Monday, June 30, 2008

300B Amplifier version WE91B mod.

WE300B drive by WE310A

ที่มา

เดิมผมไม่มีความตั้งใจที่จะทำหรือเล่นหลอดเบอร์ 300B เลย เนื่องจากผมมีความสนใจและเก็บสะสมหลอดทางยุโรปซะเป็นส่วนมาก แต่ก็เห็นอยู่เสมอถึงเพื่อนๆที่เล่นแอมป์ที่ใช้หลอด 300B กัน ซึ่งนอกจากมันจะเป็นหลอดที่หลายคนบอกว่าเสียงดีแล้วกำลังขับของมันก็ถือว่ากำลังดีสำหรับ single end class A ธรรมดาที่ได้ถึง 8W
ในที่สุดผมก็ได้ทำ 300B กับเขาจนได้ เรื่องก็คือผมไปสังสรรค์กับสมาชิกนัก DIY อยู่เสนมอๆ และก็ได้เห็นได้ฟัง 300B เป็นจำนวนมาก และได้รู้จักกับพี่คนหนึ่งในกลุ่มที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงระดับ hi-end พอสมควร คืออุปกรณ์ที่พี่เขาเล่นนั้นเป็น commercial ระดับสูง เช่นลำโพง Watt/Puppy 7 , amp KR enterprise 300B PSE , Pre amp Audio research Reference 3 , CD CEC transport Mark Levinson ซึ่งโดยรวมดูแล้วแกไม่น่ามาสนใจแอมป์ของนัก DIY ซึ่งมักจะทำแบบสนุกๆ ไม่เอาเป็นเอาตายมาก แต่หลังจากคุยไปคุยมาระยะหนึ่ง พี่เขาก๋เอ่ยปากว่าอยากได้แอมป์ 300B ซักตัวหนึ่ง ผมจึงอาสาทำให้ด้วยความที่ชอบทำและไม่อยากเสียตังค์ซื้อ 300B มาทำเอง
คุยไปคุยมาลงตัวที่วงจร WE91B ที่ modify โดย DIY Hifi supply ที่เป็นชุด kit Ladyday นั่นเอง
วงจร
อย่างที่กล่าวไว้ วงจรที่พี่เขาสนใจคือ WE91B ดังนั้นวงจรที่ใช้หลอดอื่นๆเช่น 6SN7 , C3m ฯลฯ จึงไม่ต้องพิจารณากันสบายไป

โดยรวมๆก็คือเป็นวงจรแบบ pentode drive stage เดียว ใช้หลอด WE310A ที่มีเกนประมาณ 100 เท่า drive ผ่าน RC coupling ธรรมดา โดยการ modify ของ DIY Hifi supply คือมีการใส่ feedback สองตำแหน่งคือที่plate 300B ไปเข้า g2 ของ 310A ซึ่งผมไม่ได้ใส่เพราะฟังแล้วแหลมมากไปหน่อย กับที่ cathode ของ 300B เข้า grid 300B ซึ่งตรงนี้ทำให้เบสมัพลังมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใส่ ultra path แบบ semi คือมีทั้ง ultra path และ C cathode coupling ด้วย ส่วนจุดใส้หลอด 300B ก็ใช้แบบ DC เพราะกลัวว่ามันจะฮัมเนื่องจากลำโพงที่พี่เขาใช้มันค่อนข้างมีความไวสูงพอสมควร

อุปกรณ์
เนื่องจากพี่ที่ให่ทำเป็นนักเล่นในระดับ high-end ดังนั้นแกจึงอยากได้อุปกรณ์ที่อยู่ในระดับเกรดดีๆมีราคาสูงทั้งสิ้น เช่นหม้อแปลง output ก็ใช้ Tango FC30 series หลอดใช้ Western electric โดยเฉพาะ 300B เป็นรุ่น matched pair new production ซึ่งมีราคาสูงพอควร ส่วนหลอด rectify มีทั้ง GZ34 ของ phillips ซึ่งน่าจะผลิตโดย mullard สลับกับ WE422A ซึ่งราคาแพงมหาโหดพอสมควร ส่วน WE274B นั้นราคาไปไกลมาก ไม่ไหวครับ
ในภาคจ่ายไฟใช้ C oil filter ของ Obbligato ผสมกับ Electrolyte ของ Mundolf ส่วน C coupling ใช้ Jensen copper foil กับ C feed back ใช้ Mundolf silver/gold รวมไปถึงสายสัญญาน Mundolf , สายลำโพง Cardas กับขั้วต่อ WBT next gen และสำหรับ R ใช้ทั้ง audio note tantalum ในตำแหน่ง grid leak ส่วน grid stopper ใช้ Riken กับ R plate , R cathode ใช้ Kiwame นอกจาก R cathode 300B ใช้ Mil heat sink R type ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อจาก part connexion โดยเฉพาะ volume ก็ใช้ TKD ที่ใช้ในแอมป์ Audio note KaGuon ด้วย


รูปใต้แท่นตอนที่ผมยังไม่ได้ใส่ Tango FC30 เข้าไปเลยต่อชั่วคราวแล้วใช้ Hashimoto ทดลองไปก่อน

ในส่วนการทำงานและประกอบไม่ยากเลย ขั้นตอนจะอยู่ที่การเลือกใช้อุกรณ์ ซึ่งจากการใช้ของค่อนดีอยู่แล้วทำให้ง่ายไม่ต้องจูนเสียงมาก เพราะถูกจำกัดด้วยตัวอุปกรณ์เองรวมไปถึงวงจรที่ลอกมาด้วย ดังนั้นจึงไม่ต้องคำนวนมากนัก

