ที่มา
ผมสนใจศึกษาและสะสมหลอดทางยุโรปมาระยะหนึ่งด้วยแนวคิดที่ว่ามันเป็นหลอดเบอร์แปลกๆที่คนไม่ค่อยรู้จัก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่เอามาใช้งานเล่น แถมจริงๆแล้วหลอดทางยุโรป ยังเป็นหลอดที่มีเสียงดีมากๆอีกด้วย รวมไปถึงมาตราฐานการผลิตที่ดีทำให้มีคุณภาพสูงใช้งานได้ไม่ค่อยมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนัก diy ชาวญี่ปุ่นนั้นนิยมเล่นเป็นอย่างมาก แต่หลอดยุโรปเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าราคาจะถูกนัก อาจเป็นเพราะหายากแถมผมยังได้อ่านบทความพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลอดทางยุโรปเป็นจำนวนมากของเยอรมันถูกทำลายทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะมันเป็นอุปกรณ์ทางทหาร บางหลอดก็มีตราสวัสดิกะพิมพ์อยู่จึงถูกทำลายทิ้ง ราคาบางหลอดจึงแพงมหาโหดเช่นกัน
สำหรับหลอด Phillips 4683 นี้ จริงๆมันคือหลอด AD1/350 ซึ่งเป็น version high V ของหลอด AD1 ที่โด่งดังนั่นเอง ผมเห็น spec มันน่าสนใจ และราคายังถูกกว่า AD1 อยู่เล็กน้อย ว่ากันว่าทางอเมริกันมี 2A3 ทางยุโรปก็มี AD1 มาเชือด เช่นเดียวกับ 300B ก็มี PX-25 มาเบียด แถมราคา AD1 บางหลอดเช่น Ed ของ Siemens , Eb III , AD1 ของ Telefunken ราคายังสูงอย่างน่าพิศวง ผมจึงซื้อ 4683 มาทดลองใช้งานดู
ด้าน spec ของหลอด 4683 นี้ มันมี plate dissipation 15W จุดทำงานที่เหมาะสมคือ Vp 350V กระแส 35mA bias -65V ซึ่งจะได้กลังขับประมาณ 5-6W
สำหรับหลอด drive ในครั้งแรกผมต้องการใช้หลอด transmitting tube DHT มาใช้ตาม concept ของ Mr.Josh Stippich แห่ง Electro-Luv ที่นิยมเอาหลอดประเภทนี้มา drive หลอด DHT output พวก 2A3 อะไรทำนองนี้ ซึ่งในตอนแรกผมไปเจอหลอด 8025 ซึ่งมีหน้าตาน่ารักดีมี spec ตามที่ต้องการ ทำงานในช่วงแรงดันไฟ 300-400V มีเกนขยาย 30 เท่า กำลังดี แต่หลอดที่ผมซื้อมาดันเสีย ผมหาใหม่ก็ไม่ได้จึงเอาหลอด Western Electric VT-25 มา drive แทนเป็น version แรก และต่อมาจึงใช้ Amperex 8233 /E55L มา drive ใน version 2.
Version 1. 4683 drive by 10Y
อย่างที่บอกผมตั้งใจออกแบบตามแนวทางของ Josh Stippich ซึ่งใช้ 801A และ 826 drive 2A3 แล้วบอกว่าได้ผลดี ผมจึงลองทำดูบ้าง ตอนแรกพยายามใช้ 8025 แต่หลอดเสียไป 1 ข้างผมจึงใช้ VT-25 หรือ 10Y มาลองใช้แทนดู โดยทดลอง set 10Y ทั้งแบบ R load , choke load และ CCS load ทั้ง 3 แบบ เพื่อดูว่าแบบไหนจะเหมาะสม
ผมพบว่า choke load ผมติดปัญหา plate choke มีค่า inductance สูงไป และรับกระแสได้ต่ำไป คือได้แค่ 20mA ดังนั้นต้อง bias 10Y แค่ 18mA จึงพบว่าเสียงในแบบนี้มันจะมีแหลมที่ไปได้ไม่ไกลนัก มันไม่เป็นประกาย กรุ๊งกริ๊ง แต่เสียงกลางดีมาก เสียงทุ้มก็ใช้ได้ ส่วน R load ผมพบว่ามันจำเป็นต้องใช้ B+ สูงมากประมาณ 500-600V ถึงจะเหมาะในขณะที่หม้อแปลงผมทำได้เต็มที่แค่ 420V ทำให้หลอด 10Y ไม่อยู่ในจุดทำงานที่เหมาะสมเช่นกัน แนวเสียงจึงพอๆกับ choke load ประกอบกับเกนที่ต่ำมากทำให้เปิดได้เสียงเบามาก ต้องใช้ร่วมกับปรีที่มีเกนมากๆ ซึ่งผมก็ไม่มี ส่วน CCS load นั้นได้เสียงที่ครอบคลุมความถี่ได้มากขึ้น เสียงแหลมดีขึ้น แต่เนื่องจาก chip CCS 10M45S ที่ผมใช้ดันมีปัญหากับแอมป์ตัวนี้ทั้งที่ผมใช้กับปรี Ce ก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่เครื่องนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งมันก็จะเกิดเสียงตุ๊บตั๊บออกมาซีกหนึ่งแก้เท่าไรก็ไม่หายผมจึงเลิกใช้
