Thursday, July 3, 2008

EL156 DRD drive


ที่มา
หลังจากทำ EL156SE มาและได้แก้ไขวงจรไปหลายครั้ง ผมก็ยังรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะรู้สึกว่ามันยังไม่ลงตัวเท่าใดนัก เพราะด้วยความที่หม้อแปลงไฟทำมาสำหรับ choke input แต่เกิดปัญหาโช๊คสั่นตอนใช้งาน ผมลองทั้งใช้ C input แต่ใช้ R drop ไฟขนานใหญ่จนแท่นร้อนฉึ่ง หรือใช้วิธี semi choke input โดยใส่ C ค่าเล็กเข้าไปก่อนโช๊ค ซึ่งถึงแม้จะใช้ได้แต่ก็รู้สึกแปลกๆทุกครั้งที่ฟัง
จนมาคิดได้ว่าหากใช้ C input และไฟมันสูงไปมาก ทำไมเราไม่ทำวงจรแบบ direct coupling มันซะเลยจะได้ใช้ประโยชน์ที่ไฟมันสูงดีนัก ว่าแล้วก็ออกแบบวงจรใหม่เป็น direct coupling มันซะเลย แต่ไหนๆก็จะใช้ direct coupling แล้ว จะทำแบบธรรมดามันก็ไม่สนุก ดังนั้นผมจึงใช้วงจรแบบ Direct reactance drive หรือ DRD มันซะเลย
วงจร DRD นี้เป็นนวัตกรรมที่คิดโดย Mr.Jack แห่ง Electra print พื้นฐานวงจรมันจะคล้ายๆวงจร direct coupling แบบ Loftin-White โดยในวงจรจะใช้ ไฟจาก cathode ของหลอด power ไปจ่ายกลับให้กับ plate หลอด drive อ่านแล้วงงๆก็ดูรูปวงจรกันดีกว่า

วงจร


อย่างที่กล่าวไว้ว่าวงจรผมใช้ concept DRD ของ Electra print ดังนั้นรายละเอียดต่างๆก็สามารถหาอ่านได้จาก web site ของเขา แต่หลักๆผมใช้ หลอด power เป็น EL156 และใช้หลอด Cca เป็น driver โดยใช้ plate choke Electra print 100H 20mA มาเป็น load ให้กับหลอด drive



สำหรับอุปกรณ์โดยทั่วไปก็ใช้จากเครื่องเดิมมาปรับปรุง แต่ในการทำวงจรแบบ DRD มีความยุ่งยากพอสมควร เพราะคำนวน R ในตำแหน่งต่างๆยากมาก แถมยังหาค่าที่ตรงๆและเป็น R ที่มีคุณภาพดีๆได้ยาก กว่าจะเสร็จแย่เลย แต่เมื่อเสร็จแล้วก็ OK เลยครับ แจ๋วมากเลยครับวงจรแบบนี้ มันใช้งานได้ดี แม้ว่า R cathode มันจะร้อนฉิ่งเหมือนเดิม แต่มันได้ความรู้สึกดีว่ามันได้ใช้งานไม่ใช่เอา R มา drop ไฟเผาพลังงานทิ้งไปซะเปล่าๆ
เสียงที่ได้ผมรู้สึกว่ามันดีกว่าเดิมครับ ผมรู้สึกได้ว่าความกว้างของเสียงคือแหลมไปไกลและเบสลงลึกกว่าเดิม ผมว่ามันลงตัวกว่าเดิมมาก ผมชอบและคงไม่เปลี่ยนมันอีกแล้วครับ
มีข้อสังเกตบางส่วนของวงจรแบบ DRD คือ จริงๆแล้วหลอด drive มันควรจะเป็นเบอร์ที่เหมาะสมคือมี distiortion เท่าที่ Mr.Jack แกคิดไว้ว่ามันจะมา cancel noise กับหลอด power ได้พอดี แต่ผมดันใช้ Cca ซึ่งผมมีอยู่แล้ว และผมก็ไม่แน่ใจว่ามันจะดีในการใช้งานกับวงจรนี้หรือไม่ และเมื่อผมใช้ ultra path เสียงฮัมก็ดังมาก เพราะเดิมวงจรออกแบบใช้กับพวก DHT ที่เกนน้อย แต่ผมดันเอามาใช้กับ beam pentode ที่เกนมันเยอะมันเลยขยายสัญญานรบกวนเข้าไปที่หลอดโดยตรงเมื่อใช้ ultra path แต่ใช้ C cathode bypass ธรรมดาก็ไม่เป็นไรไม่ฮัม และในการทำ DRD ต้องอย่าลืมยกไฟใส้หลอด power ด้วยนะครับไม่งั้นมันอาจอายุสั้นได้ครับ

No comments: