ที่มา
หลังจากผมไม่ประสบความสำเร็จในการทำแอมป์ VT64 หรือ เบอร์ 800 ไม่ว่าจะเอา 2C22 หรือ 8233 drive ( รายละเอียดตามโครงการเดิมอยู่แล้ว ) ตอนนี้ผมได้รับคำปรึกษาจากคุณฆฤณ ( Lnaudio ) ผมก็ได้ใช้วงจรภาค drive ใหม่ โดยใช้ 6FD7 มาใช้และได้ผลดีมากๆ จนผมคิดว่าคงจะเป็น final version ของผมแล้วคราวนี้
หลอด 6FD7 เป็นหลอด triode คู่ มี 2 sections ในหลอดเดียว ซีกหนึ่งเป็น high mu เกนขยาย 64 ส่วนอีกซีกเป็น low mu เกนขยาย 6 มีลักษณะคล้ายหลอด 6SL7 และ 2A3 ในหลอดเดียว นำมาทำแอมป์โดยใช้หลอดเดียวก็ได้ เอามาทำหลอด drive ก็ได้ผลดีมาก โดยเฉพาะเอามา drive พวกหลอด transmitting tube ที่ drive ยากๆทั้งหลาย เช่น 800 , 808 , 811A , 812A เป็นต้น ( เอามา drive 2A3 , 845 ก็น่าจะได้ผลดีนะครับ )
วงจร
ในครั้งนี้วงจรในส่วนหลอด output VT64 นั้นผมใช้ zero bias ให้หลอดทำงานทั้ง class A1 และ A2 กระแสประมาณ 37mA และ Vp ที่ 500V ใช้หม้อแปลง output ที่ 7K
ส่วนหลอด drive นั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าใช้หลอด 6FD7 แบบ R load สำหรับภาค high mu แล้วต่อแบบ direct coupling ไปที่ภาค low mu แล้วจึงต่อแบบ cathode follower เพื่อให้ได้ impedance ต่ำๆเพื่อที่จะ drive VT64 ได้ ( configuration แบบนี้จะเหมาะกับการใช้ drive หลอด output class A2 อย่างมาก )
สำหรับภาคจ่ายไฟผมได้เปลี่ยนหม้อแปลงให้มีแรงดันสูงขึ้นเป็น 420-0-420V ผ่านหลอด rectify 866A ผ่านวงจร filter แบบ CLC ธรรมดา ได้แรงดันขาออกประมาณ 500V ( สำหรับรูปในวงจรยังเป็น 420V ตามหม้อแปลงลูกเก่าซึ่งถูกนำไปใช้ในโครงการ 4683 อยู่ครับ )
สำหรับชุดจุดใส้หลอดของ VT64 ผมต้องใช้แบบ DC filter หลายตลบครับ ด้วยความที่เป็นหลอด DHT transmitting tube หากใครบอกว่าใช้ AC จุดใส้หลอดแล้วไม่ฮัมนี่ขอคารวะ 10 จอกเลยครับ ขนาด filter ซะขนาดนี้พอไม่ใส่ hum pot ยังฮัมกระจายเลย ทั้งที่ใช้ DC แล้วมันไม่น่าจะเป็นจะต้องใช้ hum pot เลย ส่วนหลอด 6FD7 ใช้ AC ธรรมดาก็ได้เพียงแต่ยกใส้หลอดขึ้นมาเพื่อไม่ให้ cathode to heater เกินค่าที่กำหนดไว้ด้วยเท่านั้น
แนวเสียง
คราวนี้เสียงมาครบแล้วครับ ทั้งปลายแหลมที่ไปได้ไกลมากทุ้มหนักแน่น แถมรายละเอียดเสียงก็มีเยอะมาก แถมยังนุ่มนวลสมกับเป็นหลอด DHT ฟังเพลงได้เพราะมากกับทุกแนว อีกทั้งเพลงร้องก็ดีมากๆเช่นกัน ค่อนข้างครบเครื่องเลยครับ ผมว่าเป็นหลอดที่ดีมากหลอดหนึ่งเลยครับ เสียตรงหายากและราคาสูงไปหน่อยสำหรับเจ้า VT64 หรือ 800 นี่ สรุปสั้นๆว่าสุดยอดครับ
Sunday, September 23, 2007
Phillips 4683 SE
ที่มา
ผมสนใจศึกษาและสะสมหลอดทางยุโรปมาระยะหนึ่งด้วยแนวคิดที่ว่ามันเป็นหลอดเบอร์แปลกๆที่คนไม่ค่อยรู้จัก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่เอามาใช้งานเล่น แถมจริงๆแล้วหลอดทางยุโรป ยังเป็นหลอดที่มีเสียงดีมากๆอีกด้วย รวมไปถึงมาตราฐานการผลิตที่ดีทำให้มีคุณภาพสูงใช้งานได้ไม่ค่อยมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนัก diy ชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมเล่นเป็นอย่างมาก แต่หลอดยุโรปเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าราคาจะถูกนัก อาจเป็นเพราะหายากแถมผมยังได้อ่านบทความพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลอดทางยุโรปเป็นจำนวนมากของเยอรมันถูกทำลายทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะมันเป็นอุปกรณ์ทางทหาร บางหลอดก็มีตราสวัสดิกะพิมพ์อยู่จึงถูกทำลายทิ้ง ราคาบางหลอดจึงแพงมหาโหดเช่นกัน
สำหรับหลอด Phillips 4683 นี้ จริงๆมันคือหลอด AD1/350 ซึ่งเป็น version high V ของหลอด AD1 ที่โด่งดังนั่นเอง ผมเห็น spec มันน่าสนใจ และราคายังถูกกว่า AD1 อยู่เล็กน้อย ว่ากันว่าทางอเมริกันมี 2A3 ทางยุโรปก็มี AD1 มาเชือด เช่นเดียวกับ 300B ก็มี PX-25 มาเบียด แถมราคา AD1 บางหลอดเช่น Ed ของ Siemens , Eb III , AD1 ของ Telefunken ราคายังสูงอย่างน่าพิศวง ผมจึงซื้อ 4683 มาทดลองใช้งานดู
ด้าน spec ของหลอด 4683 นี้ มันมี plate dissipation 15W จุดทำงานที่เหมาะสมคือ Vp 350V กระแส 35mA bias -65V ซึ่งจะได้กลังขับประมาณ 5-6W
สำหรับหลอด drive ในครั้งแรกผมต้องการใช้หลอด transmitting tube DHT มาใช้ตาม concept ของ Mr.Josh Stippich แห่ง Electro-Luv ที่นิยมเอาหลอดประเภทนี้มา drive หลอด DHT output พวก 2A3 อะไรทำนองนี้ ซึ่งในตอนแรกผมไปเจอหลอด 8025 ซึ่งมีหน้าตาน่ารักดีมี spec ตามที่ต้องการ ทำงานในช่วงแรงดันไฟ 300-400V มีเกนขยาย 30 เท่า กำลังดี แต่หลอดที่ผมซื้อมาดันเสีย ผมหาใหม่ก็ไม่ได้จึงเอาหลอด Western Electric VT-25 มา drive แทนเป็น version แรก และต่อมาจึงใช้ Amperex 8233 /E55L มา drive ใน version 2.
Version 1. 4683 drive by 10Y
อย่างที่บอกผมตั้งใจออกแบบตามแนวทางของ Josh Stippich ซึ่งใช้ 801A และ 826 drive 2A3 แล้วบอกว่าได้ผลดี ผมจึงลองทำดูบ้าง ตอนแรกพยายามใช้ 8025 แต่หลอดเสียไป 1 ข้างผมจึงใช้ VT-25 หรือ 10Y มาลองใช้แทนดู โดยทดลอง set 10Y ทั้งแบบ R load , choke load และ CCS load ทั้ง 3 แบบ เพื่อดูว่าแบบไหนจะเหมาะสม
ผมพบว่า choke load ผมติดปัญหา plate choke มีค่า inductance สูงไป และรับกระแสได้ต่ำไป คือได้แค่ 20mA ดังนั้นต้อง bias 10Y แค่ 18mA จึงพบว่าเสียงในแบบนี้มันจะมีแหลมที่ไปได้ไม่ไกลนัก มันไม่เป็นประกาย กรุ๊งกริ๊ง แต่เสียงกลางดีมาก เสียงทุ้มก็ใช้ได้ ส่วน R load ผมพบว่ามันจำเป็นต้องใช้ B+ สูงมากประมาณ 500-600V ถึงจะเหมาะในขณะที่หม้อแปลงผมทำได้เต็มที่แค่ 420V ทำให้หลอด 10Y ไม่อยู่ในจุดทำงานที่เหมาะสมเช่นกัน แนวเสียงจึงพอๆกับ choke load ประกอบกับเกนที่ต่ำมากทำให้เปิดได้เสียงเบามาก ต้องใช้ร่วมกับปรีที่มีเกนมากๆ ซึ่งผมก็ไม่มี ส่วน CCS load นั้นได้เสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้มากขึ้น เสียงแหลมดีขึ้น แต่เนื่องจาก chip CCS 10M45S ที่ผมใช้ดันมีปัญหากับแอมป์ตัวนี้ทั้งที่ผมใช้กับปรี Ce ก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่เครื่องนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งมันก็จะเกิดเสียงตุ๊บตั๊บออกมาซีกหนึ่งแก้เท่าไรก็ไม่หายผมจึงเลิกใช้
ต่อมาผมได้เอา Sylvania 210 ซึ่งเป็นเบอร์ 10 ซึ่งมีใส้หลอดเป็น tungsten และ plate เป็น graphite มาทดลองใช้ปรากฏว่าเสียงดีขึ้นมากทั้งแหลมและทุ้ม โดยที่เสียงกลางก็ยังดีเหมือนเดิม ผมแปลกใจมาก แต่ในที่สุดก็พบว่าด้วยเกนที่น้อยมากของมันทำให้ผมรำคาญที่จะต้องบิด volume ไปเยอะมาก จนผมต้องหาหลอดเบอร์อื่นมา drive แทนดู
Version 2. 4683 drive by 8233
หลังจากที่ผมเคยใช้ 8233 หรือ E55L ไป drive เบอร์ 800 แล้วไม่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึง 10Y มา drive 4683 ก็ยังได้ผลไม่ดีนัก ผมพบว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่จุดทำงานที่เหมาะสม เป็นหลักสำคัญ ดังนั้นตอนนี้ผมจึงออกแบบให้ 8233 ทำงานที่ 40-45mA และ Vp ประมาณ 180V นั่นหมายถึงประมาณ 3 เท่าของจุด bias ของ 4683 ( -65V ) ซึ่งจะทำให้ V swing ได้มากพอ ซึ่งเดิมผมไม่เคยคำนึงถึงมันเลย set bias ไปเรื่อย
หลอด 8233 นี้เป็นหลอด pentode ที่นิยมนำมาใช้เป็นหลอด drive หรือ ทำ spud amp กันมาก เป็นหลอด high gm ทำงานได้ดีในกระแสสูงๆ หาก set เป็น triode ว่ากันว่าเสียงจะคล้ายๆกับ WE 437A สุดยอดหลอดราคาแพงอีกเบอร์หนึ่ง โดยจะได้เกนประมาณ 30 เท่า กำลังดีสำหรับโปรเจคนี้ ต่อแบบ R load ธรรมดา ด้วย R plate 4.7K แต่เนื่องจากกระแสสูงมากทำให้ต้องใช้ R watt สูงๆซึ่งในกรณีนี้ผมจึงต้องใช้ R sink มาใช้งาน และต่อแบบ RC coupling ไปที่หลอด output ธรรมดาเลย
ในส่วนหลอด 4683 ก็ set จุดทำงานที่ 320V กระแส 35mA bias -65V แต่พวก R ที่คำนวนมาได้คือ 1.85K ไม่มีผมจึงใช้ 1.8K ซึ่งก็ใกล้เคียงกันเล็กน้อย ส่วนหม้อแปลง output ใช้ 3.5K
สำหรับภาคจ่ายไฟ ผมใช้แนวคิด ของ Josh ที่ใช้แต่ mercury vapor อย่างเดียว ผมจึงใช้หลอด 866AX ที่ผมมีมาใช้เหมือนกัน แถมเป็นเพราะหม้อแปลงผมเอามาจากโครงการเบอร์ 800 ( ซึ่งมีขดจุดใส้หลอดสำหรับหลอด rectify 866A อยู่แล้ว ) ที่ผมเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ทำให้เหลือมาใช้โครงการนี้พอดี เหมาะเหม็ง แต่ก็จำกัดหลอด drive ที่จะใช้อย่างที่ได้ว่ามา ภาค filter ก็ CLC ธรรมดาเช่นกัน
ส่วนการจุดใส้หลอดเนื่องจากกิตติศัพท์ของ AD1 ที่มีหลายคนบอกว่าฮัมมาก ผมจึงทำเป็น DC ไปซะเลยตั้งแต่แรก และ 8233 ที่เป็น indirect heat ผมก็ใช้ AC ธรรมดา ไม่ฮัมเลยครับ
แนวเสียง
Version 1.