ต่อมาผมได้เอา Sylvania 210 ซึ่งเป็นเบอร์ 10 ซึ่งมีใส้หลอดเป็น tungsten และ plate เป็น graphite มาทดลองใช้ปรากฏว่าเสียงดีขึ้นมากทั้งแหลมและทุ้ม โดยที่เสียงกลางก็ยังดีเหมือนเดิม ผมแปลกใจมาก แต่ในที่สุดก็พบว่าด้วยเกนที่น้อยมากของมันทำให้ผมรำคาญที่จะต้องบิด volume ไปเยอะมาก จนผมต้องหาหลอดเบอร์อื่นมา drive แทนดู
Version 2. 4683 drive by 8233
หลังจากที่ผมเคยใช้ 8233 หรือ E55L ไป drive เบอร์ 800 แล้วไม่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึง 10Y มา drive 4683 ก็ยังได้ผลไม่ดีนัก ผมพบว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่จุดทำงานที่เหมาะสม เป็นหลักสำคัญ ดังนั้นตอนนี้ผมจึงออกแบบให้ 8233 ทำงานที่ 40-45mA และ Vp ประมาณ 180V นั่นหมายถึงประมาณ 3 เท่าของจุด bias ของ 4683 ( -65V ) ซึ่งจะทำให้ V swing ได้มากพอ ซึ่งเดิมผมไม่เคยคำนึงถึงมันเลย set bias ไปเรื่อย
หลอด 8233 นี้เป็นหลอด pentode ที่นิยมนำมาใช้เป็นหลอด drive หรือ ทำ spud amp กันมาก เป็นหลอด high gm ทำงานได้ดีในกระแสสูงๆ หาก set เป็น triode ว่ากันว่าเสียงจะคล้ายๆกับ WE 437A สุดยอดหลอดราคาแพงอีกเบอร์หนึ่ง โดยจะได้เกนประมาณ 30 เท่า กำลังดีสำหรับโปรเจคนี้ ต่อแบบ R load ธรรมดา ด้วย R plate 4.7K แต่เนื่องจากกระแสสูงมากทำให้ต้องใช้ R watt สูงๆซึ่งในกรณีนี้ผมจึงต้องใช้ R sink มาใช้งาน และต่อแบบ RC coupling ไปที่หลอด output ธรรมดาเลย
ในส่วนหลอด 4683 ก็ set จุดทำงานที่ 320V กระแส 35mA bias -65V แต่พวก R ที่คำนวนมาได้คือ 1.85K ไม่มีผมจึงใช้ 1.8K ซึ่งก็ใกล้เคียงกันเล็กน้อย ส่วนหม้อแปลง output ใช้ 3.5K
สำหรับภาคจ่ายไฟ ผมใช้แนวคิด ของ Josh ที่ใช้แต่ mercury vapor อย่างเดียว ผมจึงใช้หลอด 866AX ที่ผมมีมาใช้เหมือนกัน แถมเป็นเพราะหม้อแปลงผมเอามาจากโครงการเบอร์ 800 ( ซึ่งมีขดจุดใส้หลอดสำหรับหลอด rectify 866A อยู่แล้ว ) ที่ผมเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ ทำให้เหลือมาใช้โครงการนี้พอดี เหมาะเหม็ง แต่ก็จำกัดหลอด drive ที่จะใช้อย่างที่ได้ว่ามา ภาค filter ก็ CLC ธรรมดาเช่นกัน
ส่วนการจุดใส้หลอดเนื่องจากกิตติศัพท์ของ AD1 ที่มีหลายคนบอกว่าฮัมมาก ผมจึงทำเป็น DC ไปซะเลยตั้งแต่แรก และ 8233 ที่เป็น indirect heat ผมก็ใช้ AC ธรรมดา ไม่ฮัมเลยครับ
แนวเสียง
Version 1.
เสียงกลางเด่นมากๆ แต่ปลายแหลมไปได้ไม่ไกลมากนัก ทุ้มดีมากๆ ฟังเพลงร้องดีมากๆ ผมคิดว่าในแนวคิดเช่นนี้ หลอด drive ควรมีใส้หลอดเป็น tungsten น่าจะแมชกันกับ DHT นี้มากกว่า oxide coat แบบ WE VT-25 หากในอนาคตผมหา 8025 ได้ผมก็จะลองเอามาใช้อีกครั้งหนึ่ง จริงๆแล้ว 826 ก็น่าสนใจ แต่ไฟจุดใส้หลอดกระแสสูงมากแถมอาจต้องใช้ B+ ที่สูงมากขึ้นจากเดิม ทำให้ผมคงไม่สามารถนำมาใช้ได้ นอกจากต้องเปลี่ยนหม้อแปลงกันอีก
Version 2.
ได้แหลมที่กระจ่างสดใส กรุ๊งกริ๊ง เพิ่มเข้ามา เสียงกลางก็ยังดีมากเช่นเดิม ทำให้ฟังเพลงได้หลายแนวมากยิ่งขึ้น แต่ความหวานก็ลดลงไปบ้าง นับว่า 8233 เป็นหลอดที่เสียงดีพอสมควร นำมา drive DHT ได้ผลดีมาก แต่ต้องให้มันทำงานที่กระแสสูงๆเท่านั้นจึงจะได้ผลดี
Sunday, September 23, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment