Song , A Momentary Lapse of Reason เนื่องจากได้ฟัง cd แล้วไม่ชอบจริงๆ

Album : A Nice Pair ( 1973 )
เป็น Album ที่รวมเอาชุด The Piper at the Gates of Dawn ( 1967 ) และ The Saucerful of Secrets ( 1968 ) ซึ่งเป็น 2 อัลบัมแรกเข้าด้วยกัน โดยอัลบัม The Piper at the Gates of Dawn ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นตำรับของ Psychedelic rock ขนานแท้ ถ้าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Pink Floyd และ Psychedelic จะชอบอัลบัมนี้ที่สุด ส่วน The Saucerful of Secrets ก็เป็นอัลบัมที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แม้ Syd Barrett จะไม่ได้ทำอัลบัมนี้แต่ก็ยังได้อิทธิพลมาจากเขาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผมสองอัลบัมนี้ค่อนข้างหนักไปหน่อยครับ

Album : Relics ( 1971 )
เป็น Album รวมเอา singles ที่ออกในยุคแรกๆเข้าด้วยกัน เป็นรวมฮิตอัลบัมที่ถ้าไม่ใช่แฟนจริงๆก็ไม่น่าหามาเก็บสะสมซะให้ลำบากเปล่าๆ

Album : Atom Heart Mother ( 1970 )
เป็นอัลบัมอีกอัลบัมหนึ่งซึ่งผมไม่ค่อยชอบเท่าไรฟังแล้วมึนไม่รู้ว่าเขาจะสื่ออะไรกับเรา แต่แฟนๆ Pink Floyd จะบอกว่าอัลบัมนี้ดีมากครับ

Album : Meddle ( 1971 )
ถ้าเป็นแฟน Pink Floyd แผ่นนี้คือ must have ถ้าไม่ใช่แฟนก็ลองหามาฟังแล้วจะชอบ แต่ถ้าเป็นทั้งแฟน Pink Floyd แล้วก็เป็นแฟน Liverpool FC. ด้วยนี่ต้อง to die for เลยครับ ลองฟัง track Fearless แล้วจะรู้ว่าทำไมครับ สำหรับอัลบัมนี้ถ้าแค่ฟังเฉยๆอาจไม่ชอบมากแต่ถ้าได้ดู Live at Pompeii แล้วจะชอบอัลบัมนี้ยิ่งขึ้น

Album : The Dark Side of the Moon ( 1973 )
การเป็นสุดยอดอัลบัมที่ขายดีที่สุดตลอดกาล คงพอจะบอกได้ว่าอัลบัมนี้ดีแค่ไหน มันแสดงให้เห็นว่าแม้ไม่ใช่แฟน Pink Floyd หรือ Psychedelic rock ก็ยังมีบางส่วนชอบและฟังมัน ทุกวันนี้ก็ยังมีปั๊มแผ่นออกมาขายทั้ง vinyl และ cd และมีครบทุกฟอร์แมท ไพเราะทุกเพลงและที่ยิ่งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น track Time ครับ แต่สำหรับผมแล้วมันยิ่งใหญ่ทุกเพลง

Album : Wish You Were Here ( 1975 )
ชุดนี้เศร้าครับยังไมีมีแบบที่มี Obi เลย คงต้องหากันอีกต่อไป อัลบัมนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในสามอัลบัมยอดนิยมของ Pink Floyd แนวเพลงเป็น concept อัลบัม เพลงมีความต่อเนื่องกันทุกเพลงฟังเพลินๆเผลอแป๊ปเดี๋ยวก็จบทั้งอัลบัมแล้ว คุณภาพเสียงขึ้นชื่อว่า Pink Floyd แล้วรับประกันได้ว่าระดับตำนานครับ