เสียงกลางเด่นมากๆ แต่ปลายแหลมไปได้ไม่ไกลมากนัก ทุ้มดีมากๆ ฟังเพลงร้องดีมากๆ ผมคิดว่าในแนวคิดเช่นนี้ หลอด drive ควรมีใส้หลอดเป็น tungsten น่าจะแมชกันกับ DHT นี้มากกว่า oxide coat แบบ WE VT-25 หากในอนาคตผมหา 8025 ได้ผมก็จะลองเอามาใช้อีกครั้งหนึ่ง จริงๆแล้ว 826 ก็น่าสนใจ แต่ไฟจุดใส้หลอดกระแสสูงมากแถมอาจต้องใช้ B+ ที่สูงมากขึ้นจากเดิม ทำให้ผมคงไม่สามารถนำมาใช้ได้ นอกจากต้องเปลี่ยนหม้อแปลงกันอีก
Version 2.
ได้แหลมที่กระจ่างสดใส กรุ๊งกริ๊ง เพิ่มเข้ามา เสียงกลางก็ยังดีมากเช่นเดิม ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนวมากยิ่งขึ้น แต่ความหวานก็ลดลงไปบ้าง นับว่า 8233 เป็นหลอดที่เสียงดีพอสมควร นำมา drive DHT ได้ผลดีมาก แต่ต้องให้มันทำงานที่กระแสสูงๆเท่านั้นจึงจะได้ผลดี
ผมสนใจศึกษาและสะสมหลอดทางยุโรปมาระยะหนึ่งด้วยแนวคิดที่ว่ามันเป็นหลอดเบอร์แปลกๆที่คนไม่ค่อยรู้จัก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่เอามาใช้งานเล่น แถมจริงๆแล้วหลอดทางยุโรป ยังเป็นหลอดที่มีเสียงดีมากๆอีกด้วย รวมไปถึงมาตราฐานการผลิตที่ดีทำให้มีคุณภาพสูงใช้งานได้ไม่ค่อยมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนัก diy ชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมเล่นเป็นอย่างมาก แต่หลอดยุโรปเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าราคาจะถูกนัก อาจเป็นเพราะหายากแถมผมยังได้อ่านบทความพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลอดทางยุโรปเป็นจำนวนมากของเยอรมันถูกทำลายทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะมันเป็นอุปกรณ์ทางทหาร บางหลอดก็มีตราสวัสดิกะพิมพ์อยู่จึงถูกทำลายทิ้ง ราคาบางหลอดจึงแพงมหาโหดเช่นกัน
สำหรับหลอด Phillips 4683 นี้ จริงๆมันคือหลอด AD1/350 ซึ่งเป็น version high V ของหลอด AD1 ที่โด่งดังนั่นเอง ผมเห็น spec มันน่าสนใจ และราคายังถูกกว่า AD1 อยู่เล็กน้อย ว่ากันว่าทางอเมริกันมี 2A3 ทางยุโรปก็มี AD1 มาเชือด เช่นเดียวกับ 300B ก็มี PX-25 มาเบียด แถมราคา AD1 บางหลอดเช่น Ed ของ Siemens , Eb III , AD1 ของ Telefunken ราคายังสูงอย่างน่าพิศวง ผมจึงซื้อ 4683 มาทดลองใช้งานดู
ด้าน spec ของหลอด 4683 นี้ มันมี plate dissipation 15W จุดทำงานที่เหมาะสมคือ Vp 350V กระแส 35mA bias -65V ซึ่งจะได้กลังขับประมาณ 5-6W
สำหรับหลอด drive ในครั้งแรกผมต้องการใช้หลอด transmitting tube DHT มาใช้ตาม concept ของ Mr.Josh Stippich แห่ง Electro-Luv ที่นิยมเอาหลอดประเภทนี้มา drive หลอด DHT output พวก 2A3 อะไรทำนองนี้ ซึ่งในตอนแรกผมไปเจอหลอด 8025 ซึ่งมีหน้าตาน่ารักดีมี spec ตามที่ต้องการ ทำงานในช่วงแรงดันไฟ 300-400V มีเกนขยาย 30 เท่า กำลังดี แต่หลอดที่ผมซื้อมาดันเสีย ผมหาใหม่ก็ไม่ได้จึงเอาหลอด Western Electric VT-25 มา drive แทนเป็น version แรก และต่อมาจึงใช้ Amperex 8233 /E55L มา drive ใน version 2.
Version 1. 4683 drive by 10Y
อย่างที่บอกผมตั้งใจออกแบบตามแนวทางของ Josh Stippich ซึ่งใช้ 801A และ 826 drive 2A3 แล้วบอกว่าได้ผลดี ผมจึงลองทำดูบ้าง ตอนแรกพยายามใช้ 8025 แต่หลอดเสียไป 1 ข้างผมจึงใช้ VT-25 หรือ 10Y มาลองใช้แทนดู โดยทดลอง set 10Y ทั้งแบบ R load , choke load และ CCS load ทั้ง 3 แบบ เพื่อดูว่าแบบไหนจะเหมาะสม
ผมพบว่า choke load ผมติดปัญหา plate choke มีค่า inductance สูงไป และรับกระแสได้ต่ำไป คือได้แค่ 20mA ดังนั้นต้อง bias 10Y แค่ 18mA จึงพบว่าเสียงในแบบนี้มันจะมีแหลมที่ไปได้ไม่ไกลนัก มันไม่เป็นประกาย กรุ๊งกริ๊ง แต่เสียงกลางดีมาก เสียงทุ้มก็ใช้ได้ ส่วน R load ผมพบว่ามันจำเป็นต้องใช้ B+ สูงมากประมาณ 500-600V ถึงจะเหมาะในขณะที่หม้อแปลงผมทำได้เต็มที่แค่ 420V ทำให้หลอด 10Y ไม่อยู่ในจุดทำงานที่เหมาะสมเช่นกัน แนวเสียงจึงพอๆกับ choke load ประกอบกับเกนที่ต่ำมากทำให้เปิดได้เสียงเบามาก ต้องใช้ร่วมกับปรีที่มีเกนมากๆ ซึ่งผมก็ไม่มี ส่วน CCS load นั้นได้เสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้มากขึ้น เสียงแหลมดีขึ้น แต่เนื่องจาก chip CCS 10M45S ที่ผมใช้ดันมีปัญหากับแอมป์ตัวนี้ทั้งที่ผมใช้กับปรี Ce ก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่เครื่องนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งมันก็จะเกิดเสียงตุ๊บตั๊บออกมาซีกหนึ่งแก้เท่าไรก็ไม่หายผมจึงเลิกใช้
ต่อมาผมได้เอา Sylvania 210 ซึ่งเป็นเบอร์ 10 ซึ่งมีใส้หลอดเป็น tungsten และ plate เป็น graphite มาทดลองใช้ปรากฏว่าเสียงดีขึ้นมากทั้งแหลมและทุ้ม โดยที่เสียงกลางก็ยังดีเหมือนเดิม ผมแปลกใจมาก แต่ในที่สุดก็พบว่าด้วยเกนที่น้อยมากของมันทำให้ผมรำคาญที่จะต้องบิด volume ไปเยอะมาก จนผมต้องหาหลอดเบอร์อื่นมา drive แทนดู
Version 2. 4683 drive by 8233
หลังจากที่ผมเคยใช้ 8233 หรือ E55L ไป drive เบอร์ 800 แล้วไม่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึง 10Y มา drive 4683 ก็ยังได้ผลไม่ดีนัก ผมพบว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่จุดทำงานที่เหมาะสม เป็นหลักสำคัญ ดังนั้นตอนนี้ผมจึงออกแบบให้ 8233 ทำงานที่ 40-45mA และ Vp ประมาณ 180V นั่นหมายถึงประมาณ 3 เท่าของจุด bias ของ 4683 ( -65V ) ซึ่งจะทำให้ V swing ได้มากพอ ซึ่งเดิมผมไม่เคยคำนึงถึงมันเลย set bias ไปเรื่อย
หลอด 8233 นี้เป็นหลอด pentode ที่นิยมนำมาใช้เป็นหลอด drive หรือ ทำ spud amp กันมาก เป็นหลอด high gm ทำงานได้ดีในกระแสสูงๆ หาก set เป็น triode ว่ากันว่าเสียงจะคล้ายๆกับ WE 437A สุดยอดหลอดราคาแพงอีกเบอร์หนึ่ง โดยจะได้เกนประมาณ 30 เท่า กำลังดีสำหรับโปรเจคนี้ ต่อแบบ R load ธรรมดา ด้วย R plate 4.7K แต่เนื่องจากกระแสสูงมากทำให้ต้องใช้ R watt สูงๆซึ่งในกรณีนี้ผมจึงต้องใช้ R sink มาใช้งาน และต่อแบบ RC coupling ไปที่หลอด output ธรรมดาเลย
ในส่วนหลอด 4683 ก็ set จุดทำงานที่ 320V กระแส 35mA bias -65V แต่พวก R ที่คำนวนมาได้คือ 1.85K ไม่มีผมจึงใช้ 1.8K ซึ่งก็ใกล้เคียงกันเล็กน้อย ส่วนหม้อแปลง output ใช้ 3.5K
สำหรับภาคจ่ายไฟ ผมใช้แนวคิด ของ Josh ที่ใช้แต่ mercury vapor อย่างเดียว ผมจึงใช้หลอด 866AX ที่ผมมีมาใช้เหมือนกัน แถมเป็นเพราะหม้อแปลงผมเอามาจากโครงการเบอร์ 800 ( ซึ่งมีขดจุดใส้หลอดสำหรับหลอด rectify 866A อยู่แล้ว ) ที่ผมเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ทำให้เหลือมาใช้โครงการนี้พอดี เหมาะเหม็ง แต่ก็จำกัดหลอด drive ที่จะใช้อย่างที่ได้ว่ามา ภาค filter ก็ CLC ธรรมดาเช่นกัน
ส่วนการจุดใส้หลอดเนื่องจากกิตติศัพท์ของ AD1 ที่มีหลายคนบอกว่าฮัมมาก ผมจึงทำเป็น DC ไปซะเลยตั้งแต่แรก และ 8233 ที่เป็น indirect heat ผมก็ใช้ AC ธรรมดา ไม่ฮัมเลยครับ
แนวเสียง
Version 1.