แนวเสียงแบบ หนา เนื้อแยะรวมไปถึง 300B เองก็มีแนวเสียงส่วนอิ่มใหญ่อยู่แล้ว ยิ่งพังยิ่งมีพลังพอสมควร

อย่างไรก็ดีแม้ว่าผมจะไม่ใช่นักนิยมและสะสม 300 B หรือหลอดในตระกูล 2A3 , 45 , 300B แต่เมื่อได้ทำก็รู้สึกสนุก และเสียงมันดีมากๆพอสมควรเลยครับ และสุดท้ายพี่ที่ให้ช่วยทำแกดูสมหวังและ happy ผมก็รู้สึก happy ไปด้วยเพราะผมก็กลัวว่าจะตกม้าตายเหมือนกันน่ะครับ เฮ้อ ค่อยโล่งอกไปหน่อยครับ

VT64 Pre amplifier


VT64 Pre amplifier

ที่มา

ไม่ได้ update blog มานาน ตอนนี้เริ่มขยันขึ้นมาอีกแล้ว ผมก็ขอเสนอผลงานในระยะที่ผ่านมาให้ดูกันเล่นๆนะครับ

หลังจากทำแอมป์ VT64SE มาหลาย version จนนึกว่ามันจะดีแล้ว เปิดเพลงฟังมันก็ OK เลย แต่พอเอาไปวัดผลการทำงานไหงมันไม่ได้เรื่องอีกแล้ว ได้กำลังไม่เกิน 2W ที่ distortion 5% ทุกที จนโมโหคิดว่าคงเอาดีกับแอมป์ที่ใช้หลอดเบอร์นี้ไม่ได้ ไหนๆก็ไหนๆ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสโดยเอามันมาทำ pre amp มันซะเลย

คนคงแปลกๆใจและคิดว่าบ้าไปแล้วมัง เอาหลอด transmitting power triode อย่าง VT64 หรือ เบอร์ 800 มาทำปรี ผมมาคิดดูมันก็แปลกๆพิกล แต่เข้าท่าดีครับ เกนเยอะประมาณ 15 เท่า แต่ท่าทางทำยากน่าดูเพราะมันเป็นหลอด trasmitting คงฮัมกระจายเมื่อใช้ application แบบใช้เกนเยอะๆอย่างปรี วงจรก็ใช้แบบ LC ธรรมดา ขืนใช้ RC คงใช้ไฟ B+ สูงบานแถม R มันคงร้อนน่าดู

วงจร

เป็นแบบ LC อย่างที่ว่า ใช้ plate choke ขนาด 100H 50mA ของ Electra Print ที่เหลือก็ง่ายๆ ดูจากรูปวงจรก็จะเข้าใจง่ายขึ้น ผมใช้หลอด rectify เบอร์ 1641 ซึ่งเป็น full wave ที่มี 2 เขา เช่นเดียวกับ VT64 น่ารักดี ส่วนภาคจุดใส้หลอดก็ใช้ DC ที่มี RC filter หลายๆ stage ธรรมดา และต่อมาผมก็เปลี่ยนเป็นใช้ LM338 เป็น voltage regulate แทนซึ่งมันร้อนน่าดูแต่ก็ฮัมไม่มากเหมือนเดิม ไม่ได้ต่างจากใช้ RC filter และผมก็ไม่ได้เปลี่ยนกลับคงใช้ regulate ต่อไปเลย

ดูรูปวงจรครับ





อุปกรณ์

หลักๆก็ไม่มีอะไร หม้อแปลง power , choke และหม้อแปลงชุดจุดใส้หลอด ก็ยกชุดมาจากแอมป์ที่รื้อออกมาหร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น C และ R บางส่วน แต่พวกขั้ว RCA ต้องเปลี่ยนเพราะมันใช้เยอะขึ้น พอดีมีของ cardas เหลืออยู่ 4 ตัวพอดีเลยเอามาใช้ แท่นก็ใช้แท่นใหม่ไปเลยดูสวยดี Volume ใช้ของ PEC ที่ลองซื้อมาใช้งานดู ผมว่าเสียงนุ่มนวลและมีรายละเอียดดีเลยครับ

เรื่องเสียง ผมว่ามันหนักแน่นดีครับ ผมเทียบกับ 300B pre amp ของเพื่อนที่ทำมาในวงจรในลักษณะเดียวกันเลย ผมว่า VT64 มีเนื้อเสียงที่เข้มข้นหนักแน่นกว่ามาก รายละเอียดดีพอกัน แต่ความกว้างของเสียงสู้ 300B ไม่ได้ แต่ที่น่าแปลกคือ VT64 มันกลับฮัมน้อยกว่า 300B ทั้งที่เกนมากกว่า เป็น trasmitting tube ด้วย น่าจะฮัมกว่าเยอะผมเลยงง แต่เนื่องจากคนทำคนละคนกันเลยวิเคราะห์ได้ยาก แต่เจ้า 300B preamp ก็ regulate ใส้หลอดเต็มที่เลยเหมือนกันทำให้แปลกใจพอสมควร
ทีนี้เรื่องความคุ้มค่า ส่วนตัวผมไม่คุ้มค่าเลยครับ ลงทุนแพงมากในเรื่องหลอดเองและราคาอุปกรณ์อื่นๆ แต่ที่ได้มาคือความสนุกในการทำเครื่องที่มันแตกต่างไปจากคนอื่น และได้แนวเสียง DHT transmitting tube ที่ผมฟังแล้วมันต่างจาก DHT ตัวอื่นเช่น #26 และ Ce หรือ RE134 ไปมาก สนุกดีครับโครงการนี้