Alubum : Amimals ( 1977 )
ตอนผมฟังแรกๆไม่เข้าใจ concept ผมก็คิดว่า วงนี้คงชอบใช้ sound effect แปลกๆเข้ามาประกอบเพลง ในอัลบัมนี้ก็เช่นกันเสียงสัตว์ต่างๆเต็มไปหมด ผมก็นึกไปว่าคงเป็น concept ที่เกี่ยวกับสัตว์ ต่อมาผมได้เจอนักฟังท่านหนึ่งได้อธิบายให้ผมฟังว่าจริงแล้วเป็นการนำเสนอให้เห็นว่าคนเรานั้นมีนิสัยอย่างไรโดยเอาสัตว์เข้ามาสื่อเปรียบเทียบ โอโห ผมนับถือเลยครับว่าศิลปินเหล่านี้ทำเพลงไม่ได้ทำแค่มั่วๆ ไปเท่านั้น สุดยอดครับ

Album : The Wall ( 1979 )
สุดยอดอัลบัมอีกอัลบัมหนึ่งของ Pink Floyd เป็นที่นิยมเป็นอันดับสองรองลงมาจาก The Dark Side of the Moon เป็นอัลบัมคู่ฟังกันอย่างจุใจ เล่าถึงเรื่องของเด็กที่เกิดมาแล้วถูกอิทธิพลของการศึกษาเข้าครอบงำอย่างไร นอกจากจะมีดนตรีและ sound effect ที่สุดยอดแล้ว เนื้อหาสาระก็ดีมากๆ ต้องหามาฟังให้ได้เลยครับชุดนี้

Album : The Final Cut ( 1983 )
เป็นอัลบัมในแนวต่อต้านสงคราม ตอนยุคนั้นเกิดสงครามฟอร์คแลนด์พอดี แล้วในอดีตพ่อของ Roger Water ก็ตายในสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เขาทำอัลบัมนี้ขึ้นมา เป็นอัลบัมที่มีเพลงดีๆหลายเพลงและฟังง่ายกว่าอัลบัมในยุคเก่าๆ และเป็นอัลบัมสุดท้ายที่มี Roger Water ร่วมอยู่ในวง หลังจากเขาจากไปแนวดนตรีของ Pink Floyd ก็ไม่เหมือนเดิมและก็เสื่อมความนิยมลงไปจนกระทั่งยุบวงในที่สุด


มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับแผ่นเสียงของ Pink Floyd อีกเล็กน้อยครับ จะเห็นว่าผมเก็บแต่แผ่น Pink Floyd ที่เป็นแผ่นญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว ตอนแรกก็เก็บไปเรื่อยนึกว่ามีแต่แบบมี Obi กับไม่มี Obi ( แถบที่รัดอยู่ที่แผ่นล่ะครับ ) ต่อมาจึงได้รู้ว่าแม้แต่แผ่นญี่ปุ่นเองยังมี ผลิตทั้งจาก EMI และ Odeon และยังมี 1st , 2nd release เข้าไปอีกทั้งคุณภาพและราคาก็ต่างกัน ตอนแรกก็ว่าจะไล่เก็บให้หมดแต่เห็นราคาแล้วเลิกคิดไปแล้วล่ะครับ บางแผ่นราคาอาจถึง 500 US$ ไม่ไหวครับ และยังมีแผ่นพวก hifi อีกเช่น dark side ชุด pro use , mobile fidelity และ wish you were here ชุด half speed ซึ่งก็มีราคาแพงเช่นกันครับ

นี่คือแผ่นที่ผมชอบที่สุดครับ Meddle ที่ผลิตโดย Odeon เสียงดีกว่าของ EMI จริงๆครับ ถ้าชอบชุดไหนจริงๆก็เก็บของ Odeon ไว้ครับไม่ผิดหวัง

ลองดูความยิ่งใหญ่ของ Pink Floyd ครับ สำหรับท่านที่คิดอยากสะสมแผ่น Pink Floyd ให้หมด ดูข้อมูลใน web นี้ก่อนแล้วคิดดูอีกทีครับยังไม่สายครับ
http://ourworld.compuserve.com/homepages/PFArchives/DiscTOC.htm

รายละเอียดเพิ่มเติมของ Pink Floyd ลองหาดูใน wikipedia ดูครับ