เสียงกลางเด่นมากๆ แต่ปลายแหลมไปได้ไม่ไกลมากนัก ทุ้มดีมากๆ ฟังเพลงร้องดีมากๆ ผมคิดว่าในแนวคิดเช่นนี้ หลอด drive ควรมีใส้หลอดเป็น tungsten น่าจะแมชกันกับ DHT นี้มากกว่า oxide coat แบบ WE VT-25 หากในอนาคตผมหา 8025 ได้ผมก็จะลองเอามาใช้อีกครั้งหนึ่ง จริงๆแล้ว 826 ก็น่าสนใจ แต่ไฟจุดใส้หลอดกระแสสูงมากแถมอาจต้องใช้ B+ ที่สูงมากขึ้นจากเดิม ทำให้ผมคงไม่สามารถนำมาใช้ได้ นอกจากต้องเปลี่ยนหม้อแปลงกันอีก
Version 2.
ได้แหลมที่กระจ่างสดใส กรุ๊งกริ๊ง เพิ่มเข้ามา เสียงกลางก็ยังดีมากเช่นเดิม ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนวมากยิ่งขึ้น แต่ความหวานก็ลดลงไปบ้าง นับว่า 8233 เป็นหลอดที่เสียงดีพอสมควร นำมา drive DHT ได้ผลดีมาก แต่ต้องให้มันทำงานที่กระแสสูงๆเท่านั้นจึงจะได้ผลดี
EL156SE ultra linear mode
ที่มา
เดิมผมได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด Telefunken EL156 ซึ่งเป็น beam pentode ที่ค่อนข้างโด่งดังของฝั่งยุโรป โดยเดิมผมทำแยกแท่นเป็นหม้อแปลง power และ แอมป์ ออกจากกัน ต่อมาผมแยกแท่นหม้อแปลง output ออกไปอีกทำให้แอมป์ตัวนี้เวลาใช้ต้องมีถึง 4 แท่นเวลายกไปไหนมาไหน ยุ่งยากลำบากพิลึก ผมจึงกะทำแท่นใหม่ให้มันซะ แต่กะว่ายังใช้วงจรและอุปกรณ์แบบเดิมๆอยู่
วงจร
ในส่วนวงจรอย่างที่ว่าผมยังอยากให้เป็นเหมือนเดิม คือยังคงใช้หลอด C3m เป็นหลอด drive และยังคงใช้ triode mode ทั้ง C3m และ EL156 แต่ในส่วนของภาคจ่ายไฟมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เดิมใช้ choke input แล้วมีปัญหาโช๊คสั่น ผมจึงเปลี่ยนเป็น C input คราวนี้จึงลด choke ลงไปตัวหนึ่งเหลือ filter เป็น RCLCRC โดยต้องใช้ R drop มากหน่อยเพราะหม้อแปลงทำมาไฟสูงพอสมควร แต่หลอด rectify ยังคงเป็น EZ150 เหมือนเดิม แต่ที่สำคัญผมได้เพิ่ม fuse ขนาด .5A หลังหลอด rectify เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายของหลอด rectify ที่หายากและราคาสูงนี้ในกรณีที่ C รั่ว หรือสายไฟช๊อตลงกราวน์ fuse ตัวนี้ก็จะขาดก่อนนับว่าสำคัญมากในกรณีที่ใช้หลอดสำหรับ rectify
ในส่วนหลอด drive เดิมตอนผมเอาไปทดลองต่อกับ passive pre amp ของคนอื่นนั้น พบว่าเกนใน triode mode มันน้อยไปเสียงที่ได้ขาดพลังอย่างมาก ผมจึงได้ทดลองหลอด C3m แบบ pentode mode แต่พอทำเสร็จแล้วลองต่อผ่านปรี #26 ของผมเสียงฮัมของปรีแอมป์ก็ดังชัดเจนเพราะเกนหลอด drive มันมากเกินไป พอเปลี่ยนกลับมาเป็น triode เหมือนเดิม มันก็เงียบสนิท จึงอดใช้ pentode อีกตามเคย
ด้านหลอด output EL156 นั้น ผมได้ทำ switch เพื่อเลือก mode ของ EL156 เป็น triode หรือ ultra linear mode เพื่อลองฟังดูว่าแต่ละ mode เสียงเป็นอย่างไร
และเนื่องมาจากการ set mode เป็น ultra linear นี่เองทำให้ผมต้องใส่ r grid stopper เข้าไปที่หลอด EL156 เนื่องจากการทำงานใน ultra linear ของหลอดพวกนี้จะเกิด oscillate ได้ง่ายกว่า triode mode ธรรมดา
ในการทำแอมป์ตัวนี้เนื่องจากขนาดแท่นที่เล็กลงผมจึงตัดส่วนของหลอด EM11 ซึ่งใช้สำหรับ monitor สัญญานออกไป และเนื่องจาก R drop ในภาคจ่ายไฟที่ร้อนมากผมจึงต้องเจาะรูที่แท่นแอมป์ไว้เป็นจำนวนมาก และหลังจากทำเสร็จผมก็รู้สึกผิดหวังกับหน้าตาของมัน มันไม่ลงตัวยังไงไม่รู้ แท่นมันคงเล็กเกินไปในขณะที่หม้อแปลงมันใหญ่มาก ดูขาดๆเกินๆยังไงไม่รู้ เฮ้อ
แนวเสียง
มันก็ยังคงเหมือนเดิม แนวเสียงยังคงเป็นแบบเน้นรายละเอียดเสียง ความกระฉับกระเฉงและพลังที่มากของหลอดในแนว beam pentode ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนว และเมื่อผมเปลี่ยนมาเป็น mode ultra linear ผมว่าเสียงน่าฟังยิ่งขึ้น มีรายละเอียดและเสียงมันดู clear ขึ้นกว่าเดิม คิดว่ากำลังก็มากขึ้นกว่าเดิมแต่ผมฟังในห้องที่มีพื้นที่จำกัด เปิดดังมากไม่ได้และไม่มีเครื่องมือวัดด้วยจึงไม่ทราบว่ามันได้กำลังเพิ่มขึ้นกี่ % ส่วนตัวผมคิดว่า mode นี้เหมาะกับหลอดตระกูลนี้มากครับ ผมชอบมากกว่า triode mode ธรรมดาครับ ลองไปทำกันดูคุณอาจชอบเหมือนผมก็ได้ครับ
Pentode mode
ในที่สุดผมก็ทนความอยากรู้อยากเห็นเรื่องหลอด drive ใน pentode mode ไม่ได้ เนื่องจากเกนมันมากเกินไปที่จะใช้ร่วมกับปรีที่ผมมี ดังนั้นผมจึงใส่ volume 100K เข้าไปแทน R 47K ที่ grid ของหลอด C3m ตอนนี้แอมป์ตัวนี้ก็กลายเป็น Integrated amp ไปซะแล้ว ผมสามารถต่อกับ CD โดยตรงได้เลย
ผมได้ทดลองฟัง C3m pentode mode ได้ 1 วันเต็มๆ ผมก็รู้สึกว่าเสียงมันจะสดใสจัดจ้านมาก แม้ผมจะต่อผ่านปรี Ce ซึ่งคราวนี้สามารถต่อได้แล้วเพราะลด volume ที่แอมป์ลงมาเสียงฮัมก็จะน้อยจนไม่ได้ยิน แล้วใช้ปรับ volume ที่ปรีแทน คราวนี้ผมก็สามารถเปรียบเทียบกับ triode mode ได้ โดยความรู้สึกส่วนตัว ผมกลับชอบ C3m triode mode มากกว่า ผมว่ามันมีรายละเอียดดีและฟังผ่อนคลายกว่า pentode mode ซึ่งมันจะ aggressive กว่ามากจนรู้สึกว่าฟังแล้วมันจัดจ้านไปหน่อย ผมเดาเอาว่า C3m นี้ถ้าใช้ร่วมกับแอม์ประเภท DHT ที่เสียงจะนุ่มนวล speed ช้าๆนั้น pentode อาจจะเหมาะสมเพราะมันน่าจะเสริมกันได้ดี แต่พอมาใช้กับหลอดพวก beam pentode อย่างตระกูล ELxx อย่าง EL156 นี่อาจจะทำให้มันจัดจ้านไป ฟังแล้วไม่ค่อยจะผ่อนคลายเท่าไร ในกรณีนี้ triode mode จะเหมาะกว่า
ด้วยข้อสันนิษฐาน แบบคาดเดาอย่างนี้ทำให้ผมอยากเอาหลอด pentode ที่มันโบราณกว่าพวก C3m มาทดลองกับ EL156 ดูว่ามันจะเข้ากันกว่าหรือไม่ เพราะผมเคยใช้หลอดตระกูล EF12 กับหลอด F2a ซึ่งเป็น beam tetrode แล้วได้ผลค่อนข้างดี แถม EL156 นั้นก็เป็นหลอดที่ขับง่าย ใช้หลอดพวก pentode ที่เก่าๆกระแสต่ำๆพวกนี้น่าจะพอไหว และผมก็เคยเห็นวงจรแอมป์สมัยโบราณของเยอรมัน ที่ใช้หลอด EL156 นั้นใช้หลอด EF40 ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ EF12 อยู่ด้วย ดังนั้นมือไวเท่าความคิด ผมก็ทำการทดลองเปลี่ยนหลอด drive ของแอมป์ตัวนี้ทันที ด้วยความที่ผมได้ทำขดจุดใส้หลอด 6.3V2A เผื่อไว้อยู่แล้ว และแท่นแอมป์ใหม่นี้ก็เจาะช่อง socket ไว้แบบ 2 ชั้นอยู่แล้ว ผมก็แค่ทำที่ยึด socket ใต้แท่นใหม่สำหรับ socket ของ EF12 ซึ่งเป็นแบบ 8P เข้าไป ผมก็สามารถทดลองหลอด EF12 มา drive ได้เลย
เดิมผมได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด Telefunken EL156 ซึ่งเป็น beam pentode ที่ค่อนข้างโด่งดังของฝั่งยุโรป โดยเดิมผมทำแยกแท่นเป็นหม้อแปลง power และ แอมป์ ออกจากกัน ต่อมาผมแยกแท่นหม้อแปลง output ออกไปอีกทำให้แอมป์ตัวนี้เวลาใช้ต้องมีถึง 4 แท่นเวลายกไปไหนมาไหน ยุ่งยากลำบากพิลึก ผมจึงกะทำแท่นใหม่ให้มันซะ แต่กะว่ายังใช้วงจรและอุปกรณ์แบบเดิมๆอยู่
วงจร
ในส่วนวงจรอย่างที่ว่าผมยังอยากให้เป็นเหมือนเดิม คือยังคงใช้หลอด C3m เป็นหลอด drive และยังคงใช้ triode mode ทั้ง C3m และ EL156 แต่ในส่วนของภาคจ่ายไฟมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เดิมใช้ choke input แล้วมีปัญหาโช๊คสั่น ผมจึงเปลี่ยนเป็น C input คราวนี้จึงลด choke ลงไปตัวหนึ่งเหลือ filter เป็น RCLCRC โดยต้องใช้ R drop มากหน่อยเพราะหม้อแปลงทำมาไฟสูงพอสมควร แต่หลอด rectify ยังคงเป็น EZ150 เหมือนเดิม แต่ที่สำคัญผมได้เพิ่ม fuse ขนาด .5A หลังหลอด rectify เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายของหลอด rectify ที่หายากและราคาสูงนี้ในกรณีที่ C รั่ว หรือสายไฟช๊อตลงกราวน์ fuse ตัวนี้ก็จะขาดก่อนนับว่าสำคัญมากในกรณีที่ใช้หลอดสำหรับ rectify
ในส่วนหลอด drive เดิมตอนผมเอาไปทดลองต่อกับ passive pre amp ของคนอื่นนั้น พบว่าเกนใน triode mode มันน้อยไปเสียงที่ได้ขาดพลังอย่างมาก ผมจึงได้ทดลองหลอด C3m แบบ pentode mode แต่พอทำเสร็จแล้วลองต่อผ่านปรี #26 ของผมเสียงฮัมของปรีแอมป์ก็ดังชัดเจนเพราะเกนหลอด drive มันมากเกินไป พอเปลี่ยนกลับมาเป็น triode เหมือนเดิม มันก็เงียบสนิท จึงอดใช้ pentode อีกตามเคย
ด้านหลอด output EL156 นั้น ผมได้ทำ switch เพื่อเลือก mode ของ EL156 เป็น triode หรือ ultra linear mode เพื่อลองฟังดูว่าแต่ละ mode เสียงเป็นอย่างไร
และเนื่องมาจากการ set mode เป็น ultra linear นี่เองทำให้ผมต้องใส่ r grid stopper เข้าไปที่หลอด EL156 เนื่องจากการทำงานใน ultra linear ของหลอดพวกนี้จะเกิด oscillate ได้ง่ายกว่า triode mode ธรรมดา
ในการทำแอมป์ตัวนี้เนื่องจากขนาดแท่นที่เล็กลงผมจึงตัดส่วนของหลอด EM11 ซึ่งใช้สำหรับ monitor สัญญานออกไป และเนื่องจาก R drop ในภาคจ่ายไฟที่ร้อนมากผมจึงต้องเจาะรูที่แท่นแอมป์ไว้เป็นจำนวนมาก และหลังจากทำเสร็จผมก็รู้สึกผิดหวังกับหน้าตาของมัน มันไม่ลงตัวยังไงไม่รู้ แท่นมันคงเล็กเกินไปในขณะที่หม้อแปลงมันใหญ่มาก ดูขาดๆเกินๆยังไงไม่รู้ เฮ้อ
แนวเสียง
มันก็ยังคงเหมือนเดิม แนวเสียงยังคงเป็นแบบเน้นรายละเอียดเสียง ความกระฉับกระเฉงและพลังที่มากของหลอดในแนว beam pentode ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนว และเมื่อผมเปลี่ยนมาเป็น mode ultra linear ผมว่าเสียงน่าฟังยิ่งขึ้น มีรายละเอียดและเสียงมันดู clear ขึ้นกว่าเดิม คิดว่ากำลังก็มากขึ้นกว่าเดิมแต่ผมฟังในห้องที่มีพื้นที่จำกัด เปิดดังมากไม่ได้และไม่มีเครื่องมือวัดด้วยจึงไม่ทราบว่ามันได้กำลังเพิ่มขึ้นกี่ % ส่วนตัวผมคิดว่า mode นี้เหมาะกับหลอดตระกูลนี้มากครับ ผมชอบมากกว่า triode mode ธรรมดาครับ ลองไปทำกันดูคุณอาจชอบเหมือนผมก็ได้ครับ
Pentode mode
ในที่สุดผมก็ทนความอยากรู้อยากเห็นเรื่องหลอด drive ใน pentode mode ไม่ได้ เนื่องจากเกนมันมากเกินไปที่จะใช้ร่วมกับปรีที่ผมมี ดังนั้นผมจึงใส่ volume 100K เข้าไปแทน R 47K ที่ grid ของหลอด C3m ตอนนี้แอมป์ตัวนี้ก็กลายเป็น Integrated amp ไปซะแล้ว ผมสามารถต่อกับ CD โดยตรงได้เลย
ผมได้ทดลองฟัง C3m pentode mode ได้ 1 วันเต็มๆ ผมก็รู้สึกว่าเสียงมันจะสดใสจัดจ้านมาก แม้ผมจะต่อผ่านปรี Ce ซึ่งคราวนี้สามารถต่อได้แล้วเพราะลด volume ที่แอมป์ลงมาเสียงฮัมก็จะน้อยจนไม่ได้ยิน แล้วใช้ปรับ volume ที่ปรีแทน คราวนี้ผมก็สามารถเปรียบเทียบกับ triode mode ได้ โดยความรู้สึกส่วนตัว ผมกลับชอบ C3m triode mode มากกว่า ผมว่ามันมีรายละเอียดดีและฟังผ่อนคลายกว่า pentode mode ซึ่งมันจะ aggressive กว่ามากจนรู้สึกว่าฟังแล้วมันจัดจ้านไปหน่อย ผมเดาเอาว่า C3m นี้ถ้าใช้ร่วมกับแอม์ประเภท DHT ที่เสียงจะนุ่มนวล speed ช้าๆนั้น pentode อาจจะเหมาะสมเพราะมันน่าจะเสริมกันได้ดี แต่พอมาใช้กับหลอดพวก beam pentode อย่างตระกูล ELxx อย่าง EL156 นี่อาจจะทำให้มันจัดจ้านไป ฟังแล้วไม่ค่อยจะผ่อนคลายเท่าไร ในกรณีนี้ triode mode จะเหมาะกว่า
ด้วยข้อสันนิษฐาน แบบคาดเดาอย่างนี้ทำให้ผมอยากเอาหลอด pentode ที่มันโบราณกว่าพวก C3m มาทดลองกับ EL156 ดูว่ามันจะเข้ากันกว่าหรือไม่ เพราะผมเคยใช้หลอดตระกูล EF12 กับหลอด F2a ซึ่งเป็น beam tetrode แล้วได้ผลค่อนข้างดี แถม EL156 นั้นก็เป็นหลอดที่ขับง่าย ใช้หลอดพวก pentode ที่เก่าๆกระแสต่ำๆพวกนี้น่าจะพอไหว และผมก็เคยเห็นวงจรแอมป์สมัยโบราณของเยอรมัน ที่ใช้หลอด EL156 นั้นใช้หลอด EF40 ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ EF12 อยู่ด้วย ดังนั้นมือไวเท่าความคิด ผมก็ทำการทดลองเปลี่ยนหลอด drive ของแอมป์ตัวนี้ทันที ด้วยความที่ผมได้ทำขดจุดใส้หลอด 6.3V2A เผื่อไว้อยู่แล้ว และแท่นแอมป์ใหม่นี้ก็เจาะช่อง socket ไว้แบบ 2 ชั้นอยู่แล้ว ผมก็แค่ทำที่ยึด socket ใต้แท่นใหม่สำหรับ socket ของ EF12 ซึ่งเป็นแบบ 8P เข้าไป ผมก็สามารถทดลองหลอด EF12 มา drive ได้เลย
EL156SE drive ด้วย EF12K pentode mode ( click ที่รูปเพื่อขยาย )
ผลสรุปของการ drive ด้วย EF12K pentode mode ผมพบว่าได้ผลดีกว่า C3m pentode mode ครับ เสียงมีรายละเอียดดีเช่นกันแต่ไม่ aggressive ฟังสบายผ่อนคลายกว่ามาก แนวเสียงแม้จะสดใสกระฉับกระเฉง แต่ก็ยังนุ่มนวลน่าฟัง ไม่แข็งกระด้าง ได้เกนน้อยกว่าทำให้เสียงเบากว่าทั้งที่จากการคำนวน C3m ที่ผม set มันจะได้เกนที่ 70 แต่ EF12 นั้นจะอยู่ที่ 100 เท่า แต่ทำออกมาแล้วกลายเป็นว่า C3m เสียงดังกว่าเมื่อบิด volume เท่ากัน อย่างไรก้ดีผมยังไม่ได้ทดลอง EF12K ใน triode mode ซึ่งว่างๆจะลองดูอีกทีว่าแนวเสียงจะเป็นอย่างไร สู้ C3m ได้หรือไม่ แต่ถ้าสรุปเอาเฉพาะ pentode นั้นสำหรับส่วนตัวผมแล้วผมคิดว่า EF12 เข้ากันกับ EL156 มากกว่า C3m แต่หากเอาไป drive พวก DHT ตระกูล 2A3 , 300B อะไรพวกนี้ C3m น่าจะเข้ากันได้ดีกว่า EF12 ครับแต่ผมก็ยังไม่เคยลองเลย คงต้องหาโอกาสลองดูซักครั้งเร็วๆนี้
ปล. พอผม set หลอด drive เป็น pentode ก็ปรากฏว่าพอผมจะใช้ EL156 เป็น ultra linear mode มันก็ดัน oscillate ซะนี่ ผมได้ทดลองเพิ่ม r grid 2 ให้มากขึ้นเป็น 1.2K แล้วก็ยังไม่หาย สุดท้ายจึงได้พบว่าใน ultra linear mode นี้หากเกนขยายมากเกินไปอาจเกิดปัญหา oscillate หรือหลอดทำงานผิดปกติได้ ผมแก้ปัญหาโดยการถอด C cathode bypass ของ EL156 ออก มันก็สามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่ผมคิดว่าบุคคลิคของเสียงก็เปลี่ยนไปด้วย ผมชอบแบบมี C bypass นี้มากกว่าแต่ด้วยความอยากฟัง Ultra linear นี้ก็ต้องยอมล่ะครับ ซึ่งผมก็ยังงงอยู่ไม่หายเพราะเห็นใครๆเขาก็ใช้ C bypass นี้กันได้ไม่มีปัญหา ยังคิดวิเคราะห์อะไรไม่ออกครับว่าทำไมผมต้องเจอปัญหาอาการอะไรแปลกๆให้ปวดหัวเล่นอยู่เรื่อย สนุกไปอีกแบบล่ะครับ
ปล. พอผม set หลอด drive เป็น pentode ก็ปรากฏว่าพอผมจะใช้ EL156 เป็น ultra linear mode มันก็ดัน oscillate ซะนี่ ผมได้ทดลองเพิ่ม r grid 2 ให้มากขึ้นเป็น 1.2K แล้วก็ยังไม่หาย สุดท้ายจึงได้พบว่าใน ultra linear mode นี้หากเกนขยายมากเกินไปอาจเกิดปัญหา oscillate หรือหลอดทำงานผิดปกติได้ ผมแก้ปัญหาโดยการถอด C cathode bypass ของ EL156 ออก มันก็สามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่ผมคิดว่าบุคคลิคของเสียงก็เปลี่ยนไปด้วย ผมชอบแบบมี C bypass นี้มากกว่าแต่ด้วยความอยากฟัง Ultra linear นี้ก็ต้องยอมล่ะครับ ซึ่งผมก็ยังงงอยู่ไม่หายเพราะเห็นใครๆเขาก็ใช้ C bypass นี้กันได้ไม่มีปัญหา ยังคิดวิเคราะห์อะไรไม่ออกครับว่าทำไมผมต้องเจอปัญหาอาการอะไรแปลกๆให้ปวดหัวเล่นอยู่เรื่อย สนุกไปอีกแบบล่ะครับ
All Telefunken tube EZ150 , EL156 and EF12K
PSU แบบ Semi choke input
PSU แบบ Semi choke input
ในตอนที่ผมเปิดใช้งานแอมป์ตัวนี้ไปซักระยะหนึ่ง ผมก็รู้สึกว่ามันร้อนมากๆอันเนื่องมาจาก R drop ของผมมันสร้าง heat รวมกันเป็น 10W จนชักวิตกกังวลว่ามันจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องมันเจ๊งเร็วกว่าปกติ ผมจึงแก้ไขภาคจ่ายไฟจากเดิม C input เป็น semi choke input ซึ่งก็เป็นแบบเดิมที่ผมใช้ในแอมป์ตัวนี้ตอนที่มันอยู่กับแท่นเดิมตั้งแต่เริ่มแรก ผมก็ถอด C 6uF ออกเปลี่ยนเป็น 1uF แล้วเปลี่ยน choke 10H 250mA เป็น 5H 300mA ตัวเดิมปรับเปลี่ยน RC filter อีกเล็กน้อย ตอนนี้ก็ได้ชุดจ่ายไฟใหม่แรงดันลดลงไปหน่อยแต่ไม่ร้อนอีกแล้ว คราวนี้นั่งฟังด้วยความสบายใจ แถมผมยังรู้สึกว่าเสียงมันกระชับและมี dynamic ดีกว่า C input ซะอีก ตอนนี้เสียงดีกว่าเดิมมากเลยครับ ไม่รู้ในอนาคตจะหาเรื่องเปลี่ยนอะไรตามประสาคนมือบอนอยู่ไม่สุขอีกหรือไม่
Saturday, September 22, 2007
My new R120 SE
R120SE drive by EF40 and ML-6
ที่มา
หลังจากได้ทำ แอมป์ SE ที่ใช้หลอด La Radiotechniques R120 มาได้ระยะหนึ่ง ผมก็ได้ทำแอมป์ตัวอื่นๆอีก 2-3 เครื่อง ได้สั่งสมประสบการณ์ในการออกแบบและทำแอมป์เพิ่มขึ้นพอสมควร จนกระทั่งวันหนึ่งผมจึงนำแอมป์ R120SE ตัวเดิมมาฟังและเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนแท่นมันใหม่ให้ดูดีขึ้นเพราะแท่นเดิมเริ่มดูโบ๋ๆหลังจากที่ถูกถอดเอาหม้อแปลง output ออกไป และไหนๆก็จะทำใหม่แล้วผมก็เลยออกแบบชุด drive มันใหม่ไปด้วยซะเลย
เดิม R120SE ของผมเริ่มจากใช้ CV-1988 หรือ 6SN7 drive ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น C3m , EL84 และ ML-6 drive ตามลำดับ นับเป็นแอมป์ตัวเดียวที่ผมชอบแก้ไขเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เรื่อย ดังนั้นในครั้งนี้ผมจึงทำแท่นให้สามารถเปลี่ยนหลอด drive ได้ง่ายๆ โดยทำช่องใส่ socket เป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนเจาะช่องกลมใหญ่ขนาด 45 mm และใต้มันก็จะเป็นแผ่นยึด socket ขยาด 8x8 cm ยึด socket แล้วค่อยยึดเข้าแท่นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนหลอดที่ใช้ socket ไม่เหมือนเดิมผมก็แค่เปลี่ยนแผ่นยึด socket นี้ทำให้ไม่ต้องเจาะช่องใหม่บนแท่นเดิม ซึ่งสะดวกดีและทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้นด้วย ลองดูที่รูปแล้วกันครับ สำหรับแท่นใหม่นี้ก็เป็นแท่นไม้ที่มีแผ่นด้านบนเป็นอลูมิเนียม ดูสวยงามดีไปอีกแบบหนึ่งครับ
วงจร
ในส่วนวงจรคราวนี้ผมตั้งใจจะใช้หลอด pentode drive ดูอีกซักครั้ง เพราะคิดว่าหลอด pentode เมื่อนำมาใช้ drive พวกหลอด output ที่มีเสียงหวานๆช้าๆอย่าง R120 น่าจะไปด้วยกันได้ดี ผมจึง drive ด้วยหลอด Siemens EF40 ที่ผมมีเก็บไว้ หลอด EF40 นี้เป็นหลอดในยุคเก่าพัฒนามาจากหลอด EF12 ก่อนที่จะพัฒนาต่อไปเป็น EF86 ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีโครงสร้างและ specification เหมือนกับ EF86 เลยต่างกันเพียง socket ที่เป็นแบบ rimlock แทนที่จะเป็น 9 pin miniature ธรรมดา และเพื่อให้มันมี impedance ต่ำๆสำหรับ R120 ผมจึงใช้หลอด ML-6 มาต่อแบบ direct coupling ก่อนที่จะต่อแบบ cathode follower ไปที่หลอด R120 ซึ่งเป็นหลอด output อีกทีหนึ่ง
แต่เดิมผมต้องการ set EF40 ให้เป็น pentode แต่เมื่อใช้งานผมพบว่าเกนมันเยอะมากทำให้ได้ยินเสียงฮัมของปรีแอมป์อย่างชัดเจน ผมไม่ชอบใช้แบบ integrated amp โดยการใส่ volume เข้าไปแล้วต่อตรงจาก cd ผมจึงลดเกนของมันโดยเปลี่ยนหลอด EF40 ให้เป็น triode mode ซะ พอเสร็จใช้งานก็พบว่าไม่ฮัมไม่จี่ให้รำคาญใจ
ในส่วนภาคจ่ายไฟผมก็ใช้วงจรแบบเดิมและอุปกรณ์ชุดเดิมซึ่งก็ยังใช้งานได้อย่างเหมาะสมอยู่ โดยใช้หลอด AZ12 เป็นหลอด rectify ส่วน filter ใช้ CLC ธรรมดา โดย C ตัวแรกเป็นแบบ oil เพื่อหวังว่าเสียงมันจะได้นุ่มนวล ได้ไฟ B+ ประมาณ 280V จ่ายไปยัง EF40 , ML-6 และ R120 ทุกหลอดโดยไม่ต้อง drop แรงดันลงเลย ในส่วนแรก EF40 ที่ run แบบ triode mode นั้น ใช้ วงจรแบบ R load ธรรมดา ที่กระแส 1.3mA Vp 136V ใน stage ที่ 2 เป็นหลอด ML-6 เมื่อต่อแบบ direct coupling มา แรงดันที่ cathode , plate จึงสูงมาก เมื่อผม bias 8V มันจึงทำให้ V ที่ cathode เทียบกราวน์เป็น 144V ทำให้ R cathode มีค่าเยอะตามไปด้วย ตามที่ออกแบบก็จะเป็น 9K10W จึงหา R cathode ยากหน่อยผมจึงใช้ R 18K5W 2 ตัวมาขนานกันเพื่อใช้งาน ในส่วนสุดท้ายผมต่อแบบ cathode follower เพราะไม่ต้องการกำลังขยายแล้วแต่ต้องการ impedance ภาต drive ที่ต่ำๆแทน เพราะหลอด EF40 เป็นหลอดยุดเก่าที่มี Rp ค่อนข้างสูง ในส่วนนี้ต่อผ่าน C coupling ธรรมดาไม่กล้าต่อแบบ direct coupling อีกเพราะนอกจากกลัวเกิดความผิดพลาดแล้วจะทำให้หลอด R120 ที่หายากเจ๊งแล้ว B+ ผมก็ไม่พอด้วยเพราะมันต้อง + เข้าไปอีก 140 กว่า V กลายเป็น 400 กว่าV โดย R120 ผม set ที่กระแสประมาณ 50mA bias 35V และ Vp 250V ใช้หม้อแปลง 2.5K ของ Hashimoto
ขั้นตอนการทำก็ไม่มีอะไรมากมายเพราะเป็นการแงะเอาจากตัวเดิมมาทำ เปลี่ยนเพียงถาค drive เท่านั้น และเนื่องจากหลอดทั้งหมดเป็น indirect heat ภาคจุดใส้หลอดจึงเป็น ac ได้ ง่ายดี ไม่ฮัม
เรื่องเสียงผมว่ามันเปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร อันเนื่องมาจากผลของหลอด drive เสียงตอนนี้จะมีรายละเอียดสูง speed เสียงเร็วกว่าเดิม ความหวานลดลง ฟังเพลงได้หลายแนวขึ้นกว่าเดิม แต่ผมรู้สึกว่าเสียงทุ้มมันลดลงในขณะที่แลกมาด้วยเสียงแหลมที่กระจ่างเป็นประกายมากขึ้น ผมจึงพบว่ายากมากๆที่จะทำแอมป์ให้ได้ดีในทุกๆมุม พอเราได้ speed มันก็ลดความหวาน พอฟังเพลงแจซกับ classic ดีขึ้น เพลงร้องก็ด้อยลง เฮ้อ
Sunday, March 25, 2007
6SN7 หลอดยอดนิยมตลอดกาลหลอดหนึ่ง
6SN7 มาแล้วครับ
คราวนี้มาแปลกครับ คือผมจะโชว์รูปหลอดที่ผมไม่มีให้ท่านดูครับ
ที่มาคือเดิมผม post blog โชว์รูปหลอดใน gallery โดยใช้รูปหลอดที่ผมมีเก็บสะสมไว้ มาครั้งนี้ผมจะลงรูปหลอดแปลกๆและหายากใน series ของ 6SN7 หลอดยอดนิยมตลอดกาลของนัก diy ครับ
6SN7 เป็นหลอดตระกูลหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่านัก DIY 99% ต้องเคยมีครอบครองอยู่ในมือ ผมเองก็เช่นกันครับ 6SN7 ก็เป็นหลอดแรกที่ผมซื้อเอามาใช้เป็นหลอด drive โดยใช้กับแอมป์ 6C33C-B SEของผม และเช่นกันตอนผมทำ R120 SE ใน version แรกๆ ผมก็ใช้ 6SN7 ซึ่งในตอนนั้นก็ไม่มีอะไรมากบอกตามตรงเลยว่าตอนนั้นผมไม่ชอบหลอดทรง 12AX7 ครับ ผอมๆหัวแหลมๆ ไม่สวยเลย แล้วตอนนั้นก็รู้จักอยู่แค่นั้นเองด้วยนี่ครับผมก็เลยมาจบที่ 6SN7 แรกๆผมก็ศึกษาและกะว่าจะเก็บสะสม แต่เป็นเพราะผมไปเจอ #26 และเริ่มสะสมหลอดยุโรปซะก่อน ผมก็เลยไม่ได้เก็บสะสมหลอด 6SN7 ตามที่ตั้งใจ ที่เคยมีอยู่ในมือก็แค่ 6SN7GTB GE , 6SN7GTB Sylvania ผมก็ขายเพื่อนไปแล้ว ปัจจุบันผมเหลืออยู่แค่ CV1988 หรือ 6SN7GT ใน version ทหารของยุโรปแค่ของ Mullard 4 หลอดเอาไว้เป็นหลอด drive ของ 6C33C-B และ ของ STC ( ไม่แน่ใจว่าจะเป็น Brimar หรือไม่ ) อีก แค่ 2 หลอด เอาไว้ฟังเล่นๆ เพราะคงไม่ได้มีโครงการอะไรจะเอามาใช้งานแล้ว
แม้ว่านัก diy ที่เล่นๆไปสักระยะหนึ่งมักจะเปลี่ยนไปเล่นหลอดเบอร์อื่น แต่ 6SN7 ก็ยังเป็นหลอดในระดับตำนานอยู่ดี ผมเคยได้ฟังเปรียบเทียบของเพื่อนๆ หลายรุ่นที่เขาว่าเป็นสุดยอดเหมือนกันครับทั้ง RCA red base , Tungsol round base , ECC32 , ECC33 ผมว่าแต่ละหลอดก็มี character ไม่เหมือนกัน ดีไปคนละแบบ เช่น ECC32 ก็ได้เสียงกลางที่นุ่มนวลเด่นชัด , ECC33 ได้ความกระจ่างของปลายแหลม , Tungsol round base ก็ได้ความนุ่มนวลสมดุลทั้งย่านเสียง แต่ในส่วนตัวผมเองกลับคิดว่าการเปลี่ยนยี่ห้อหลอดไปใช้ที่ดีขึ้นโดยใช้เบอร์เดิม จะสู้เปลี่ยนไปใช้หลอดเบอร์อื่นเลยจะเห็นผลและเสียเงินน้อยกว่าเยอะ ตอนนี้ 6SN7 ก็เลยเป็นหลอดในความทรงจำไป
สำหรับ 6SN7 นี้ยังมีหลอดในตระกูลของมันอีกมากเช่น CV1988 , VT-231 ซึ่งเป็นรหัสทหาร , 5692 industrial grade ส่วน ECC32 นั้นมี spec ที่ต่างออกไปเล็กน้อยแต่ก็ใช้แทนได้เลย แต่จะมีเกนมากขึ้นมาเล็กน้อย และในโครงสร้าง plate ที่เห็นแตกต่างกันจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ plate ธรรมดา ได้แก่ 6SN7 ทั่วไป กับ round plate พวก Mullard ECC32 และ CV1988 STC , Brimar รวมไปถึง Tungsol ซึ่งแนวเสียงของ plate ที่ต่างกันนี้จะฟังออกได้ชัดเจนว่าแตกต่างกันในเรื่องความนุ่มนวลของเสียง
สำหรับนัก DIY ทั่วไปมักเห็นว่าหลอด 6SN7 ที่หายากและแพงรวมถึงเสียงดีเป็นสุดยอดของ 6SN7 นั้นคือ Mullard ECC32 , RCA 5692 red base , Tungsol 6SN7GT round base , Sylvania 6SN7W metal base อะไรทำนองนี้ แต่ขอบอกว่าท่านคิดผิดครับ
สุดยอดของตระกูล 6SN7 ตามที่ได้ข้อมูลจาก net ในช่วงที่ศึกษาและอยากสะสมหลอด 6SN7 เรียงดังนี้ครับ
1.Swedish military 6SN7 รหัส 33S30 ครับ คู่หนึ่งที่เคยเห็นขายใน ebay บิดกันไปที่คู่ละ 800 US$
2.Osram B65 metal base คู่ละประมาณ 500 US$
3.Telefunken 6SN7GTA คู่ละประมาณ 500 US$
ผมเทียบราคาตอนที่ ECC32 คู่ละประมาณ 300 US$ ครับ เรื่องเสียงผมไม่รู้ว่ามันจะดีหรือไม่เพราะผมไม่เคยมีโอกาสได้ฟัง ได้แต่อ่านฝรั่งโม้กันเท่านั้น แต่เรื่องความแพงที่เคยเห็นซื้อขายกันใน ebay ขอบอกว่าสุดยอดแล้วครับ
มาดูรูปกัน ผม copy มานะครับ ของจริงผมไม่มีหรอกครับ แพงเกินเหตุไปหน่อย ผมเลยไม่มีความเห็นเรื่องเสียงครับ
โม้มาซะมาก เอารองอันดับสามไปก่อนครับ
Telefunken 6SN7GTA เป็นหลอดที่ผู้เชี่ยวชาญยังถกเถียงกันอยู่ว่าผลิตมาจากไหน เพราะไม่เชื่อกันว่า Telefunken จะผลิตเอง แต่ไม่ว่าใครจะผลิตให้หรือ TFK แกจะผลิตเองก็ตาม ราคาที่เห็นบิดกันก็ค่อนข้างสูงมากอยู่ดีโดยรวมๆที่เคยเห็นมักจะประมาณ หลอดละ 200 กว่าเหรียญ ถ้าเป็นคู่น่าจะประมาณ 500 กว่าเหรียญ ครับ เรื่องเสียงผู้เชี่ยวชาญท่านว่าไว้ว่าแนวเสียงเด่นเรื่องรายละเอียด และด้วยความเป็น TFK กับความหายากของมันทำให้ราคาแพงมาก
อันดับสองครับ Osram B65 metal base สุดยอด 6SN7 จากฝั่งอังกฤษ B65 ถูกจัดว่าเสียงกลางสุดยอดที่สุดดีกว่า ECC32 ด้วยซ้ำ ไม่น่าเชื่อครับ ไม่รู้จะพิสูจน์ยังไงเพราะไม่เคยได้เห็นและได้ฟัง และผมไม่เคยเจอ NOS NIB มาขายเลยแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนใหญ่สภาพเก่ามากๆ แต่ราคาก็จบไปในราคามหาโหดแทบทุกครั้ง B65 มี version base ธรรมดาสีดำด้วยครับแต่ราคาจะถูกกว่า metal base เยอะครับ
สุดยอดอันดับหนึ่ง มาแล้วครับ 33S30 6SN7 military version จาก Sweden ครับ ดูหน้าตารูปร่างมันแล้วใครจะเชื่อว่ามันเป็นสุดยอด 6SN7 ของนักสะสมครับ ถ้าเอามันมาวางขายข้างๆ ECC32 และ RCA red base ในราคาเท่าๆกันใครๆก็ต้องเลือก 2 ยี่ห้อแรก แต่ช้าก่อนผมขอบอกว่าราคาสุดโหดครับ ราคาที่เคยเห็นเพียงครั้งเดียวใน ebay คือราคา used คู่ละ 800 กว่าเหรียญครับ นั่นคือเมื่อนานมาแล้วด้วยนะครับ ดูโครงสร้างหน้าตามันไม่น่าจะต่างไปจาก RCA 5692 red base เลยครับ แต่เขาว่าของจริงมันแข็งแรกบึกบึนกว่า เสียงมันดีที่สุดของกลุ่มหลอดแพงๆเหล่านี้ในแง่รายละเอียดและปลายเสียงแหลม
ต้องขอย้ำอีกทีว่าเรื่องเสียงผมไม่เคยฟังทั้ง 3 หลอดนี้เลยนะครับ ที่ว่ากันว่าดีหนักหนาก็เชื่อไว้ซักครึ่งเดียวก็พอครับ เราต้องฟังเองจึงจะตัดสินได้ แต่ที่แน่ๆ 3 รายการนี้เป็นหลอดที่เป็นสุดยอดของนักสะสม และราคาสูงมากๆเลยครับ ผมลงรูปให้ดูเล่นๆเผื่อไปเจอกันในราคาถูกๆจะได้รีบสอยมา แล้วอย่างลืมเอามาแบ่งกันฟังบ้างนะครับ ส่วนรูปหลอดพวก ECC32 , RCA red base , Tungsol round base ผมเชื่อว่าคุณคงต้องเคยเห็นหรือเคยเป็นเจ้าของมันแล้ว แต่หากอยากเห็นอีกครั้งก็ลอง search ดูเอาใน web แล้วกันนะครับ
*** หมายเหตุ หลอดที่ผมมีไม่ให้ดูนะครับ ดูเอาจากแอมป์ R120 และ 6C33C-B เอาเองแล้วกัน ไม่อยากเทียบรุ่น 3 หลอดข้างบนนี่ครับ ***
Wednesday, March 21, 2007
แผ่นเสียง Audiophile
ในบรรดาแผ่นเสียงที่เราเล่นๆกันอยู่นั้น ถ้าแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆน่าจะเป็น 2 กลุ่ม คือ แผ่นธรรมดาทั่วไป กับแผ่นที่ถูกจัดให้เป็นแผ่น audiophile ซึ่งเป็นแผ่นที่มีคุณภาพเสียงที่ดีทั้งอาจจะเป็นการอัดเสียงดีหรือคุณค่าของเพลงดีก็ได้ มีนิตยสารเครื่องเสียงให้คะแนนกันยังกับเชลล์ชวนชิม เช่น The Absolute sound ทำให้เป็นแนวในการศึกษาและหามาฟัง
ลองดูแผ่น audiophile ของผมบ้างครับ มีหลากหลายแนวเพราะผมชอบเพลงหลายๆแนว เลยลองซื้อมาทดลองฟังดู ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง อันนี้เป็นรสนินมส่วนตัวนะครับ
Harry Belafonte ชุด At Carnegie Hall เป็นเพลงในแนวลาติน แสดงสดใน carnegie hall เป็นเพลงเก่าๆที่ไพเราะมาก เช่น cotton field , day o , danny boy การบันทึกดีและนักร้องก็ร้องได้ดีแถมร้องไปเล่นกับคนดูไปสนุกครับ แผ่นนี้ฟังได้ดีทุกเพลง ไม่สงสัยเลยว่าเป็นสุดยอดอัลบัม ที่ TAS ต้องแนะนำ แต่ถึงไม่แนะนำผมก็คงต้องดิ้นรนหามาฟังเพราะฟัง cd แล้วชอบมากๆ แผ่นที่มีขายมีหลาย version นะครับ ที่ผมมีเป็นอัลบัมเก่าแบบ mono ครับ ยังมีแบบ stereo และ re master อีก แล้วเทียบกับ cd ก็ดีว่าด้วยครับ คุณภาพเสียงฟังธรรมชาติกว่า ชัดเจนกว่า แถมยังมีเพลงมากกว่าใน cd ด้วย
Balalaika เป็นแผ่นแสดงสดอีกแล้ว เป็นเพลงพื้นบ้านของรัสเซีย เล่นโดยเครื่องดนตรีรัสเซีย นัยว่าเป็นอัลบัมแรกๆที่เข้าไปอัดกันในรัสเซียโดย mercury records มีทั้งแผ่นเก่าและแผ่น re issue ผมมีเป็นแผ่นเก่า bid มาจากใน ebay เดิมไม่สนใจหรอกครับแต่ไปเห็นราคาใน ebay ทำไมมันแพงนัก แถมเห็นร้านที่เยาฮันขายแพงมาก เลยต้องบิดมาลองฟังกับเขาซะหน่อยโชคดีได้มาในราคาไม่แพงมาก โดยรวมก็ไพเราะดีครับ
Tchaikovsky The Overture 1812 โดย Andre Previn และ London Symphony Orchestra แหมถ้าเป็นนักฟังเพลง classic แล้วไม่รู้จัก Overture 1812 นี่เชยแหลกครับ แผ่นนี้ผลิตโดย Mobile Fidelity ผมลองหามาฟังเพราะชอบดนตรีชิ้นนี้อยู่แล้ว แต่ฟังๆไปกลับเฉยๆครับ เสียงมันอัดมาเบาๆยังไงไม่รู้ เสียงปืนใหญ่นี่มันเบามากไม่สะใจเลยยังกับเสียงปืนแก๊ป ไม่รู้เป็นเพราะเครื่องเสียงผมไม่ได้เรื่องหรือแผ่นไม่ได้เรื่องครับ
Gershwin ชุด An American in Paris และ Rhapsody in Blue โดย Arthur Fiedler กำกับวง The Boston Pops ผลิตโดย Chesky records ผมลองแผ่นของ Chesky ดูบ้างเพื่อดูว่าคุณภาพจะเป็นอย่างไรหากดีจะได้หาแผ่นอื่นมาเพิ่ม แผ่น Chesky มักจะมีราคาสูงค่อนข้างมากเลยไม่กล้าบิดมาเยอะๆ ไม่ผิดหวังครับคุณภาพการอัดดีมาก รายละเอียดเสียงค่อนข้างดี เพียงแต่คุณจะชอบเพลงที่เขาเอามาทำหรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเท่าที่เห็นจะทำแต่เพลง jazz กับ classic เท่านั้นครับ
Dave Grusin ชุด Discovery Again ผลิตโดย Sheffield Labs บริษัทที่ผลิตเฉพาะแผ่น audiophile เท่านั้น ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าแผ่นของบริษัทนี้ถ้าผลิตออกมารับรองไม่มีไม่ได้เรื่อง ผมฟังแล้วก็ต้องยอมรับเลยครับว่าผลิตมาดีจริงๆเสียงทั้งชัดทั้งมีรายละเอียด เบสเป็นลูกๆ นี่ยังไม่นับพวกบรรยากาศนะ เพราะผมว่าห้องฟังและชุดเครื่องเสียงผมมันยังเป็น reference ไม่ได้ เดิมผมมีแผ่น cd ของค่ายนี้เยอะพอสมควร แต่บอกตามตรงแนวเพลงมันไม่ใช่แบบที่ผมชอบ ผมก็เลยไม่ดิ้นรนไปหาซื้อเพิ่ม นับว่าโชคดีไปเพราะแผ่นค่ายนี้มักมีราคาค่อนข้างแพงมาก
Billie Holiday ชุด Lady in Satin แผ่นนี้เป็นแผ่น Columbia 6 eyes ซะด้วย บิดมาเล่นๆกะมาลองฟังดูว่าเพลงเก่าๆสไตล์ jazz อย่างนี้จะชอบไหม ปรากฏว่าเรื่องคุณภาพไม่เป็นที่สงสัยดีมากๆครับ แต่ไม่เคยฟังจบแผ่นเลยครับ ไม่ไหวหูไม่ถึงฟังแล้วจะหลับให้ได้ เลยเลิกครับมีไว้โก้ๆแผ่นเดียวพอ รอไว้แก่กว่านี้อาจชอบก็ได้ ตอนนี้เลยเลิกความคิดที่จะหามาฟังทั้งก๊วนเลยครับ Ella Fitzgerald , Louise Armstrong โดนหางเลขไปหมดเลย
Norah Johns ชุด Come away with me ครับ เป็นแผ่นใหม่ audiophile series แบบ 200 grams ซะด้วย เอามาลองฟังดูหน่อยว่าแผ่นเสียงยุคใหม่ๆจะมีคุณภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับ cd ผลก็คือเสียงดีกว่า cd มากครับ อาจเป็นเพราะ cd ของ Norah Jones ที่ทำขายเป็น cd แบบ mass production ทำขายเอาเยอะเข้าว่าคุณภาพเลยไม่ได้เรื่องเอาซะมากๆ แผ่นเลยมีคุณภาพดีกว่าเยอะโดยเฉพาะแหลมไม่บาดหูเท่า cd เลย ถ้าชอบฟังเพลงของเธอก็นับว่าคุ้มครับ
Susan Wong ชุด Close to you เนื่องจากผมชอบฟังเพลงของ Susan Wong อยู่แล้วเลยเอามาลองซะหน่อย ผิดชอบยังไงก็ยังไม่เสียดายเพราะยังฟังได้แทบทุกเพลง เท่าที่ฟัง OK ครับ ดีกว่า cd ตรงความเข้มข้นของเสียง แต่ผมว่าดีกว่าไม่มากนัก อาจเป็นเพราะ cd ของเธอก็เป็น cd ในแนว audiophile ทำมาคุณภาพดีอยู่แล้ว แผ่นเลยดีกว่าไม่มาก
สุดท้ายผมว่าแผ่น audiophile นั้นคุณภาพเสียงเท่าที่ได้ลองก็มักจะดีสมราคา แต่เรื่องสไตล์เพลงเป็นเรื่องสำคัญเพราะส่วนใหญ่จะเป็นเพลง jazz และ classic ดังนั้นบางคนอาจไม่ชอบเลยก็ได้ ผมขอแนะนำว่าถ้าไม่ชอบอย่าฝืนซื้อมาตามกระแสหรือคำแนะนำของนักวิจารณ์ทั้งหลาย เสียดายตังค์น่ะครับเพราะซื้อมาแล้วก็จะไม่ได้ฟัง แผ่นพวกนี้มักจะมีราคาสูงซะด้วย บางคนอาจบอกว่าขอให้มันอัดดีไว้ก่อนฟังๆไปก็ชอบเอง สำหรับผมแล้วไม่ได้ผลเพราะผมลองเท่าไรก็ไม่ชอบครับ
ลองดูแผ่น audiophile ของผมบ้างครับ มีหลากหลายแนวเพราะผมชอบเพลงหลายๆแนว เลยลองซื้อมาทดลองฟังดู ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง อันนี้เป็นรสนินมส่วนตัวนะครับ
Harry Belafonte ชุด At Carnegie Hall เป็นเพลงในแนวลาติน แสดงสดใน carnegie hall เป็นเพลงเก่าๆที่ไพเราะมาก เช่น cotton field , day o , danny boy การบันทึกดีและนักร้องก็ร้องได้ดีแถมร้องไปเล่นกับคนดูไปสนุกครับ แผ่นนี้ฟังได้ดีทุกเพลง ไม่สงสัยเลยว่าเป็นสุดยอดอัลบัม ที่ TAS ต้องแนะนำ แต่ถึงไม่แนะนำผมก็คงต้องดิ้นรนหามาฟังเพราะฟัง cd แล้วชอบมากๆ แผ่นที่มีขายมีหลาย version นะครับ ที่ผมมีเป็นอัลบัมเก่าแบบ mono ครับ ยังมีแบบ stereo และ re master อีก แล้วเทียบกับ cd ก็ดีว่าด้วยครับ คุณภาพเสียงฟังธรรมชาติกว่า ชัดเจนกว่า แถมยังมีเพลงมากกว่าใน cd ด้วย
Balalaika เป็นแผ่นแสดงสดอีกแล้ว เป็นเพลงพื้นบ้านของรัสเซีย เล่นโดยเครื่องดนตรีรัสเซีย นัยว่าเป็นอัลบัมแรกๆที่เข้าไปอัดกันในรัสเซียโดย mercury records มีทั้งแผ่นเก่าและแผ่น re issue ผมมีเป็นแผ่นเก่า bid มาจากใน ebay เดิมไม่สนใจหรอกครับแต่ไปเห็นราคาใน ebay ทำไมมันแพงนัก แถมเห็นร้านที่เยาฮันขายแพงมาก เลยต้องบิดมาลองฟังกับเขาซะหน่อยโชคดีได้มาในราคาไม่แพงมาก โดยรวมก็ไพเราะดีครับ
Tchaikovsky The Overture 1812 โดย Andre Previn และ London Symphony Orchestra แหมถ้าเป็นนักฟังเพลง classic แล้วไม่รู้จัก Overture 1812 นี่เชยแหลกครับ แผ่นนี้ผลิตโดย Mobile Fidelity ผมลองหามาฟังเพราะชอบดนตรีชิ้นนี้อยู่แล้ว แต่ฟังๆไปกลับเฉยๆครับ เสียงมันอัดมาเบาๆยังไงไม่รู้ เสียงปืนใหญ่นี่มันเบามากไม่สะใจเลยยังกับเสียงปืนแก๊ป ไม่รู้เป็นเพราะเครื่องเสียงผมไม่ได้เรื่องหรือแผ่นไม่ได้เรื่องครับ
Gershwin ชุด An American in Paris และ Rhapsody in Blue โดย Arthur Fiedler กำกับวง The Boston Pops ผลิตโดย Chesky records ผมลองแผ่นของ Chesky ดูบ้างเพื่อดูว่าคุณภาพจะเป็นอย่างไรหากดีจะได้หาแผ่นอื่นมาเพิ่ม แผ่น Chesky มักจะมีราคาสูงค่อนข้างมากเลยไม่กล้าบิดมาเยอะๆ ไม่ผิดหวังครับคุณภาพการอัดดีมาก รายละเอียดเสียงค่อนข้างดี เพียงแต่คุณจะชอบเพลงที่เขาเอามาทำหรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเท่าที่เห็นจะทำแต่เพลง jazz กับ classic เท่านั้นครับ
Dave Grusin ชุด Discovery Again ผลิตโดย Sheffield Labs บริษัทที่ผลิตเฉพาะแผ่น audiophile เท่านั้น ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าแผ่นของบริษัทนี้ถ้าผลิตออกมารับรองไม่มีไม่ได้เรื่อง ผมฟังแล้วก็ต้องยอมรับเลยครับว่าผลิตมาดีจริงๆเสียงทั้งชัดทั้งมีรายละเอียด เบสเป็นลูกๆ นี่ยังไม่นับพวกบรรยากาศนะ เพราะผมว่าห้องฟังและชุดเครื่องเสียงผมมันยังเป็น reference ไม่ได้ เดิมผมมีแผ่น cd ของค่ายนี้เยอะพอสมควร แต่บอกตามตรงแนวเพลงมันไม่ใช่แบบที่ผมชอบ ผมก็เลยไม่ดิ้นรนไปหาซื้อเพิ่ม นับว่าโชคดีไปเพราะแผ่นค่ายนี้มักมีราคาค่อนข้างแพงมาก
Billie Holiday ชุด Lady in Satin แผ่นนี้เป็นแผ่น Columbia 6 eyes ซะด้วย บิดมาเล่นๆกะมาลองฟังดูว่าเพลงเก่าๆสไตล์ jazz อย่างนี้จะชอบไหม ปรากฏว่าเรื่องคุณภาพไม่เป็นที่สงสัยดีมากๆครับ แต่ไม่เคยฟังจบแผ่นเลยครับ ไม่ไหวหูไม่ถึงฟังแล้วจะหลับให้ได้ เลยเลิกครับมีไว้โก้ๆแผ่นเดียวพอ รอไว้แก่กว่านี้อาจชอบก็ได้ ตอนนี้เลยเลิกความคิดที่จะหามาฟังทั้งก๊วนเลยครับ Ella Fitzgerald , Louise Armstrong โดนหางเลขไปหมดเลย
Norah Johns ชุด Come away with me ครับ เป็นแผ่นใหม่ audiophile series แบบ 200 grams ซะด้วย เอามาลองฟังดูหน่อยว่าแผ่นเสียงยุคใหม่ๆจะมีคุณภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับ cd ผลก็คือเสียงดีกว่า cd มากครับ อาจเป็นเพราะ cd ของ Norah Jones ที่ทำขายเป็น cd แบบ mass production ทำขายเอาเยอะเข้าว่าคุณภาพเลยไม่ได้เรื่องเอาซะมากๆ แผ่นเลยมีคุณภาพดีกว่าเยอะโดยเฉพาะแหลมไม่บาดหูเท่า cd เลย ถ้าชอบฟังเพลงของเธอก็นับว่าคุ้มครับ
Susan Wong ชุด Close to you เนื่องจากผมชอบฟังเพลงของ Susan Wong อยู่แล้วเลยเอามาลองซะหน่อย ผิดชอบยังไงก็ยังไม่เสียดายเพราะยังฟังได้แทบทุกเพลง เท่าที่ฟัง OK ครับ ดีกว่า cd ตรงความเข้มข้นของเสียง แต่ผมว่าดีกว่าไม่มากนัก อาจเป็นเพราะ cd ของเธอก็เป็น cd ในแนว audiophile ทำมาคุณภาพดีอยู่แล้ว แผ่นเลยดีกว่าไม่มาก
สุดท้ายผมว่าแผ่น audiophile นั้นคุณภาพเสียงเท่าที่ได้ลองก็มักจะดีสมราคา แต่เรื่องสไตล์เพลงเป็นเรื่องสำคัญเพราะส่วนใหญ่จะเป็นเพลง jazz และ classic ดังนั้นบางคนอาจไม่ชอบเลยก็ได้ ผมขอแนะนำว่าถ้าไม่ชอบอย่าฝืนซื้อมาตามกระแสหรือคำแนะนำของนักวิจารณ์ทั้งหลาย เสียดายตังค์น่ะครับเพราะซื้อมาแล้วก็จะไม่ได้ฟัง แผ่นพวกนี้มักจะมีราคาสูงซะด้วย บางคนอาจบอกว่าขอให้มันอัดดีไว้ก่อนฟังๆไปก็ชอบเอง สำหรับผมแล้วไม่ได้ผลเพราะผมลองเท่าไรก็ไม่ชอบครับ
Tuesday, March 20, 2007
The Alan Parsons Project
The Alan Parsons Project เป็นวงดนตรี progressive rock ในลักษณะ concept album คือในแต่ละอัลบัมของเขาจะเป็นชุดดนตรีที่เล่าเรื่องต่างๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชุดแรกเลยคือ Tales of Mystery and Imagination ก็เป็น concept อัลบัมที่อ้างอิงถึงบทประพันธ์ของ Edgar Allan Poe ชุด I Robot ก็เป็นการเล่าเรื่องจากนิยายของ Isaac Asimov เป็นต้น
วงดนตรีวงนี้ก่อตั้งโดย Alan parsons แถมยังเป็น producer , sound engineer และเล่น keyboard ด้วย โดย Alan Parsons นั้นโด่งดังมาจากการเป็น sound engineer ให้กับ Pink Floyd ในสุดยอดอัลบัม The Dark Side of The Moon ในปี 1973 โดย Alan Parsons เองก็เริ่มออกอัลบัมในปี 1976 จนถึงปลายยุค 1980 มีอัลบัมออกมา 10 อัลบัมพอดี ที่ดังๆมี 2-3 อัลบัมได้แก่ Eye in the Sky , I Robot และ The Turn of a Friendly Card ส่วนใหญ่แนวเพลงของวงนี้ที่โด่งดังจะเป็นแนว Instrument music แต่ก็จะมีเพลงที่มีการร้องอยู่ด้วยทุกอัลบัม
ผมเองชอบฟัง The Alan Parsons Project ครับ มันฟังสบายดีไม่หนักเกินไป และทุกชุดจะอัดเสียงมาค่อนข้างดีมากเพราะหัวหน้าวงเป็นสุดยอด sound engineer แต่บางชุดฟังไม่รู้เรื่องครับมันลึกซึ้งเกินไปสำหรับผม โดยเฉพาะชุดแรก Tales of Mystery and Imagination มันมีแต่ instrument ฟังยาก เลยไม่ค่อยโด่งดังนัก แต่แนวดนตรีและการอัดเสียงคงดีมาก Mobile fidelity จึงเอาไปทำแผ่นในแนว audiophile ด้วย ถ้าชอบจินตนาการลองหามาฟังดูนะครับ
มาดูแผ่นที่ผมมีครับ
I Robot ออกในปี 1977 เป็น concept อัลบัมที่ได้แนวความคิดมาจากผลงานวนิยายวิทยาศาสตร์ของ Isaac Asimov ชื่อของอัลบัมคือ first robot แต่ส่วนใหญ่จะคิดว่าชื่อ i robot
อัลบัมนี้มีคุณภาพของเสียงที่ดีมากจน Mobile fidelity นำออกไปทำแผ่นเสียง และผมเองเมื่อฟังเปรียบเทียบก็พบว่าเสียงของแผ่น mobile นี้ดีกว่าแผ่นญี่ปุ่น โดยเฉพาะรายละเอียดและความคมชัด และราคาก็ไม่แพงมากหากจะซื้อก็ซื้อแผ่น mobile ไปเลยครับ
Pyramid ออกในปี1978 ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นอัลบัมที่เกี่ยวข้องกับอะไร แต่ลึกๆแล้วนอกจากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังอำนาจของอียิปต์โบราณแล้วยังหมายถึง การมองอดีตด้วยสายตาของปัจจุบัน ( ส่วน I Robot เป็นการมองอนาคตด้วยสายตาปัจจุบัน ) Alan Parsons นี่แกช่างคิดอะไรได้ลึกซึ้งจริงๆครับ
The Turn of a Friendly Card ออกในปี 1980 เป็น concept อัลบัมที่เกี่ยวกับการเดิมพันของชายหนุ่มคนหนึ่งที่เข้าบ่อนและเดิมพันด้วยทุกสิ่งที่ตัวเองมี ส่วนตัวผม ผมชอบอัลบัมนี้ที่สุดครับ โดยเฉพาะเพลง Nothing Left to Lose สุดยอดจริงๆครับ
Eye in The Sky เป็นอัลบัมที่ออกในปี 1982 ได้ concept มาจากกล้องวงจรปิดใน casino ที่จ้องมองเราอยู่ ท่าทาง Alan Parsons แกจะชอบเล่นการพนันเป็นพิเศษ อัลบัมนี้เป็นอัลบัมที่ประสพความสำเร็จที่สุด คงเป็นช่วงสุดยอดของแกแล้ว เพลงที่ดังมากก็เพลงเดียวกับชื่ออัลบัมแหละครับ ผมว่าคุณต้องเคยได้ยินแน่นอน
Ammonia avenue ออกในปี 1984 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมุมมองของสังคมต่อการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี่ เป็นอัลบัมที่ขายดีมากเช่นกันแต่ผมเฉยๆครับไม่ได้ชอบมากเป็นพิเศษแต่ก็มีหลายเพลงที่ไพเราะมากครับ
Vulture Culture เป็นอัลบัมออกในปี 1985 เดิมจะรวมอยู่กับ Ammonia Avenue เป็นอัลบัมคู่ แต่ต่อมาก็ได้แยกออกมาเป็นอัลบัมเดี่ยว เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภคของชาวอเมริกัน ผมชอบอัลบัมนี้รองลงมาจาก Turn of a Friendly Card ฟังไพเราะแทบทุกเพลงเลยครับ
The Alan Parsons Project ยังมีอัลบัมที่น่าสนใจอีก 2-3 อัลบัม เช่น Eve , Stereotomy , Gaudi แต่ผมฟัง cd แล้วไม่ค่อยชอบเลยไม่ได้หาแผ่นมาฟัง กลัวว่าจะซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ฟังเสียดายตังค์เปล่าๆ
วงดนตรีวงนี้ก่อตั้งโดย Alan parsons แถมยังเป็น producer , sound engineer และเล่น keyboard ด้วย โดย Alan Parsons นั้นโด่งดังมาจากการเป็น sound engineer ให้กับ Pink Floyd ในสุดยอดอัลบัม The Dark Side of The Moon ในปี 1973 โดย Alan Parsons เองก็เริ่มออกอัลบัมในปี 1976 จนถึงปลายยุค 1980 มีอัลบัมออกมา 10 อัลบัมพอดี ที่ดังๆมี 2-3 อัลบัมได้แก่ Eye in the Sky , I Robot และ The Turn of a Friendly Card ส่วนใหญ่แนวเพลงของวงนี้ที่โด่งดังจะเป็นแนว Instrument music แต่ก็จะมีเพลงที่มีการร้องอยู่ด้วยทุกอัลบัม
ผมเองชอบฟัง The Alan Parsons Project ครับ มันฟังสบายดีไม่หนักเกินไป และทุกชุดจะอัดเสียงมาค่อนข้างดีมากเพราะหัวหน้าวงเป็นสุดยอด sound engineer แต่บางชุดฟังไม่รู้เรื่องครับมันลึกซึ้งเกินไปสำหรับผม โดยเฉพาะชุดแรก Tales of Mystery and Imagination มันมีแต่ instrument ฟังยาก เลยไม่ค่อยโด่งดังนัก แต่แนวดนตรีและการอัดเสียงคงดีมาก Mobile fidelity จึงเอาไปทำแผ่นในแนว audiophile ด้วย ถ้าชอบจินตนาการลองหามาฟังดูนะครับ
มาดูแผ่นที่ผมมีครับ
I Robot ออกในปี 1977 เป็น concept อัลบัมที่ได้แนวความคิดมาจากผลงานวนิยายวิทยาศาสตร์ของ Isaac Asimov ชื่อของอัลบัมคือ first robot แต่ส่วนใหญ่จะคิดว่าชื่อ i robot
อัลบัมนี้มีคุณภาพของเสียงที่ดีมากจน Mobile fidelity นำออกไปทำแผ่นเสียง และผมเองเมื่อฟังเปรียบเทียบก็พบว่าเสียงของแผ่น mobile นี้ดีกว่าแผ่นญี่ปุ่น โดยเฉพาะรายละเอียดและความคมชัด และราคาก็ไม่แพงมากหากจะซื้อก็ซื้อแผ่น mobile ไปเลยครับ
Pyramid ออกในปี1978 ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นอัลบัมที่เกี่ยวข้องกับอะไร แต่ลึกๆแล้วนอกจากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังอำนาจของอียิปต์โบราณแล้วยังหมายถึง การมองอดีตด้วยสายตาของปัจจุบัน ( ส่วน I Robot เป็นการมองอนาคตด้วยสายตาปัจจุบัน ) Alan Parsons นี่แกช่างคิดอะไรได้ลึกซึ้งจริงๆครับ
The Turn of a Friendly Card ออกในปี 1980 เป็น concept อัลบัมที่เกี่ยวกับการเดิมพันของชายหนุ่มคนหนึ่งที่เข้าบ่อนและเดิมพันด้วยทุกสิ่งที่ตัวเองมี ส่วนตัวผม ผมชอบอัลบัมนี้ที่สุดครับ โดยเฉพาะเพลง Nothing Left to Lose สุดยอดจริงๆครับ
Eye in The Sky เป็นอัลบัมที่ออกในปี 1982 ได้ concept มาจากกล้องวงจรปิดใน casino ที่จ้องมองเราอยู่ ท่าทาง Alan Parsons แกจะชอบเล่นการพนันเป็นพิเศษ อัลบัมนี้เป็นอัลบัมที่ประสพความสำเร็จที่สุด คงเป็นช่วงสุดยอดของแกแล้ว เพลงที่ดังมากก็เพลงเดียวกับชื่ออัลบัมแหละครับ ผมว่าคุณต้องเคยได้ยินแน่นอน
Ammonia avenue ออกในปี 1984 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมุมมองของสังคมต่อการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี่ เป็นอัลบัมที่ขายดีมากเช่นกันแต่ผมเฉยๆครับไม่ได้ชอบมากเป็นพิเศษแต่ก็มีหลายเพลงที่ไพเราะมากครับ
Vulture Culture เป็นอัลบัมออกในปี 1985 เดิมจะรวมอยู่กับ Ammonia Avenue เป็นอัลบัมคู่ แต่ต่อมาก็ได้แยกออกมาเป็นอัลบัมเดี่ยว เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภคของชาวอเมริกัน ผมชอบอัลบัมนี้รองลงมาจาก Turn of a Friendly Card ฟังไพเราะแทบทุกเพลงเลยครับ
The Alan Parsons Project ยังมีอัลบัมที่น่าสนใจอีก 2-3 อัลบัม เช่น Eve , Stereotomy , Gaudi แต่ผมฟัง cd แล้วไม่ค่อยชอบเลยไม่ได้หาแผ่นมาฟัง กลัวว่าจะซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ฟังเสียดายตังค์เปล่าๆ
Tuesday, March 13, 2007
Europe power tube ( Pentode )
Power Pentode
โครงสร้าง Plate ที่สวยงามมากของ RS288II คิดว่าไม่มีหลอดใด plate สวยเท่านี้แล้ว ( ไม่เกี่ยวกับเสียงดีนะครับ )
หลอด power pentode ทางฝั่งยุโรปนั้นเป็นหลอดที่ผมเริ่มสะสม และนำมาทำแอมป์ในช่วงแรกๆที่สนใจการทำแอมป์เลยครับ แอมป์ pentode ตัวแรกของผมก็เป็น EL156 SE ต่อมาผมก็ได้ทำ F2A PP ในอนาคตก็ยังมีแผนที่จะทำต่อไปอีกบางเครื่อง แต่ตอนนี้มาดูหลอดที่ผมมีเก็บอยู่บ้างบางส่วนนะครับ
Telefunken EL156
เป็นหลอด power pentode ที่ในอดีตนิยมนำมาทำแอมป์ในโรงภาพยนต์ของเยอรมัน ซึ่งเสียงดีมากๆ พละกำลังก็อยู่ในระดับปานกลางทำ SE ได้ประมาณ 10W ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมมากครับ
Siemens F2A
ไม่ใช่ Pentode แต่เป็นหลอด Tetrode ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อในอดีต Klangfilm นำมาใช้เป็นหลอด power ในแอมป์ที่ใช้ในโรงภาพยนต์
STC PT15
หลอด Pentode ที่นัก diy เชื่อว่าเมื่อเอามา run ใน triode mode จะมีเสียงคล้าย PX-25
Siemens RS1003
power pentode ที่นัก diy ชาวยุโรปบอกว่าเสียงดีมาก แต่ผมดู datasheet แล้วท้อใจท่าทางจะทำยากแถม socket หายากอีกต่างหาก
Telefunken RS288II
หลอด pentode ในยุคปี 1930 มีโครงสร้าง plate ที่สวยงามมาก
Subscribe to:
Posts (Atom)